สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

เวิลด์แก๊สระเบิด

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 3 ต.ค. 2548

          “เวิลด์แก๊ส” บึ้มสนั่นไฟคลอกเจ็บอื้อ – หัวข้อข่าวของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2548 ตามรายงานข่าว ผลการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่าโรงงานบรรจุแก๊สของ บริษัท บ้านนา-ปิยะแก๊ส จำกัด แห่งนี้อยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นโรงงานในเครือข่ายสาขาของบริษัทเวิลด์แก๊ส จำกัด (มหาชน)  เหตุเกิดขณะรถบรรทุก 10 ล้อขนาดใหญ่ของบริษัทแม่กำลังขนถ่ายแก๊สเข้าไปเก็บในคลัง  ระหว่างการขนถ่ายเกิดอุบัติเหตุท่อรั่วทำให้แก๊สทะลักฟุ้งกระจายไปทั่ว   แรงระเบิดและไฟลุกไหม้มีผู้บาดเจ็บ 7 ราย ค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท

          แก๊สในที่นี้คงจะเป็นแก๊สหุงต้ม  ซึ่งเป็นแก๊สไวไฟที่ถูกจัดอยู่ในถึงมีลักษณะเป็นของเหลวที่ควบแน่นจากแก๊ส  เมื่อเกิดการเผาไหม้และขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นการระเบิดของแก๊ส  ภาชนะบรรจุก็จะกระเด็นด้วยแรงระเบิด   ถ้าเป็นกระป๋องสเปรย์รัศมีพุ่งได้ประมาณ 10-15 เมตร สำหรับถังแก๊สขนาด 15 ลบ.ม. สามารถพุ่งออกไปได้ภายในรัศมีประมาณ 300-600 เมตร

          การเกิดไฟเป็นปฏิกิริยาระหว่างแก๊สที่เป็นเชื้อเพลิงกับออกซิเจนในอากาศ   เมื่อมีการจุดติดไฟก็จะลุกขึ้นได้  การจุดติดหมายถึงประกายไฟหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อนสูงจนแก๊สลุกติดไฟได้  แหล่งจุดติดไฟที่เห็นชัดๆ ก็คือการจุดไม้ขีด บุหรี่ ประกายไฟที่เกิดจากการตีเหล็กจากมอเตอร์หรือสวิตซ์ไฟ   นอกจากนั้นยังมีพื้นผิวร้อนเช่น เตาอบ และประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าสถิต  ซึ่งจะเกิดสะสมขึ้นเมื่อมีการถ่ายเทของเหลวไวไฟปริมาณมาก  ในการทำอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสารไวไฟโดยเฉพาะแก๊สต้องเข้มงวดกับแหล่งติดไฟต่าง ๆ ไม่ให้มีการรั่วของแก๊ส   ทำให้แก๊สออกมาผสมกับออกซิเจนและลุกติดไฟได้เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจากแหล่งติดไฟ   การทดสอบรูรั่วของแก๊สอาจเป็นท่อหรือหัวถึงแก๊สทำได้โดยใช้น้ำสบู่ลูบบริเวณดังกล่าวถ้ามีรูรั่วจะเห็นฟองสบู่เกิดขึ้น  อย่างไรก็ดีควรตรวจสอบสม่ำเสมอเพื่อกันไว้ดีกว่าแก้ 



 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น