สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

รุ่นลูกมีโอกาสได้รับสารพิษมากกว่ารุ่นแม่

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 1 พ.ย. 2548

          IFCS (Intergovernmental Forum on Chemical Safety) ฉบับที่ 5 เล่มที่ 10 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้รายงานผลการตรวจหาสารพิษในเลือดของผู้หญิง 3 รุ่นจาก 13 ครอบครัวในยุโรป 12 ประเทศ  โดยตรวจหาสารเคมีในเลือด 107 ชนิด ซึ่งรวม ดีดีที พีซีบี สารหน่วงการติดไฟจำพวกโบรมีน  สารพวกฟลูออริเนตที่ใช้ในกระป๋องสเปรย์ ฯลฯ  สารเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นสารต้องห้ามที่ทุกประเทศจะดำเนินการตามมาตรการของอนุสัญญากรุงสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) ผลการสำรวจพบว่าในรุ่นของยายพบสาร 63 ชนิด  ในรุ่นแม่พบ 49 ชนิด  แต่ในรุ่นลูกกลับพบมากกว่ารุ่นแม่ คือ พบถึง 59 ชนิด  ทั้ง ๆ ที่ควรจะน้อยลงเพราะเป็นรุ่นหลังจากที่มีมาตรการหยุดใช้ไปแล้ว  สำหรับรุ่นยายนั้นเป็นไปได้ว่าขณะนั้นยังมีการใช้สารเคมีเหล่านี้อยู่   ผลการศึกษานี้เตือนให้ทราบว่าแม้จะมีการหยุดใช้หรือระมัดระวังในการใช้สารเคมีเข้มงวดขึ้นแล้ว  ยังมีการตกค้างและเด็กยังมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย   สารกลุ่มที่อยู่ภายใต้อนุสัญญา POPs นี้มีสมบัติเป็นพิษ ย่อยสลายได้ยาก สะสมในสิ่งมีชีวิต และก่อผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าการได้รับสารกลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยก็ทำให้เกิดมะเร็งได้   เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบสืบพันธุ์และต่อการเจริญเติบโตของทารก  จึงได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะเลิกผลิต ใช้ นำเข้า และส่งออกสารเคมี 9 ชนิดก่อน

 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น