สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

รถบรรทุกกรดพลิกคว่ำลงคลองเมืองราชบุรี

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 5 เม.ย. 2549

          ค่ำๆ ของวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า เกิดเหตุรถบรรทุก 6 ล้อพลิกคว่ำลงในคลองชลประทานห้วยไผ่ ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยในข่าวระบุว่ารถคันนี้บรรทุกกรดไนตริกเข้มข้นมาด้วยกว่า 2,000 ลิตร โชคดีที่ถังที่บรรจุกรดเสียหายบางส่วนเท่านั้น ทำให้มีกรดรั่วไหลออกไปไม่มากนัก เหตุการณ์อุบัติเหตุในการขนส่งสารเคมีเช่นนี้เกิดขึ้นให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ จนทำให้คิดได้ว่าวันหนึ่งเหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราก็เป็นได้ แล้วหากเวลาเช่นว่านี้มาถึงเราจะทำอย่างไร?     

          หนังสือ “คู่มือการระงับอุบัติภัยจากวัตถุอันตราย” (ของศูนย์สนับสนุนปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ) มีคำแนะนำแบบรวบรัดไว้ว่า “อย่าผลีผลาม อยู่เหนือลม อยู่ห่างจากการหก รั่วไหล ไอระเหย ฟูมและควัน” เมื่ออยู่ในที่ปลอดภัยแล้วก็ต้องมองหาป้ายแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตราย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องติดไว้ที่ตัวถังรถบรรทุกและภาชนะบรรจุด้วย ป้ายแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตรายนี้กำหนดโดยสหประชาชาติให้ทั่วโลกใช้เหมือนกัน ตัวป้ายจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ภายในพื้นที่สี่เหลี่ยมจะมีภาพที่แสดงลักษณะอันตราย ซึ่งแบ่งเป็น 9 ประเภทด้วยกันได้แก่ 1-วัตถุระเบิด 2-ก๊าซ 3-ของเหลวไวไฟ 4-ของแข็งไวไฟ 5-วัตถุออกซิไดซ์ 6-วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ 7-วัตถุกัมมันตรังสี 8-วัตถุกัดกร่อน 9-วัตถุอื่น แต่ละกลุ่มจะแสดงเป็นภาพต่างกัน ในกรณีของกรดไนตริก ซึ่งจัดเป็นสารกัดกร่อน (ประเภทที่ 8) จะมีป้ายแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตรายดังรูปด้านล่าง           

          นอกจากนี้ ที่แผ่นป้ายแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตรายจะมีตัวเลข 4 ตัว อาจจะอยู่ภายในหรืออาจอยู่ข้างนอกพื้นที่สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดก็ได้ ตัวเลข 4 ตัวนี้จะบอกว่าสารเคมีที่บรรทุกมาหรือที่อยู่ในภาชนะนั้นเป็นสารเคมีชนิดใดหรือกลุ่มใด ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมโยงต่อไปยังข้อมูลในการแก้ไขเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตัวอย่างเช่นตัวเลข 4 ตัวที่ต้องอยู่ใกล้ ๆ ป้ายแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตรายสำหรับกรดไนตริก คือ 2031 จากตัวเลขนี้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานแก้ไขเหตุฉุกเฉินจะทราบทันทีว่าเป็นกรดไนตริกโดยไม่ต้องมองหาชื่อสารเคมีที่ใดอีก
         
          เมื่อหาเจอป้ายแสดงสัญลักษณ์วัตถุอันตรายและตัวเลข 4 ตัวแล้ว ให้รีบโทรแจ้งหน่วยงานรับผิดชอบ หรือโทร 1650 สายด่วนแจ้งเหตุอุบัติภัยสารเคมีวัตถุอันตราย

         


ที่มา: http://www.pcd.go.th/Info_serv/haz_chemicals_use.html#s5
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

อย่าใช้เลยครับ กรดไนตริกความเข้มข้นสูงอย่างนั้น ซื้อมาก็ต้องมาเจือจางใช้ในไลน์อีกทีหนึ่ง อันตรายเกิดควัน ควบคุมยากด้วย สนใจหาซื้อกรดไนตริกความเข้มข้นต่ำ ตั้งแต่ 10 %,15 %,20 % หรือ 25 % ติดต่อเรา ตามเบอร์อีเมลล์ integratescience@yahoo.com หรือ เข้าไปที่เวปไซต์ www.chemicalblender.com

โดย:  อินทิเกรทซายน์  [1 มี.ค. 2555 15:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:5

That's a sensible answer to a chalelngnig question

โดย:  Lakisha  [28 ก.ย. 2555 03:38]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น