สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

เตือนผู้ส่งออกไทยพบเบนซีนในเครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 25 มิ.ย. 2549

          วันที่ 25 พ.ค. หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับตีพิมพ์ข่าวที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาตรวจพบสารเบนซีนในเครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ เช่นน้ำผลไม้ น้ำหวาน ที่นำเข้าจากประเทศไทย การตรวจพบสารนี้มีความสำคัญก็เพราะเบนซีนเป็นสารก่อมะเร็ง สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐ กำหนดปริมาณสารเบนซีนที่อนุญาตให้มีได้ในน้ำดื่มไม่เกิน 5 พีพีเอ็มเท่านั้น และรายงานข่าวระบุว่าสารเบนซีนที่พบในเครื่องดื่มดังกล่าวเกิดจากการทำปฏิกิริยากันของสารโซเดียมเบนโซเอตซึ่งเป็นสารกันเสีย และวิตามินซีที่ใช้เป็นสารกันการเกิดออกซิเดชั่นในเครื่องดื่ม โดยมีอุณหภูมิและแสงเป็นตัวเร่ง ทั้งนี้สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำว่า ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องเติมวิตามินซีในเครื่องดื่ม เพราะผลไม้ในธรรมชาติมีวิตามินซีอยู่แล้ว และควรใช้สารอื่นแทนโซเดียมเบนโซเอต

          เบนซีนที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมเบนโซเอตกับวิตามินซีถือเป็นส่วนที่น้อยมากหากเทียบกับเบนซีนที่ได้จากปิโตรเลียม ซึ่งก็คือน้ำมันดิบ คอนเดนเสท และก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่กลั่นแยกจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วจะมีการใช้ประโยชน์ใน 2 ลักษณะคือการใช้เป็นเชื้อเพลิงและการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นแบ่งเป็น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ปิโตรเคมีขั้นต้นคือการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่น (แนฟทา คอนเดนเสท แอลพีจี อีเทน) มาผลิตสารเคมีตั้งต้นหรือวัตถุดิบในการผลิตสารเคมีขั้นกลาง สารเคมีขั้นต้นนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มโอเลฟินส์และกลุ่มอะโรมาติกส์ เบนซีนคือสารขั้นต้นที่อยู่ในกลุ่มหลังนี้ ซึ่งมีสารอีก 2 ชนิดคือโทลูอีนและไซลีน ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ดำเนินการอยู่ 3 กลุ่มใหญ่คือ ปตท. เครือเคมีภัณฑ์ซีเมนต์ไทย และทีพีไอ โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่จังหวัดระยองทั้ง 3 กลุ่ม สำหรับเบนซีน บริษัท ปตท. เคยรายงานว่าในปี พ.ศ. 2547 มีการผลิตในประเทศรวม 716,000 ตัน โดยบริษัทอะโรมาติกส์ (ประเทศไทย) เครือ ปตท. ผลิตได้ 456,000 ตัน บริษัทระยองโอเลฟินส์ เครือซีเมนต์ไทย 160,000 ตัน และบริษัททีพีไอ 100,000 ตัน ปริมาณเบนซีนที่ผลิตตอบสนองความต้องการภายในประเทศ 320,000 ตัน และส่งขายต่างประเทศ 396,000 ตัน แม้ประเทศไทยจะผลิตเบนซีนได้เองแต่ก็ยังมีการนำเข้าเบนซีนจากต่างประเทศด้วย

          เบนซีนถูกนำมาใช้ในการผลิตสารปิโตรเคมีขั้นกลาง 3 ชนิดหลักได้แก่ สไตรีนโมโนเมอร์ คิวเมน/ฟีนอล ไซโคลเฮกเซน ซึ่งสารเล่านี้ก็เป็นวัตถุดิบในสายการผลิตสารเคมีขั้นกลางต่อเนื่องไปจนถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายจำนวนมาก เช่นสารสไตรีนโมโนเมอร์จะเป็นสารตั้งต้นของพลาสติกและยางที่นำไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฉนวนกันความร้อน ยางและชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น  นอกจากนี้เบนซีนยังถูกใช้เป็นสารตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน การใช้ในลักษณะนี้ผู้ใช้อาจสัมผัสกับเบนซีนโดยตรงและมีโอกาสได้รับอันตรายจากเบนซีนได้ หากมีการป้องกันไม่ดีพอ


ที่มาของข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 25 พฤษภาคม 2549

www.eppo.go.th/admin/kpr/report/eppo-trip/trip-3/ptt-atc.ppt

 


ข้อมูลอันตรายของเบนซีน ดูได้ที่  http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst71-43-2.html
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ผมเรียนสาขาเคมีอุตสาหกรรมที่ลาดกระบังครับจบแล้วอยากทำงานที่นี่จังครับพอจะมีหวังหรือเปล่าครับ

โดย:  วิทยา  [18 ธ.ค. 2550 00:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

An intelligent answer - no BS - which makes a pleasant cahgne

โดย:  Chianna  [6 มี.ค. 2556 18:37]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น