สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

แผนใช้ระเบิดสารเคมีก่อการร้ายสะท้านโลก

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 13 ส.ค. 2549


          เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม มีข่าวรัฐบาลอังกฤษจับกุมกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนัยว่าเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม พร้อมกับเปิดเผยแผนของผู้ก่อการร้ายที่จะวินาศกรรมเครื่องบินหลายลำที่จะบินไปสหรัฐอเมริกา เครื่องมือสำคัญในแผนที่รัฐบาลอังกฤษระบุไว้คือ ระเบิดสารเคมี ซึ่งคาดว่าผู้ก่อการร้ายอาจจะใช้สารไนโตรกลีเซอรีน (nitroglycerine, NTG) หรือ สารไตรอะซีโตน ไตรเพอร็อกไซด์ (triacetone triperoxide, TATP)

          สารไนโตรกลีเซอรีนเป็นของเหลวที่ระเบิดได้ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1846 เมื่อ Ascanio Sobrero ผสมกลีเซอรีนกับส่วนผสมของกรดไนตริกและซัลฟุริกจากนั้น Alfred Nobel ได้พัฒนาต่อโดยผสมกับซิลิกาได้เป็นสารที่หนืดขึ้นง่ายต่อการบรรจุ และเรียกสิ่งที่ได้นี้ว่า ไดนาไมท์

           นอกจากไดนาไมท์ที่ใช้ระเบิดเขา ไนโตรกลีเซอรีนยังถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเพื่อผ่อนคลายหรือขยายหลอดเลือดโคโรนารีทำให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจได้มากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง

         

                  สิ่งที่ต่างกันในการใช้ไนโตรกลีเซอรีนในการระเบิดเขาและขยายหลอดเลือดให้ยืดหยุ่นขึ้นคือปริมาณที่ใช้

          ส่วนสารไตรอะซีโตนไตรเพอร็อกไซด์ เป็นผลึกสีขาว ไวต่อความร้อน การเสียดสี และสั่นสะเทือนหรือกระแทกอย่างรุนแรง ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 โดย R. Wolffenstein  จากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนเพอร็อกไซด์และอะซีโตน การระเบิดของสารนี้เกิดจากการสลายตัวจากของแข็งกลายเป็นก๊าซปริมาณมหาศาล สารนี้เพียงไม่กี่กรัมสามารถสลายตัวให้ก๊าซหลายพันลิตรได้ภายในเสี้ยววินาที โดยที่มีความร้อนเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่เกิดแรงดันอย่างมากมายมหาศาล การระเบิดเกิดจากแรงดันมหาศาลนี้ ลักษณะการสลายตัวนี้คล้ายกับการสลายตัวของสาร azide ช้ในถุงลมนิรภัยที่ติดตั้งในรถยนต์ แต่มีการปรับแต่งให้มีอานุภาพรุนแรงมากกว่า

            สารเคมีใช้ทางดีก็ช่วยชีวิตได้ ใช้ทางร้ายก็ทำลายชีวิตได้เช่นกัน...

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม 2549


* ดูรายการสารที่สหรัฐอเมริกาจัดเป็นวัตถุระเบิดได้ที่

http://www.globalsecurity.org/military/systems/munitions/explosives-list.htm


ผลึกไตรอะซีโตนไตรเพอร็อกไซด์ ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Acetone_peroxide
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

เป็นความรู้ที่ดี

โดย:  arm  [27 พ.ย. 2552 11:15]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น