สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

โบท็อกซ์: การใช้สารพิษเพื่อความงาม

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 25 ก.ย. 2549


กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าทีมวิจัยจากโรงพยาบาลรอยัล เดอร์บี้ไชร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำการศึกษาผู้ใช้บริการโบท็อกซ์ในคลินิก 81 แห่ง เปรียบเทียบกับคนที่เข้ารับการดูแลความงามด้วยวิธีอื่น พบว่า 40% ของคนเหล่านี้ แสดงความต้องการที่จะใช้การรักษาด้วยโบท็อกซ์ต่อไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่ห่วงกังวลอย่างมากกับความเหี่ยวย่นตามธรรมชาติ มีแนวโน้มที่จะเสพติดการใช้โบท็อกซ์ จนไม่สามารถหยุดใช้ได้

หลายคนอาจสงสัยว่าโบท็อกซ์คืออะไร

โบท็อกซ์ เป็นชื่อการค้าของสารพิษ “โบทูลินัม ท็อกซิน” ที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางความงาม ลบรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า “โบทูลินัม ท็อกซิน” เกิดมาจากแบคทีเรีย “คลอสทริเดียม โบทูลินัม” โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เป็นสารพิษกลุ่มเดียวกับที่อยู่ในหน่อไม้ปี๊บที่ทำให้ชาวบ้านจังหวัดน่านล้มป่วยกว่า 200 คน เป็นข่าวใหญ่เมื่อต้นปีนี้ สารพิษนี้มีผลต่อระบบประสาท โดยสารตัวนี้จะไปยับยั้งการหลั่งอะซิทิลโคลีนซึ่งเกี่ยวพันกับการรับส่งสัญญาณของเส้นประสาททำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอัมพาตชั่วคราว ด้วยคุณสมบัตินี้จึงมีการนำ “โบทูลินัม ท็อกซิน” ในปริมาณน้อยมากๆ มาฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณที่เหี่ยวย่นเพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่ขยับเขยื้อน และดูตึงขึ้น การฉีดโบท็อกซ์แต่ละครั้งจะมีผลอยู่ได้นานประมาณ 3-6 เดือน

 พิษเฉียบพลันของ “โบทูลินัม ท็อกซิน”

“โบทูลินัม ท็อกซิน” อาจเป็นสารพิษที่ร้ายแรงที่สุดก็ว่าได้ เพราะสามารถทำให้คนและสัตว์ตายได้ด้วยปริมาณน้อยมากมาก กล่าวคือมีค่า LD50 ประมาณ 200 - 300 พิกโคกรัม (10-12 กรัม) ต่อกิโลกรัมคนหรือสัตว์ น้อยกว่าปริมาณ LD50 ของสารสตริกนินที่รับรู้กันว่าเป็นสารพิษร้ายแรงอยู่มากทีเดียว โดยค่า LD50 ของสตริกนินนั้นเท่ากับ 1 มิลลิกรัม (10-3 กรัม) ต่อกิโลกรัมคนหรือสัตว์

ที่มาของข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 22 กันยายน 2549

http://en.wikipedia.org/wiki/Botulin_toxin
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_21_001c.asp?info_id=364
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น