สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

ตะเกียบไม้ปลอดภัยแค่ไหน

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 14 ส.ค. 2550
 ตะเกียบไม้ปลอดภัยแค่ไหน

ข่าวสารที่มาทางอินเตอร์เน็ตเมื่อกลั่นกรองให้ดีๆ ก็ได้ความรู้  อย่างเรื่องที่จะเล่านี้ก็มาทางอินเตอร์เน็ต  เราจะไม่พูดถึงความถูกต้องของเนื้อข่าวหรือถามแหล่งที่มา  เอาเป็นว่าข่าวสารนี้เราได้ข้อคิดเตือนใจอะไรบ้าง  ต้องขอขอบคุณผู้ได้ส่งข่าวสารที่เป็นประโยชน์มาให้

 

ตะเกียบไม้คู่ใช้แล้วทิ้ง  แสนจะสะดวกสบายทั้งผู้ให้และผู้รับบริการในร้านอาหาร  ท่านรู้หรือไม่ว่าปลอดภัยแค่ไหน  วิธีการผลิตตะเกียบไม้ในสภาพแวดล้อมของคนผลิตและขนส่งดูไม่น่าไว้ใจนัก   จากท่อนไม้เล็กๆที่เป็นตะเกียบแล้วต้องมีการฟอกขาวด้วย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  และ ซัลเฟอร์  (น่าจะเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์)  ระหว่างการขนส่งทางเรือข้ามน้ำข้ามทะเลก็เจอทั้งหนูและแมลงสาบ  แล้วนำมาห่อโดยไม่ได้ฆ่าเชื้อ   จึงมีทั้งเชื้อโรคและสารตกค้างติดอยู่ในรูพรุนของเนื้อไม้จนถึงเวลาใช้   ทำให้มีความเสี่ยงต่อการท้องเสีย  หอบหืด  เคยมีผลการทดลองของนักเรียนที่ญี่ปุ่นนำน้ำที่แช่ตะเกียบอยู่ 7 วัน  ซึ่งมีกลิ่นเหม็นมาเพาะถั่วเขียว  ปรากฏว่าโตช้า  หยุดโตเมื่อสูงประมาณ 5-6 เซนติเมตรและตาย   ผลทดสอบควันจากการเผาตะเกียบพบว่ามีฤทธิ์เป็นกรด  เขาแนะนำว่าก่อนใช้ให้ลองดมกลิ่นดูแล้วแช่น้ำร้อนสัก 2-3 นาที  ดีที่สุด คือ พกตะเกียบส่วนตัวไปเอง   ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องพิสูจน์กัน  แต่ข้อมูลต่อไปนี้อาจจะช่วยให้เราคิดใหม่ได้   เขาบอกว่ากว่าจะมาเป็นตะเกียบคู่สำหรับใช้แล้วทิ้ง 3,000 4,000 คู่ ต้นไม้ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี   เฉพาะในไต้หวันแต่ละปีมีการใช้ตะเกียบกว่า 1,000 ล้านคู่  แปลว่าต้นไม้ 29 ล้านต้น  ต้องถูกตัดโค่นลง  ประมาณกันเอาเองก็แล้วกันว่าในประเทศอื่นๆ รวมทั้งโลกต้นไม้จะหมดไปกี่ต้นจากการใช้ตะเกียบแบบนี้

 

 



ใช้สารเคมีฟอกสีไม้ให้ขาว (ไม่มีการอบฆ่าเชื้อโรค)

การบรรจุตะเกียบใส่ซอง (ไม่มีการอบฆ่าเชื้อก่อนส่งให้ร้านอาหาร)

ตะเกียบที่ใช้แล้วทิ้ง เป็นขยะมลพิษจากสารเคมีที่ตกค้าง
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ตะเกียบใส่ซองใช้ครั้งเดียวทิ้ง ดูแล้วน่าใช้สะอาด ปลอดภัย ใครจะรู้หละว่าขั้นตอนเป็นอย่างนี้ คงต้องใช้ตะเกียบเหมือนคนเกาหลีแล้ว คือเขาใช้ตะเกียบเงิน

โดย:  jae  [15 ส.ค. 2550 13:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

น่าจะใช้ตะเกียบ ทำจากโลหะ เช่น เดียวกับช้อน ซ้อมนะงับ

โดย:  ง่า  [18 ส.ค. 2550 21:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

น่าจะฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะให้คนอื่นใช้เพื่อความปลอดภัย

โดย:  ฟ้า  [21 ส.ค. 2550 18:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

คงต้องพกไปเองแล้วแต่ยังไม่มีรายงานข่าวว่าตะเกียบมีอันตรายทำผู้บริโภคเสียชีวิตเลยกรือว่ามันสะสม อิอิ

โดย:  a_ko  [25 ส.ค. 2550 14:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

หันมาใช้ช้อนกะส้อมแทนการใช้ตะเกียบ

โดย:  ชะนี  [5 ก.ย. 2550 10:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

มันน่าจะฆ่าเชื้อโรคก่อน

โดย:  som  [5 ก.ย. 2550 10:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

น่าจะไม่สอาด

โดย:  สเเร  [17 ก.ย. 2550 10:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

แล้วงี้เวลากินหมูกะทะก้อแย่อะดิ ไหนจะแจ่วฮ้อนอีก เฮ้อ

โดย:  king  [20 ก.ย. 2550 15:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

ควรใช้ช้อนส้อมแทนตะเกียบก็น่าจะทานอาหารได้เหมือนกัน คงจะไม่ทำให้อาหารอร่อยหรือมีรสชาติดีขึ้น(ดูความสะอาดของภาชนะที่จะนำมาใช้ด้วย)ช่วยกันประหยัด อย่างปลอดภัย เศรษฐกิจพอเพียง

โดย:  dechopon  [14 พ.ย. 2550 14:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

ช้อนที่เราอยู่ทุกวันปลอดภัยจากสารตะกั่วหรือยัง ขั้นตอนการชุบมีส่วนผสมไรบ้าง ใครรู้....น่าคิด

โดย:  ดีดี  [11 ธ.ค. 2550 19:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

น่าจะเป็นโลหะ

โดย:  เด็กเทพ  [1 ม.ค. 2551 15:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:14

ไม่มีใครทราบต้นตอของการผลิต  จึงคิดว่าปลอดภัย  แต่ตะเกียบเมืองไทยที่ผลิตที่ไทยก็มี  และต้องผ่านการอบแห้ง(อบฆ่าเชื้อ) ก็คงต้องดูที่มาตรฐานของแต่ละยี่ห้อก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่ง

โดย:  ปาริษา  [26 มี.ค. 2551 14:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:15

The answer of an exeprt. Good to hear from you.

โดย:  David  [30 ก.ค. 2555 10:16]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น