สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

ป่วยเพราะสารเคมี “ดีเอ็นเอ” ชี้ได้

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 28 ก.ย. 2550

การยืนยันการเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมีเป็นปัญหาใหญ่ในกระบวนการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้างของบรรดาลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากการทำงานสัมผัสสารเคมี แต่ข่าวที่ว่า ดร.บรูซ กิลลิส (Dr. Bruce Gillis) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยรัฐอิลลินอยส์ (University of Illinois) สหรัฐฯ ได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบดีเอ็นเอผู้ที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการสัมผัสแร่ใยหินหรือสารเคมีต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันการเรียกร้องสิทธิค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยหรือนายจ้างได้ตามกฎหมายอาจช่วยขจัดปัญหานี้ไปได้

เทคนิคที่ ดร.กิลลิส พัฒนาขึ้นเรียกว่า เอ็มเอสดีเอส1” (msds1) สามารถอ่านดีเอ็นเอตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างจำเพาะเจาะจง เมื่อได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายโดยตรงต่อดีเอ็นเอบริเวณนั้น โดยนำดีเอ็นเอของผู้ป่วยไปเปรียบเทียบกับลายพิมพ์ดีเอ็นเอของบุคคลที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ เลย แต่วิธีนี้ยังต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้ตรวจได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและมีค่าใช้จ่ายถูกลง

ในประเทศไทย ผู้ป่วยจากการสัมผัสสารเคมีในการทำงานและสิ่งแวดล้อมจะประสบกับปัญหาไม่ได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าป่วยจากสารเคมีเช่นเดียวกัน โดยมีข้อถกเถียงกันในเรื่องการวินิจฉัยความเจ็บป่วยว่ามีสาเหตุจากอะไร เทคนิคนี้จึงน่าจะได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในเมืองไทยเชื่อว่าจะคลี่คลายความคลุมเครือของการวินิจฉัยสาเหตุของความเจ็บป่วยได้มาก

 

ที่มาของข้อมูล :

ป่วยเพราะสารเคมี ดีเอ็นเอชี้ได้ หลักฐานเรียกค่าเสียหายนายจ้าง ผู้จัดการออนไลน์ 21 กันยายน 2550 17:46 น. http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000110321

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์น่าจะนำองค์ความรู้มาวิจัยต่อยอดใช้กับประเทศไทย ถ้าทำได้จริงก็จะเป็นประโยชน์มากเลยครับ

โดย:  ภูวารถ  [12 ต.ค. 2550 14:00]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น