สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

อนุภาคเล็กๆ จากเลเซอร์พริ้นเตอร์

ผู้เขียน: ขวัญนภัส สรโชติ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 22 ต.ค. 2550


                ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสำนักงาน เนื่องจากสามารถพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพในการพิมพ์สูง แต่เมื่อเร็วๆ นี้ มีงานวิจัยหนึ่งจาก Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำการศึกษาเครื่อง laser printer ทั้งหมด 62 เครื่อง จากทั้งหมด 4 ยี่ห้อ ที่ใช้ทั่วไปในสำนักงาน โดยจากงานวิจัยนี้พบว่ามีพริ้นเตอร์ทั้งหมด 17 เครื่อง ที่ปลดปล่อยจำนวนอนุภาคขนาดเล็กของหมึกพิมพ์ (toner) ออกสู่อากาศในระดับปริมาณสูง โดยการปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็กนี้สู่อากาศในอัตราที่สูงที่สุด คือ 1.6 x 1011 อนุภาค/นาที ซึ่งมีอัตราใกล้เคียงกับการปลดปล่อยอนุภาคจากการสูบบุหรี่ คือ 1.91 x 1011 อนุภาค/นาที ซึ่งจากงานวิจัยนี้พบว่าอัตราในการปลดปล่อยอนุภาคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น รุ่นและอายุการใช้ของเครื่องพิมพ์ รวมถึงชนิดและอายุการใช้งานของตลับหมึก นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ตลับหมึกใหม่และการพิมพ์งานที่มีคุณภาพสูงหรือการพิมพ์รูปภาพจะทำให้มีปริมาณอนุภาคของ toner ในอากาศสูง

 

                จากรายงานของ Environmental Protection Agency (EPA) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (10-6 เมตร) จะมีอันตรายสุขภาพมาก เพราะสามารถเแพร่กระจายเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดได้ ซึ่งจากงานวิจัยนี้ขนาดอนุภาคของ toner อยู่ในช่วง 15 - 710 นาโนเมตร (10-9 เมตร) หรือ 0.015 - 0.71 ไมโครเมตร (10-6) แต่เมื่อดูในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) ของหมึกพิมพ์กลับพบว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับอันตรายจากผง toner เหล่านี้เท่าที่ควร โดยใน SDS บอกเพียงว่า จะระคายเคืองต่อระบบการหายใจเพียงเล็กน้อยเมื่อได้รับผง toner ในจำนวนมาก

 

                นักวิจัยที่ทำการศึกษางานวิจัยนี้ ให้ข้อแนะนำสำหรับสำนักงานที่มีการใช้เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ว่า ควรจัดให้ภายในสำนักงานมีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้อนุภาคเหล่านี้สามารถระบายออกไปได้ นอกจากนี้ยังได้เสนอว่าหน่วยงานรัฐบาลควรออกกฎหมายควบคุมปริมาณการแพร่กระจายของอนุภาคเหล่านี้จากเครื่องพิมพ์ ในลักษณะเดียวกับการควบคุมปริมาณการแพร่กระจายของอนุภาคที่ออกจากยานพาหนะ หรือจากโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

 

ที่มาของข้อมูล

  1. He C., Morawska L., Taplin L., Particle Emission Characteristics of Office Printers, Environ. Sci. Technol. 2007, 41, 6039-6045 (http://cdn.sfgate.com/chronicle/acrobat/2007/08/01/printer_es063049z.pdf)
  2. http://www.news.qut.edu.au/cgi-bin/WebObjects/News.woa/wa/goNewsPage?newsEventID=13495
  3. http://www.theage.com.au/news/technology/printers-pose-health-risks-study/2007/07/31/1185647880054.html
  4. http://www.informationweek.com/showArticle.jhtml?articleID=201202237

ภาพประกอบจาก : 

http://www.news.qut.edu.au/cgi-bin/WebObjects/News.woa/wa/goNewsPage?newsEventID=13495

http://www.theage.com.au/news/technology/printers-pose-health-risks-study/2007/07/31/1185647880054.html

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ดีมาก

โดย:  นที  [9 พ.ย. 2550 23:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ทุกวันนี้อะไรๆก็อันตรายไปหมด ต้องพยายามดูแลตัวเองกันหน่อยนะ

โดย:  Environmental Dept  [8 เม.ย. 2551 15:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

เป็นภัยใกลล้ตัวที่ควรมองข้ามไม่ได้ ถ้ามีการนำเสนอออกสื่อต่างๆให้คนได้รับรู้จะดีมากเพราะเป็นภัยที่น่ากลัวมากๆ ดีมากคับข่าวนี้ อยากให้มีข่าวดีๆอย่างนี้อีก

โดย:  เอก  [11 เม.ย. 2551 15:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ขอบคุณที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้ และบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน่าจะมีส่วนในการรณรงค์และความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคจากการใช้เครื่องเหล่านั้น

โดย:  นก  [13 พ.ค. 2551 06:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:8

เราก็ทำงานอยู่ร้านซ่อมและเติมหมึกปริ๊นเตอร์เลเซอร์รับเต็มๆเลย

โดย:  คนวงใน  [23 ม.ค. 2555 13:43]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น