สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย

ธุรกิจรีไซเคิล... แบบไหนที่ประเทศไทยต้องการ

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 27 ก.ย. 2550

หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นำเสนอเรื่องราวปัญหาจากโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่ปล่อยทั้งน้ำเสียและอากาศเสียออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนใกล้เคียง ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและชาวบ้านเจ็บป่วย และแม้มีการร้องเรียนหน่วยงานรับผิดชอบหลายครั้งก็มิอาจหยุดยั้งปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ข่าวข้างต้นสะท้อนสถานการณ์อีกด้านหนึ่งของธุรกิจรีไซเคิลที่ต้องการการเอาใจใส่ และคิดคำนึงถึงอย่างจริงจังเสียแต่เดี๋ยวนี้ ทั้งนี้เนื่องจากกระแสผลักดันให้เกิดธุรกิจรีไซเคิลมีอยู่ชัดเจน ทั้งจากความจำเป็นในเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการจัดการกับของเสียที่เกิดขึ้นภายในประเทศ แต่ด้วยเหตุผลในด้านการลงทุนที่ต้องแสวงหากำไรจึงมีแนวคิดเคลื่อนย้ายของเสียไปจัดการรีไซเคิลในในประเทศที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนคุ้มค่า กล่าวคือมีต้นทุนการดำเนินการต่ำ เช่น ที่ดินราคาถูก แรงงานราคาถูก การกำกับดูแลด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพแรงงาน ไม่เข้มแข็งมากนัก เป็นต้น

ประเทศไทยก็เป็นแหล่งหนึ่งที่เข้าเกณฑ์ข้างต้นและเป็นที่หมายตาของนักลงทุนจำนวนไม่น้อย และยิ่งเพิ่มความน่าลงทุนมากขึ้นเมื่อผนวกกับแรงสนับสนุนจากข้อตกลงทางการค้าต่าง ๆ ที่ประเทศไทยทำไว้ โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งโดยสาระคือการไม่เก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าที่ทำการตกลงร่วมกันไว้ สินค้าบางประเภทอาจไม่เก็บภาษีทันทีหลังความตกลงมีผลใช้บังคับ บางประเภทอาจลดภาษีลงเรื่อย ๆ จนเป็นศูนย์ตามกำหนดเวลา ในบรรดาสินค้าที่ตกลงกันมีรายการของเสียและวัสดุที่ใช้แล้วรวมอยู่ด้วย

นอกจากนี้ ในกรณีญี่ปุ่นต้องพิจารณาร่วมกับภาวะความจำเป็นภายในประเทศญี่ปุ่น ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากกลายสภาพเป็นของไม่ใช้แล้วในเวลาอันรวดเร็วและส่งผลต่อเนื่องถึงการจัดการของใช้แล้วเหล่านี้ในประเทศ ซึ่งถูกจำกัดด้วยเรื่องของพื้นที่ (ญี่ปุ่นเป็นเกาะ) และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ต้องลงหากจะทำโรงงานรีไซเคิลที่ญี่ปุ่นนั้นสูงมากกว่าผลที่จะได้รับจากการขายวัสดุที่รีไซเคิลได้ ทำให้โอกาสที่ญี่ปุ่นจะจัดการสินค้าใช้แล้วในประเทศตนเองอย่างเบ็ดเสร็จแทบจะเป็นไปไม่ได้  ดังนั้นการส่งออกวัสดุใช้แล้วโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าที่ประเทศปลายทางจึงลดต้นทุนได้มาก

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเพิ่มช่องทางแก้ปัญหาของตนเองโดยได้นำเสนอโครงการ 3R (reduce, reuse and recycle) Initiative ซึ่งมีข้อตกลงให้การสนับสนุนเรื่อง 3R ในประเทศกำลังพัฒนาและในระดับสากล โดยรูปธรรมคือการเข้าไปส่งเสริมให้มีโรงงานรีไซเคิลในประเทศอื่น ๆ ด้วยการสนับสนุนด้านเงินทุนและเทคโนโลยี เมื่อนำสองช่องทางนี้มาประกอบกันจะเห็นได้ว่าสอดคล้องและเอื้ออำนวยประโยชน์กันอย่างเหมาะเจาะ

ประเทศไทยซึ่งมีทิศทางชัดเจนว่าธุรกิจรีไซเคิลจะขยายตัวอย่างมาก จำเป็นต้องกำหนดจุดยืนหรือนโยบายด้านการจัดการของเสียและธุรกิจรีไซเคิลของประเทศให้ชัดเจน โดยอยู่บนฐานของศักยภาพของประเทศอย่างแท้จริง (ไม่หลอกตัวเอง) และคำนึงถึงสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมในอนาคตของประเทศด้วย เนื่องจากจะอย่างไรสิ่งที่เหลือสุดท้ายจากการรีไซเคิลคือกากของเสียที่ต้องกำจัด ซึ่งไม่ว่าจะเผาหรือฝังกลบล้วนมีผลกระทบต่อสังคมทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรทำน่าจะเป็นการตอบให้ได้ว่าธุรกิจรีไซเคิลแบบไหนที่ประเทศไทยต้องการ

 

อ่านข่าว ชาวบ้านสุดทนรัฐ ใส่เกียร์ว่าง แก้มลพิษตะกั่วนครสวรรค์’, ประชาชาติธุรกิจ, วันที่ 27 สิงหาคม 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3926. หน้า 33 (http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02phu06270850&day=2007-08-27&sectionid=0211)

3R initiative: http://www.env.go.jp/recycle/3r/en/index.html 

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ระวังประเทศไทยจะตกหลุมพรางของญี่ปุ่นให้เราเป็น "ประเทศขยะ" โดยให้ประเทศไทยเป็นแหล่งศูนย์กลางขยะ  แหล่งวัตถุดิบมือสอง/สาม/หลายๆมือ เพื่อให้ประเทศเขานำเอาไปใช้ต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในสายตาของญี่ปุ่นคนไทยเป็นคนไร้ระเบียบ ไร้คุณภาพ อ่อนแอทางความรู้และปัญญาในการป้องกันประโยชน์ของตนเอง ระบบกฎหมายอ่อนแอ ใช้บังคับไม่ได้ เขาจะมาย่ำยีอย่างไรก็ได้ เพราะต้นทุนในการย่ำยีถูกกว่าที่จะไปย่ำยีคนญี่ปุ่นด้วยกันเอง เพราะคนญี่ปุ่น กฏหมายญี่ปุ่นแข็งแรง ป้องกันตนเองและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น เอาไทยเป็นแหล่งขยะ และแหล่งผลิตวัตถุ recycle มีต้นทุนถูกกว่าทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังสร้างภาพลวงโดยผ่านเสนอความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยและการลงทุน  ซึ่งถ้าคิดจริงๆ ผลประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวอยู่กับญี่ปุ่นเป็นหลัก ประเทศไทยแค่เป็นลูกจ้างเก็บขยะ หากินจากกองขญะ โดยมีญี่ปุ่นเป็นนายทุนใหญ่ ทั้งการให้ขยะ และรับซื้อrecycled วัตถุจากขยะ แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือ เขาไม่ต้องลงทุนกำจัดหรือหาที่ทิ้งขยะพิษ เพราะมีประเทศไทยเป็นแหล่งทิ้งขยะอย่างง่ายดาย และมีต้นทุนต่ำด้วย  งานนี้ต้องบอกว่า ถ้าประเทศไทย คนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ถืออำนาจว่ามีสิทธิในการเจรจาการค้าและการทำข้อตกลง  ไม่มีข้อมูลและรู้เท่าทันเพียงพอ  จะทำให้ประเทศไทยเป็น " ประเทศขยะของโลก" นี่หรือเป็นการตอบแทนบุญคุณของประเทศ หรือเป็นการตอบแทนบุญคุณของใครกันแน่

โดย:  โจ้  [29 ต.ค. 2550 13:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ดีดี

โดย:  โจ้2  [9 พ.ย. 2550 11:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ในสายตาของญี่ปุ่นคนไทยเป็นคนไร้ระเบียบ ไร้คุณภาพ อ่อนแอทางความรู้และปัญญาในการป้องกันประโยชน์ของตนเอง ระบบกฎหมายอ่อนแอ ใช้บังคับไม่ได้ เขาจะมาย่ำยีอย่างไรก็ได้................ถูกต้องแล้วคร้าบบบบบบบบบบ.........ไม่เถียงเลย เหอะ ๆ

โดย:  คนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์  [1 มี.ค. 2551 00:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

กลุ่มธุรกิจรีไซเคิล ที่มีรูปแบบต่อไปนี้  ประเทศไทย และ คนไทย ต้องการกลุ่มไหนบ้าง  ? ?  

กลุ่ม    คนทำธุรกิจ แบบมีความรู้  เข้าใจอันตราย ของ งานที่ทำ และ ควบคุมได้  
กลุ่ม    คนไม่โลภมาก ( ถึงขนาด ยอม ทำผิด ทำเลว เพื่อให้รวยเร็ว )  
กลุ่ม    ใช้เทคโนโลยี ระดับ ปานกลาง  คนไทย ทำได้ เข้าใจได้ ไม่ต้องหวาดระแวง
กลุ่ม    เปิดเผย โปร่งใส ให้ข้อมูล  โดยไม่กลัวใครเลียนแบบ เพราะจุดแข็ง อยู่ที่ความคิดในการบริหาร ไม่ใช่เทคนิคที่ต้องปิดบัง  
กลุ่ม    ที่ สามารถ ( มีปัญญา ) ทำธุรกิจ โดย ทำกำไร และ รักษาสิ่งแวดล้อม  ได้พร้อมกัน  
กลุ่ม    มุ่งช่วยธุรกิจของคนไทยก่อน  
กลุ่ม    ประสานประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่น  
กลุ่ม    ทำธุรกิจ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกแก่สังคม ( และ เยาวชน )  
กลุ่ม    ไม่กลัวอำนาจข้าราชการเลวและนักการเมืองเลว
กลุ่ม    ไม่สนับสนุนการทุจริต  ของ พนักงานของลูกค้า เจ้าหน้าที่รัฐ นายหน้า นักการเมือง ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
กลุ่ม    ที่เป็นตัวจริง ไม่มีใครแอบแฝง อยู่เบื้องหลัง  


ถ้าไม่ยอมเปิดใจรับว่า  กลุ่มคนแบบนี้มีจริง  กลุ่มธุรกิจรีไซเคิล ที่เป็นประโยชน์กับประเทศ  ก็ไม่มีทางเติบโต อย่างมีศักดิ์ศรี เหมือนองค์กรปกติ

โดย:  นักเคมี ( คนไทย )  [25 เม.ย. 2551 23:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

วัสดุทุกชนิดรู้จักใช้มีความปลอดภัยครับ

โดย:  วิศวกรวัสดุ  [25 พ.ค. 2551 20:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

ควรนำวัสดุเหลือใช้ทุกประเภทนำมารีไซเคิลเพื่อประโยชน์ของประเทศได้ตลอดไปครับ

โดย:  วิศวกรเครื่องกลผู้เชี่ยวชาญ  [25 พ.ค. 2551 20:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

ถ้าไม่มองในแง่ลบ หรือชาตินิยมมากจนเกินไป ถ้าเรารู้กำจัดขยะที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน ร่วมกันให้ถูกวิธี ไม่ว่าจะชาติไหนๆๆถ้าร่วมด้วยช่วยกันและทำได้ดี ผลลัพธ์ก็ตกที่มนุษย์โลกเหมือนกัน ไม่ว่าจะชาติไหน ประเทศไหนๆๆก็อยู่บนโลกใบเดียวกัน

โดย:  โลกมีสิ่งแวดล้อมเดียวกัน  [17 พ.ย. 2551 11:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

http://en.wikipedia.org/wiki/Recycling        Recycling        

Overview  for  Recycling  of  [ Aggregates and Concrete  ;  Battery  ;  Biodegradable Waste  ;   Clothing  ;  Electronics Goods  ;  Ferrous Metals  ;  Nonferrous Metals  ;  Glass  ;  Paper  ;  Plastic  ;  Textile  ;  . . . . ]

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 08:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

http://en.wikipedia.org/wiki/Concrete_recycling        Concrete  Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 08:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

http://en.wikipedia.org/wiki/Battery_recycling        Battery Recycling        
http://www.batterycouncil.org/LeadAcidBatteries/BatteryRecycling/tabid/71/Default.aspx        Battery Recycling        
 
http://en.wikipedia.org/wiki/Car_battery        Car Battery        
http://en.wikipedia.org/wiki/Lead-acid_battery        Lead-Acid Battery        
http://www.batterycouncil.org/LeadAcidBatteries/tabid/54/Default.aspx        Lead-Acid Battery

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 08:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

Read  =  2,842    ;    Comment  =  7          2008-12-31        

http://en.wikipedia.org/wiki/Composting

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_recycling        Computer Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:14

http://en.wikipedia.org/wiki/Steel#Recycling        Steel Recycling        

http://en.wikipedia.org/wiki/Aluminium_recycling       Aluminium Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:15

http://en.wikipedia.org/wiki/Glass_recycling        Glass Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:16

http://en.wikipedia.org/wiki/Paper_recycling        Paper Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:17

http://en.wikipedia.org/wiki/Plastic_recycling        Plastic Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:18

http://en.wikipedia.org/wiki/Textile_recycling        Textile Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:19

http://en.wikipedia.org/wiki/Timber_recycling        Timber Recycling

โดย:  นักเคมี  [31 ธ.ค. 2551 09:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:20

เรื่องน่ารู้-การรีไซเคิล

http://www.sk-recycle.com/webboard_ans.php?id_qrt=15&c_page=0

โดย:  รักในอาชีพ  [7 ม.ค. 2552 15:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:22

ในขณะที่ทุกคนกำลังตื่นตัวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการหนึ่งคือการนำขยะมารีไซเคิล และที่ทุกคนกำลังชื่นชมผู้ที่ทำธุรกิจนี้ว่าเป็นคนรักษาสิ่งแวดล้อมให้สังคม มีใครรู้บ้างมั๊ยว่าในขณะเดียวกัน เค้ากำลังนำสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษมาสู่ใครบางคนที่เคยมีสิ่งแวดล้อมที่ดี แม้เดิมเคยเป็นที่รกร้างเต็มไปด้วยหญ้า แต่หญ้าพวกนั้นก็เป็นพืชชนิดหนึ่งซึ่งยังช่วยสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ให้ไม่มากก็น้อย แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นกองขยะที่เจ้าของธุรกิจเรียกว่าทองคำ ทองคำเหล่านั้นสร้างกลิ่นเหม็นและเชื้อโรคแก่คนที่เคยอยู่อย่างมีความสุข เปิดหน้าต่างรับอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างสดชื่น เงียบสงบ ตอนนี้กลับกลายเป็นต้องปิดหน้าต่างทุกบานเพื่อไม่ให้กลิ่นเหม็นและเชื้อโรคที่มาพร้อมกับลมพัดเข้ามาในบ้านที่มีเด็กน้อยตาดำๆ อยู่สองคน อีกทั้งต้องทนกับเสียงรถบรรทุกที่เทขวดและเศษแก้วเสียงดังจนพูดกันไม่ได้ยิน ทนกับเสียงรถตัก และ รถเกรดดิน ที่คัดแยกขวดแก้วตามสีอยู่ทั้งวัน ถ้าใครนึกภาพไม่ออก ลองเอาขวดมาเคาะกันดู แล้วลองคิดว่าถ้ามีขวดอยู่เป็นหมื่นเป็นแสนมันกระทบกันเสียงมันจะดังแค่ไหน
ถ้าเจ้าของธุรกิจนี้รักสิ่งแวดล้อมจริงอย่างที่ปากว่า ก็ควรจะเริ่มต้นจากจุดเล็กๆที่โรงงานหรือกองทองคำ(ขยะ) รวมถึงผู้คนที่อยู่รอบข้างซึ่งมาอยู่ก่อนที่คุณจะมาสร้างมลพิษให้ก่อน ช่วยทำบริเวณที่เก็บทองของคุณให้ถูกสุขลักษณะ และไม่สร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่นด้วย ถ้าทำไม่ได้ก็ควรจะเอาทองพวกนี้ไปเก็บในห้องนอนของท่านเอง
จากผู้ที่มีเพื่อนบ้านใหม่เป็น บ.วงษ์พาณิชย์กล๊าสรีไซเคิล ถ.รังสิต-องครักษ์ คลอง 8 ธัญบุรี


โดย:  ผู้มีเพื่อนบ้านใหม่เป็นโรงงานรีไซเคิล  [1 ส.ค. 2552 21:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:28

It's great to find smooene so on the ball

โดย:  Chalino  [28 ก.ย. 2555 05:54]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น