สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย

พิกัดรหัสสถิติ สินค้าเคมีภัณฑ์อันตราย สำคัญต่อความปลอดภัยอย่างไร

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา  ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 1 ธ.ค. 2544

            กรมศุลกากรได้ออกประกาศที่ 25/2544 เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมรหัสสถิติสินค้า และประกาศที่ 26/2544 เรื่องการสำแดงรายการในช่องใบอนุญาตของใบขนสินค้าสำหรับสารเคมีและวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 ก็ได้จัดประชุมชี้แจงแก่ผู้ประกอบการ ประมาณ 200 คน เพื่อทำความเข้าใจกับการปรับเปลี่ยนการทำงานของกรมศุลกากร คงเป็นคำถามว่ามีเหตุผลอะไรจึงต้องปรับเปลี่ยนรหัสสถิตินี้ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว รหัสสถิติที่ใช้อยู่นี้จัดว่าเป็นไปตามระบบมาตรฐานสากลที่จัดกลุ่มสารเคมีตามพิกัด เช่น พิกัด 27 เป็นสารพวกเชื้อเพลิง พิกัด 28 เป็นเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ พิกัด 29 เป็นสารเคมีภัณฑ์อินทรีย์ เป็นต้น และภายใต้พิกัดจะมีตัวเลขตามหลังอีก เพื่อแยกเป็นกลุ่มย่อย เช่น 3803.300107 คือยาฆ่าวัชพืชกว่า 100 รายการ ดังนั้นในการเก็บข้อมูลสถิติจึงไม่สามารถติดตาม สารอันตรายเป็นรายชนิดได้ เพราะหนึ่งพิกัดอาจคลุมสารเป็น 100 ชนิด หากจะมองเฉพาะภารกิจการเก็บภาษีจากสินค้านำเข้า ก็อาจจะยังมีช่องโหว่อยู่เหมือนกัน เพราะความสับสนของการเรียกชื่อสารเคมีที่มีหลายระบบ การขออนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานรับผิดชอบกับการนำเข้า จึงเป็นไปได้ที่ข้อมูลจะหลุดรอดออกไปได้อย่างไม่ได้ตั้งใจ ผลที่ปรากฏจากการเก็บข้อมูลการนำเข้าสารเคมี จึงพบว่า ข้อมูลการขออนุญาตของหน่วยอนุมัติ กับข้อมูลการนำเข้าจริงที่กรมศุลกากรไม่ต้องตรงกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ การฉายภาพรวมว่าโปแตสเซียมคลอเรตเข้ามาในประเทศแล้วกี่ตันในปีนี้ จึงไม่อาจประมวลได้

ปริมาณการนำเข้าสารเคมีโปตัสเซียมคลอเรตและแอมโมเนีย ประจำปี พ.ศ. 2541 - 2543

ปี พ.ศ.

โปตัสเซียมคลอเรต

แอมโมเนีย

กรมศุลกากร

กรมการอุตสาหกรรมทหาร

กรมศุลกากร

กรมโรงงานฯ

2541

218

ไม่มีข้อมูล

175,604

149,028

2542

1,105

566

200,096

200,658

2543

1,557

1,871

224,105

ยังไม่มีรายงาน

* ปริมาณประกอบการ

เหตุการณ์อุบัติภัยจากสารเคมี

19 กันยายน 2542

โปตัสเซียมคลอเรตระเบิด เชียงใหม่

29 กันยายน 2542

แอมโมเนียนรั่ว คลองเตย

16 กุมภาพันธ์ 2543

กาก Co60 รั่ว สมุทรปราการ

6 มีนาคม 2543

คาร์โบนีลคลอไรด์รั่ว ระยอง

4 มีนาคม 2544

เครื่องบินการบินไทยระเบิด ดอนเมือง

20 มิถุนายน 2544

คลังเก็บวัตถุระเบิดของทหารระเบิด นครสวรรค์

            คงจะยังจำกันได้ถึงเหตุการณ์อุบัติภัยจากสารเคมีที่เกิดขึ้นเป็นระลอก ทำให้เกิดคำถามว่า มีการติดตามข้อมูลการเคลื่อนไหวของวัตถุอันตรายมากน้อยเพียงใด ทำได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกฏหมายควบคุมดูแลอยู่ 2 ฉบับ คือ พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (และแก้ไขเพิ่มเติม) กับ พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ตาม พรบ. 2 ฉบับนี้ จะมีประกาศรายชื่อสารเคมีที่ควบคุม แบ่งประเภทเป็น 4 ชนิดอันตราย ที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเมื่อมีการนำเข้า ส่งออก การผลิต หรือการครอบครอง ชนิดที่ 1 อันตรายน้อยกำหนดให้ขึ้นทะเบียนไว้ ถ้าเป็นชนิดที่ 2 กำหนดให้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน ถ้าเป็นชนิดที่ 3 จึงจะต้องได้รับใบอนุญาต ส่วนชนิดที่ 4 จัดว่าเป็นสารอันตายมาก กำหนดให้เป็นสารต้องห้าม หน่วยงานที่เป็นผู้ให้อนุญาตสารตัวใดจะระบุในประกาศ ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมประมง ส่วนกรมการอุตสาหกรรมทหารจะดูแลสารเคมีตาม พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ ปัญหาก็คือสารตัวเดียวกันอาจอยู่ในบัญชีรายชื่อมากว่า 1 บัญชี ยิ่งซับซ้อนกว่านั้นก็คือ ตัวอย่างเช่น เมทานอลที่ใช้เป็นตัวทำละลายในโรงงานอุตสาหกรรม ถูกกำหนดเป็นชนิดที่ 1 ในบัญชีของกรมโรงงานอุตสาหกรรม คือ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า แต่ถูกกำหนดเป็นชนิดที่ 4 โดย อย. เพราะเป็นสารอันตรายถ้านำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ยา หรือเครื่องสำอาง จากการวิจัยพบว่า มีสารอย่างน้อย 54 ชนิด ที่ควบคุมซ้อนกันโดย 2 หน่วยงาน คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมอุตสาหกรรมทหาร และยังมีซ้อนกันกับกรมวิชาการเกษตรอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าจะต้องขออนุญาตจากกรมการอุตสาหกรรมทหารก่อนกรมโรงงานจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ สารบางชนิดกรมวิชาการเกษตรต้องทดสอบก่อนอนุญาต หากต้องเป็นสารในควบคุมของกรมการอุตสาหกรรมทหารก่อน กรมจะดูแลทดสอบแทนกรมวิชาการเกษตรได้หรือไม่
 
            ความซับซ้อนและสับสนของข้อมูลมีสาเหตุหลายประการ ตั้งแต่ปัญหาพื้นฐานว่าคำนิยามของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ต่างกัน วิธีเรียก วิธีเก็บข้อมูลต่างกัน เพราะต่างก็ทำตามขอบเขตภารกิจ สนองวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของตน ไม่อาจมองออกไปข้างนอกเพื่อเชื่อมโยงกับผู้อื่นได้ ทางแก้ก็คือ ทำอย่างไรให้มีการวิเคราะห์และหาทางแก้ร่วมกันพร้อมๆ กันทุกหน่วยงาน ไม่ใช่ทีละคู่เพื่อแก้ปัญหาทีละจุด โครงการวิจัยเพื่อสร้างระบบประสานข้อมูลการนำเข้าสารอันตรายจึงเกิดขึ้น โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนให้นักวิชาการจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร. วราพรรณ ด่านอุตรา ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตที่กล่าวข้างต้นมาทำงานด้วยกัน อาศัยวิชาการเป็นตัวนำในกระบวนการวิจัย คำตอบที่ได้ก็คือการจำแนกพิกัดรหัสสถิติสินค้าเคมีภัณฑ์อันตรายที่ต้องควบคุมดูแลตาม พรบ. ให้ละเอียดเพียงพอที่จะติดตามสารสำคัญได้เป็นรายชนิด โดยยังคงรหัสตามมาตรฐานสากลไว้ แต่ปรับรหัสตัวเลข 15 หลัก ให้สื่อความหมายที่ตรงกัน กล่าวคือ 6 หลักแรก เป็นรหัสหน่วยงาน หลักที่ 7 - 8 ระบุชนิดเอกสาร หลักที่ 9 ระบุชนิดอันตราย ที่เหลือเป็นเลขที่เอกสาร และ พ.ศ. นั่นหมายความว่า หน่วยงานทุกหน่วยมาหาข้อตกลงในทางปฏิบัติที่จะลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ปรับใบอนุญาตและการรายงานเลขที่ใบอนุญาตให้สะดวกและสื่อถึงกันได้ โดยโครงการได้จัดทำฐานข้อมูลสารเคมีเพื่อการอ้างอิงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานให้สื่อถึงกันได้ (
www.chemtrack.org)
 
            ผลงานจากโครงการวิจัยนี้ออกมาเป็นรูปธรรม และกำลังนำไปสู่การปฏิบัติใช้จริง เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ความร่วมมือเพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่อาจไม่เป็นการริเริ่มตามธรรมชาติ ต้องมีการบริหารจัดการจึงจะเกิด และผลงานปฏิบัติจะมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เมื่อเสริมด้วยงานวิจัย ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เหนือสิ่งอื่นใดจะต้องเกิดจากการทำงานอย่างมีสำนึกในหน้าที่ต่อสังคมของข้าราชการจำนวนหนึ่ง แม้ว่าจะมีบางคนที่ยังคงทำตามหน้าที่ หรือบางคนอาจมองไม่เห็นหน้าที่ของตนเองเลยก็ได้ กรมศุลกากรที่มีภาระหน้าที่ในการเก็บภาษีอากรจากสินค้านำเข้า เป็นตัวอย่างของการเปิดโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติเพื่อให้เอื้อต่อการทำงานของหน่วยงานอื่น เพื่อความปลอดภัย จากประสบการณ์นี้เจ้าหน้าที่ที่มาร่วมงานได้เห็นความสำคัญของงานว่ายังมีโจทย์อื่นอีก ด้วยหลักการเดียวกันนี้น่าจะใช้กับการจำแนกสินค้าประเภทยาได้ จะทำให้ติดตามข้อมูลการนำเข้ายา หรือบ่งบอกสภาพสุขภาพและการใช้ยาของคนไทยได้ด้วย
 
            อย่างไรก็ดี โครงการนี้เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของคำตอบเรื่องความปลอดภัยด้านวัตถุอันตรายเท่านั้น แต่ก็เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้ติดตามเรื่องอื่นได้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง หรือการครอบครอง เป็นต้น อีกทังยังมีคำถามเรื่องความซ้ำซ้อนของหน่วยงานในการดูแลสารชนิดเดียวกัน ทำอย่างไรจึงจะหาข้อสรุปที่ดีได้ว่า ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยที่สุด ไม่มีช่องโหว่ให้เล็ดรอด และสะดวก รวดเร็วต่อผู้ประกอบการ คำถามหลายข้อยังต้องการคำตอบอยู่

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

Finding this post sloevs a problem for me. Thanks!

โดย:  Ali  [24 ส.ค. 2555 05:09]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น