สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย

กระบวนทัศน์ของการจัดการสิ่งแวดล้อม

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา  ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 1 ธ.ค. 2551
            การจัดการสิ่งแวดล้อมในระยะที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เป็น 3 ยุคสมัย กล่าวคือ ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการ ก็คือ กฎหมายและมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมและกำกับให้ผู้ปล่อยของเสียทั้งภาคอุตสาหกรรมและประชาชนต้องปฏิบัติตาม โดยใช้กลยุทธของการจัดการที่ปลายท่อ (end - of - pipe) คือ ตรวจสอบ ควบคุมการปล่อยของเสียก่อนทิ้งออกสู่สาธารณะ และใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle , PPP) ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นประการใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับการบังคับใช้กฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งค่อนข้างจะมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเกิดผลกระทบในทางบวก ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้มีความตื่นตัวมากขึ้น แนวคิดของการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงเปลี่ยนจากการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ มาเน้นที่การป้องกันการเกิดมลพิษจากแหล่งกำเนิด
 
แนวนโยบาย
ทศวรรษ 1960 - 1970
ทศวรรษ 1980
ทศวรรษ 1990 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์
 

กลยุทธ
 

จุดเน้น

เครื่องมือที่ใช้


บทบาทหลัก

ผู้มีบทบาทหลัก
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
 

- การจัดการที่ปลายท่อ (End - of - pipe)

- ของเสียที่ปลายท่อ

- กฎหมาย มาตรการ
 

- เทคโนโลยี

- ผู้เชี่ยวชาญ
- เทคโนโลยีสะอาด
 

- การป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention)

- กระบวนการ

- ภาครัฐริเริ่มแบบมีส่วนร่วมและสมัครใจ

- การจัดการ

- ผู้จัดการ
- การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม

- การจัดการผลิตภัณฑ์และ supplier

- ผลิตภัณฑ์และระบบ

- ภาคเอกชนริเริ่ม (GRI , ISO, ฯลฯ)

- การมีส่วนร่วม

- สังคม ผู้มีส่วนได้เสีย
 
            รวมทั้งการลดของเสีย การนำกลับมาใช้ และการใช้ซ้ำด้วย บทบาทของภาครัฐฯ ก็เปลี่ยนจากการควบคุมด้วยกฎหมายอย่างเดียวมาเป็นการจูงใจ และริเริ่มใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการ เช่น การนำแนวคิดของเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคการผลิต การริเริ่มใช้ดัชนีชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการเพื่อลดของเสียและลดการใช้พลังงาน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ผลจากการประชุมสุดยอดของโลกที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ทำให้เกิดกระแสแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม Agenda 21 ซึ่งเป็นเสมือนแผนแม่บทโลก เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาซึ่งสนองตอบการดำรงชีวิตของคนทั้งปัจจุบันและอนาคตได้ในระยะยาว ดังนั้นการพัฒนาต้องคำนึงถึงผลกระทบระยะยาวที่จะมีต่อสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน ความมีส่วนร่วมและการเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคมีส่วนในการกำหนดการผลิต ซึ่งจะเป็นกระบวนการผลิตที่ต้องคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) เครื่องมือที่ใช้ในยุคนี้จะเป็นเครื่องมือที่ต้องอาศัยความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งภาคอุตสาหกรรมและบริการเข้ามาเป็นผู้ริเริ่มและสมัครใจทำมากขึ้น เช่น การจัดทำรายงานตามแนวทางของ Global Reporting Initiative : GRI ที่เป็นการรายงานผลการดำเนินการของธุรกิจที่ไม่เฉพาะรายงานด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานในส่วนที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย การกำหนดมาตรฐานสินค้าด้วยเครื่องหมายรับรองชนิดต่างๆ ล้วนเป็นมาตรการกระตุ้นให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

            ประเทศไทยกำลังเผชิญกับยุคทั้ง 3 พร้อมๆ กัน กล่าวคือ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กการจัดการที่ปลายท่อยังดำรงอยู่ แม้ว่าจะเริ่มนำแนวคิดของเทคโนโลยีสะอาดเข้ามาใช้บ้างแล้วก็ตาม การที่จะให้ปรับกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงวงจรอายุของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นการยากเพราะยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมข้ามชาติเมื่อจำเป็นต้องค้าขายระหว่างประเทศ จึงได้รับแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปฏิบัติ แนวโน้มของกติกาสิ่งแวดล้อมโลก และกติกาการค้าระหว่างประเทศ เช่น ในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ที่ต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สินค้าผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยย่อมถูกผลกระทบแน่นอน หลักการของการเปิดการค้าเสรีที่พยายามจะลด Tariff barrier จะกลายมาเป็นประเด็นที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับ Non Tariff barrier ที่สินค้าจะถูกกีดกันเนื่องมาจากมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม กลไกราคา และกระแสจากผู้บริโภค

            กระแสความเคลื่อนไหวการจัดการสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนี้ เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การวิจัยของ สกว. ภายใต้แนวความคิดของการพัฒนาที่ยังยืน การสนับสนุนการวิจัยได้มองอย่างองค์รวม ที่มีทั้งภาคส่วนของรัฐฯ ของภาคการผลิตและบริการ และภาคประชาชน โดยเชื่อมโยงกับประเด็นระดับสากลด้วย แนวทางการดำเนินการอยู่บนหลักการพื้นฐานของการมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลและการไหลของข้อมูล


การจัดการสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ กล่าวคือ

            องค์ประกอบแรก คือ นโยบายและมาตรการที่ต้องเชื่อมโยงประเด็นหรือความเคลื่อนไหวระดับสากลด้วย ซึ่งภาครัฐฯ มีบทบาทสำคัญ

           
องค์ประกอบที่ 2 คือ ภาคของผู้ก่อมลภาวะ ซึ่งหมายถึงมลภาวะจากอุตสาหกรรมและบริการและจากชุมชนภายใต้กระบวนทัศน์ของการผลิตที่ยั่งยืน ที่คำนึงถึงสมดุลระหว่างผลทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องมือที่พึ่งเทคโนโลยี (Knowledge based tool) และได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกอยู่มาก

            องค์ประกอบที่ 3 คือ การบริโภคอย่างยั่งยืน ที่ภาคประชาชนจะเป็นผู้มีบทบาทหลักทั้งเป็นที่ผู้บริโภคจะต้องรู้เท่าทันและมีทางเลือก

            ทิศทางการสนับสนุนวิจัยของ สกว. ที่ผ่านมาและที่กำลังจะดำเนินต่อไปใน 2 - 3 ปีข้างหน้า จึงเป็นโจทย์วิจัยที่สนองตอบทุกภาคส่วนบนฐานคิดของการทำให้เกิดข้อมูลข้อความรู้ที่ส่งผ่านถึงกัน และการเข้าถึงข้อมูลเพื่อทำให้การจัดการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แนวคิดของผลิตภาพที่สะอาด (Green Productivity) สำหรับภาครัฐฯ มีงานวิจัยที่ใช้สนับสนุนเชิงนโยบายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยราชการ เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งและกากอันตรายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การพัฒนากรอบการดำเนินงานเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการประเมินตลอดวงจรชีวิต (LCA) จากพื้นฐานงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้มีงานวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเจรจาการเปิดการค้าเสรีในประเด็นสิ่งแวดล้อมด้วย

            นอกจากนั้นยังได้ให้ความสำคัญกับนโยบายและมาตรการสากลที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้สนับสนุนให้สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นแกนกลางติดตามอนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการค้า เช่น Kyoto Protocol ภายใต้อนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก มีงานวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการพิจารณาโครงการที่ใช้ Clean Development Mechanism (CDM) เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยน Carbon credit

            การติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรการ REACH ของสภาพยุโรปในการควบคุมการผลิตการใช้สารเคมีอยู่ภายใต้การสนับสนุนหน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย (Knowledge Platform) ภายใต้ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้นำเสนอผลการติดตามมาตรการและสร้างความพร้อมโดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรม

            งานวิจัยในภาคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาส่วนใหญ่ คือ การพัฒนาเครื่องมือในการจัดการ (Knowledge based tool) เพื่อเตรียมความพร้อมและนำร่องให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าทำได้อย่างไร ที่ผ่านมาได้มีโครงการแนวทางการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) ที่มีการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมนอกเหนือจากผลการดำเนินงานด้านเศรษฐศาสตร์เท่านั้น โครงการการจัดทำฐานข้อมูลการประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์พื้นฐานปูนซีเมนต์และเหล็กกล้าเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม การนำร่องในการจัดทำให้เกิดการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Greening Supply Chain) ในอุตสาหกรรม 3 บริษัท ทั้งหมดนี้เป็นการทำวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เป็นการเตรียมความพร้อมกับการพัฒนาผลิตภาพที่สะอาด

            งานวิจัยทางด้านของผู้บริโภคและประชาชนโดยรวม เป็นงานวิจัยแบบประชาชนมีส่วนร่วมและ Action Research ที่มุ่งหวังให้ได้วิธีการหรือเครื่องมือที่ประชาชนจะใช้เพื่อการเฝ้าระวังและดูแลตัวเองได้ระดับหนึ่ง เช่น รูปแบบการเรียนรู้ในการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ การลดการใช้ผลิตภัณฑ์เคมี การพัฒนาโครงการเข้าถึงข้อมูลมลพิษเพื่อสังคมที่ปลอดภัย กรณีศึกษาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นต้น

            งานวิจัยทั้ง 3 ส่วนจะเชื่อมโยงกันและเชื่อมโยงกับประเด็นความเคลื่อนไหวในต่างประเทศด้วย กระบวนการวิจัยของ สกว. จะเป็นกลไกเชื่อมโยงภาครัฐฯ เอกชน และประชาชน เข้ามาทำหน้าที่ในการเตือนภัยอันจะเกิดจากความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยง ป้องกัน หรือบรรเทาปัญหา (Risk Watch)
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น