สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

มารู้จักสารลดแรงตึงผิวกันดีกว่า

ผู้เขียน: วิสาขา ภู่จินดา
วันที่: 17 ส.ค. 2549

บทนำ

            สารลดแรงตึงผิวมีบทบาทที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในแต่ละวันมนุษย์ใช้สารลดแรงตึงผิวแทบทุกกิจกรรม เช่น การทำความสะอาดร่างกายและของใช้  การใช้เครื่องสำอาง การย่อยอาหาร กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้สารลดแรงตึงผิวก็มีบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ในการกำจัดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรก  ในการกำจัดสารแขวนลอยหรือคลอรอยด์ในน้ำ  การเลือกประเภทของสารลดแรงตึงผิว ปริมาณหรือความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว รวมถึงสภาวะอื่นๆให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานต่างๆเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อทำให้สารลดแรงตึงผิวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและไม่สร้างปัญหาเพิ่มให้กับสิ่งแวดล้อม  สารลดแรงตึงผิวส่วนใหญ่จะสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ทั้งนี้ความสามารถในการถูกย่อยสลายจะขึ้นกับโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว รวมทั้งปริมาณของสารลดแรงตึงผิวที่เหลืออยู่จากการใช้  การใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการบำบัดแล้วยังมีส่วนช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ในน้ำดื่มปริมาณสารลดแรงตึงผิวที่สามารถเจือปนได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเท่ากับ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร การศึกษาและการพัฒนาการนำสารลดแรงตึงผิวมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ให้มากขึ้นโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในอนาคต

 

คุณสมบัติของสารลดแรงตึงผิว

สารลดแรงตึงผิว หรือ SURFace ACTive AgeNT มีชื่อเรียกโดยทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ว่า “ Surfactant ” สารลดแรงตึงผิวเดิมทีเดียวมาจากภาษาเยอรมันว่า Tensid ซึ่งตั้งโดยนักเคมีชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1960  สารลดแรงตึงผิวส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic group) และส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic group) ดังแสดงในภาพที่ 1b ส่วนที่ไม่ชอบน้ำมักจะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน คือมีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนใหญ่จะมาจากไขมันและน้ำมันตามธรรมชาติ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และโพลีเมอร์สังเคราะห์ ลักษณะที่สำคัญของสารลดแรงตึงผิวคือเมื่อใส่สารลดแรงตึงผิวเพียงเล็กน้อยลงในน้ำ สารลดแรงตึงผิวจะไปลดแรงตึงผิวของน้ำเพื่อให้เกิดกระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้เปียก และกระบวนการทำความสะอาด เป็นต้น ส่วนที่ไม่ชอบน้ำจะพยายามหนีน้ำโดยไปเกาะกับพื้นผิวที่ว่าง เช่น อากาศ  ส่วนที่ชอบน้ำจะยังคงอยู่ในน้ำซึ่งแสดงในภาพที่ 1c  สารลดแรงตึงผิวสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทซึ่งแบ่งตามลักษณะหรือประจุของส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic group) ได้แก่

 

1.      สารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวก (Cationic surfactant) ได้แก่ Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB) ซึ่งมีสูตรโมเลกุล คือ C16H33N(CH3)3+Br-  สารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวกมักจะพบในผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน ครีมนวดผม และน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น

2.       สารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบ (Anionic surfactant) ได้แก่ Sodium dodecyl sulphate (SDS) ซึ่งมีสูตรโมเลกุล คือ CH3(CH2)11SO4-Na+ มักจะเป็นส่วนประกอบในผงซักฟอกและสบู่ เป็นต้น

3.       สารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุ (Nonionic surfactant) ได้แก่ Polyoxyethylene alcohol ซึ่งมีสูตรโมเลกุล คือ (CnH2n+1(OCH2CH2)mOH) สารลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุนี้มักจะนำไปผสมในสบู่เหลวล้างหน้า

4.       สารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและประจุลบ (Zwitterionic surfactant) ได้แก่ b-N-Alkylaminopropionic Acids มีสูตรโมเลกุล คือ RN+H2CH2CH2COO- ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สารป้องกันการกัดกร่อน และสารยับยั้งแบคทีเรีย เป็นต้น

          

           สารลดแรงตึงผิวยังมีคุณสมบัติที่ทำให้เฟสสองเฟสที่ต่างกันมารวมตัวกันได้ คำว่าอยู่คนละ ฟส ือ การไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน น้ำและน้ำมันไม่ละลายซึ่งกันและกันเพราะมีคุณสมบัติที่ต่างกันโดยที่น้ำเป็นสารประกอบที่มีขั้ว ส่วนน้ำมันเป็นสารประกอบที่ไม่มีขั้ว เมื่อใส่สารลดแรงตึงผิวเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้สองเฟสมารวมกันเป็นเฟสเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่น ารใส่ไข่แดงซึ่งมี lecithin เป็นสารลดแรงตึงผิวประกอบอยู่ประมาณ 10% ลงไปในน้ำที่ผสมน้ำมันเพื่อทำน้ำสลัด ทำให้น้ำและน้ำมันรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน

ตัวอย่างโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิวแสดงในภาพที่ 1  าพที่ 1a แสดงโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบซึ่งมีสูตรโมเลกุล ือ C12H25SO4-Na+   าพที่ 1b เป็นการแสดงโครงสร้างของสารลดแรงตึงผิวทั่วไปซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ชอบน้ำและส่วนที่ไม่ชอบน้ำซึ่งสามารถเปรียบเทียบโครงสร้างได้กับภาพที่ 1a โดยที่ส่วนที่ไม่ชอบน้ำคือ C12H25 และส่วนที่ชอบน้ำ คือ SO4-  ละ ภาพที่ 1c แสดงการเรียงตัวของสารลดแรงตึงผิวเมื่อวางตัวอยู่ในน้ำ 

          

            ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบสารลดแรงตึงผิวทั้ง 4 ชนิดในการทำให้เกิดฟอง ความสามารถในการซักล้าง และการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่ม จะเห็นว่าสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบจะมีคุณสมบัติทำให้เกิดฟองดีที่สุด  ส่วนสารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบจะมีคุณสมบัติในการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มดีที่สุด สารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในปัจจุบันได้มีการนำสารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม พื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความสามารถของสารลดแรงตึงผิวทั้ง 4 ชนิด ในการทำให้เกิดฟอง การซักล้าง และการทำให้พื้นผิวเกิดความอ่อนนุ่ม (Tiger Chemical Company, 1997)

ประเภท / คุณสมบัติ

สารลดแรงตึงผิว

การเกิดฟอง

ความสามารถในการซักล้าง

ความสามารถในการทำให้อ่อนนุ่ม

ประจุลบ

ดีที่สุด

ค่อนข้างดี

ไม่แน่นอน

ไม่มีประจุ

ดี

ดี

ดี

ประจุบวก

ไม่ดี

ปานกลาง

ไม่ดี

ประจุบวกและลบ

ค่อนข้างดี

ดี

ดีที่สุด

การนำสารลดแรงตึงผิวไปใช้ประโยชน์

สารลดแรงตึงผิวมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ในร่างกายมนุษย์ก็มีสารลดแรงตึงผิวประกอบอยู่ เช่น Gall Acid ซึ่งจะย่อยสารประเภทไขมันได้ สารลดแรงตึงผิวมีประโยชน์หลายๆ ด้าน โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตต่างๆ ได้แก่

1.      สารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์ที่มีฟอง เป็นต้น

2.       สารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางและครีมกันแดด

3.       สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ ผลิตยา

4.      สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น กระบวนการย้อมผ้า การเคลือบสีไม้หรือโลหะ การผลิตพลาสติก การทำหนังสัตว์ การผลิตเนยเทียม  เค้กและไอศกรีม เป็นต้น

5.       สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น บำบัดน้ำเสีย กำจัดมลพิษทางดิน ดูดซับของเสีย เป็นต้น

6.       สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในกระบวนการสกัดแยก เช่น การสกัดแยกแร่   การแยกน้ำมัน ออกจากน้ำ เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังมีการนำสารลดแรงตึงผิวมาใช้ในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยี  เทคโนโลยีชีวภาพ   งานพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์  และเครื่องบันทึกแถบแม่เหล็ก เป็นต้น

            นอกจากสารลดแรงตึงผิวจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันแล้ว เช่น ในกระบวนการทำความสะอาด สารลดแรงตึงผิวยังมีบทบาทที่สำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย รวมทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็แล้วแต่การนำสารลดแรงตึงผิวไปใช้ประโยชน์นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เพราะสารลดแรงตึงผิวก็สามารถทำลายสิ่งแวดล้อมได้เช่นกันถ้ามีการใช้ในปริมาณที่ไม่ถูกต้องและมีนำสารลดแรงตึงผิวผิดประเภทมาใช้ ตัวอย่างเช่นในการปล่อยน้ำซักผ้าหรือน้ำยาล้างจานที่เข้มข้นซึ่งมีสารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบลงในแม่น้ำลำคลอง จะทำให้เกิดฟองอย่างมาก  นอกจากจะทำลายสุนทรียภาพของแม่น้ำลำคลองแล้ว ยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  และอาจต้องใช้เวลานานที่กระบวนการธรรมชาติโดยแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์จะย่อยสลายสารลดแรงตึงผิวได้หมด US. EPA. ได้กำหนดความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวในน้ำดื่มให้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (Kawamura, 2000)

 

เอกสารอ้างอิง

Kawamura, S.  2000.  Integrated Design and Operation of Water Treatment Facilities.

2nd ed. John Wiley & Sons, Inc.,  pp.37.

Tiger Chemical Company.  2004.  (March, 20).  Surfactant Guide & Formulary  1997.

(Online). Available URL: www.webworld.com.au/tiger

 

 


ภาพ 1(a) โมเลกุลของสารลดแรงตึงผิวประจุลบ

ภาพ 1(b) โครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว

ภาพ 1(c) การเรียงตัวของสารลดแรงตึงผิวในน้ำ
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ให้เนื้อหาดีมากๆค่ะอาจานสั่งทำรายงานเรื่องเกี่ยวกับพวกนี้อยู่พอดีเลย

โดย:  เด็กต้องทำรายงาน  [2 ก.ย. 2549 19:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

แล้วสารลดแรงตึงผิว มีโทษยังไงครับ

โดย:  virus um  [21 ก.ย. 2549 23:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ตอบคำถามความคิดเห็นที่ 3  การบำบัดน้ำเสีย ถ้ามีการใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่มากและเกินความจำเป็น จะมีโทษได้ เช่น น้ำที่ถูกบำบัดโดยใช้สารลดแรงตึงผิวต้องไม่มีสารลดแรงตึงผิวตกค้างในปริมาณที่มากกว่า 0.5 mg/l จึงจะสามารถนำมาใช้บริโภคได้  (Kawamura, 2000) สารลดแรงตึงผิวบางชนิดมีหมู่ของอะคลีราไมล์ ซึ่งมีความเป็นพิษ

โดย:  วิสาขา ภู่จินดา  [13 ต.ค. 2549 09:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

สารลดแรงตึงผิว สามารถช่วยให้อัตราการไหลในท่อดีขึ้นได้หรือเปล่าครับ

โดย:  am.  [11 พ.ย. 2549 11:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ผมว่าสารที่ว่ามานี้จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมและด้านประกอบอาชีพมากนะ

โดย:  เก่ง  [1 ม.ค. 2550 15:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

ขอบคุณค่ะ  กำลังทำรายงานอยู่เลย หามาตั้งนาน

โดย:  vitamilk  [12 ก.พ. 2550 14:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

อยากทราบว่าสารลดแรงตึงผิวมีโทษต่อสิ่งแวดล้อมยังไงบ้างค่ะ   ขอคำตอบด่วนที่สุดเลยนะค่ะ

โดย:  เมย์  [13 ส.ค. 2550 08:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:10

ขอบคุณมากค่ะ แต่อยากรู้รายละเอียดของสารลดแรงตึงผิวต่อการเกิดโฟมไข่ขาวทำยังไงดีคะ

โดย:  aoy  [21 ส.ค. 2550 16:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:11

อยากได้ข้อมูลเรื่อง คาร์บอนแบล็ค จังเลย
โดยเฉพาะทางการระบาดวิทยา

โดย:  ช่วยหน่อยนะค่ะ  [28 ส.ค. 2550 17:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:12

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับสารลดแรงตึงผิวมากกว่านี้

โดย:  ko  [21 พ.ย. 2550 11:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:13

ข้อมูลเกี่ยวกับสารลดแรงตึงผิวอ่านเพิ่มเติมที่ลิงก์นะจ๊ะ
http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/cp_7_2548_surfactant.pdf
http://www.ra.mahidol.ac.th/poisoncenter/bulletin/bul98/v6n4/Household%20pro.html

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [24 พ.ย. 2550 15:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:14

ถ้าจะนำสารลดแรงตึงผิวไปผสมกับอีพ็อคซี่เพื่อให้ฟิลเลอร์ที่ใช้เกิดการกระจายตัว ควรใช้สารประเภทใดดีคะ

โดย:  vanadium  [2 ม.ค. 2551 10:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:15

อยากได้ข้อมูลเกียวกับ Emollient, Humectant, preservative, antioxidants color

โดย:  r-hao  [24 ม.ค. 2551 23:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:17

อยากให้มีข้อมูลมากกว่านี้

โดย:  เอ๋  [9 มิ.ย. 2551 09:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:18

ขอบคุณคับกำลังทำรายงานอยู่เลยขอบคุมากๆคับ

โดย:  MarutM.5  [14 มิ.ย. 2551 15:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:19

อยากรู้ว่าในแชมพูผงซักฟอฟสบู่มีสารตึงผิว
ชื่อไร

โดย:  okok  [11 ส.ค. 2551 14:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:20

คำที่ควรรู้        

Surface Tension        
Surfactant ,  Surface Active Agent        
Anionic ,  Cationic ,  Amphoteric ,  Zwitterion ,  Zwitterionic ,  Nonionic        
Hydrophilic ,  Hydrophobic        
Biodegradable        
Critical Micelle Concentration        


โดย:  นักเคมี  [15 ส.ค. 2551 14:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:21

ดีมากเลยน่ะ

โดย:  D man  [21 ส.ค. 2551 00:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:22

แล้วจะหาซื้อสารลดแรงตึงผิวนี้ได้ที่ใหนครับ

โดย:  นวทรัพย์  [25 ส.ค. 2551 17:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:23

ต้องการอยู่พอดีเลยค่ะขอบคุณค่ะ

โดย:  ภาวิณี  [29 ส.ค. 2551 15:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:24

ขอบคุณมากๆๆๆๆคร้าบบบบบบบบบ กะลังทำงานอยุ่เลย น่าจะเปิดเว็บนี้แต่แรก จะได้ไม่ตกวิชานี้ T_T

โดย:  Ploy  [29 ส.ค. 2551 18:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:25

http://en.wikipedia.org/wiki/Surfactant        Surfactant        
http://en.wikipedia.org/wiki/Detergent        Detergent

โดย:  นักเคมี  [29 ส.ค. 2551 18:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:26

http://en.wikipedia.org/wiki/Fabric_softener        Fabric Softener        
http://en.wikipedia.org/wiki/Emulsifier        Emulsifier        
http://en.wikipedia.org/wiki/Wetting        Wetting        
http://en.wikipedia.org/wiki/Hair_conditioner        Hair Conditioner

โดย:  นักเคมี  [29 ส.ค. 2551 18:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:27

http://en.wikipedia.org/wiki/Sodium_dodecyl_sulfate        Sodium dodecyl sulfate    ( Sodium lauryl sulfate )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Ammonium_lauryl_sulfate        Ammonium lauryl sulfate        
http://en.wikipedia.org/wiki/Sodium_laureth_sulfate        Sodium laureth sulfate    ( Sodium lauryl ether sulfate )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Cetyl_trimethylammonium_bromide        Cetyl trimethylammonium bromide        
http://en.wikipedia.org/wiki/Cetylpyridinium_chloride        Cetyl pyridinium chloride        
http://en.wikipedia.org/wiki/Polyethoxylated_tallow_amine        Polyethoxylated tallow amine      
http://en.wikipedia.org/wiki/Benzalkonium_chloride        Benzalkonium chloride        
http://en.wikipedia.org/wiki/Benzethonium_chloride        Benzethonium chloride        
http://en.wikipedia.org/wiki/Cocamidopropyl_betaine        Cocamidopropyl betaine
http://en.wikipedia.org/wiki/Nonoxynols        Nonoxynols    ( Nonylphenol ethoxylate )

โดย:  นักเคมี  [29 ส.ค. 2551 19:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:28

http://chemicalland21.com/specialtychem/perchem/LINEAR%20ALKYLBENZENE%20SULFONIC%20ACID%20SODIUM%20SALT.htm        Linear Alkylbenzene Sulfonic acid ,  Sodium salt    ;    Sodium Linear Alkylbenzene Sulfonate

โดย:  นักเคมี  [29 ส.ค. 2551 19:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:30

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของ cationic softener ต่อความขาวของผ้าฝ้าย

โดย:  (- o -)  [26 ก.ย. 2551 19:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:32

http://en.wikipedia.org/wiki/Surfactant        Surfactant        

http://www.chemistry.co.nz/deterghistory.htm        Detergent History        
http://www.chemistry.co.nz/surfactants.htm        
http://www.chemistry.co.nz/deterg.htm        Synthetic Detergents        
http://www.chemistry.co.nz/stain_frame.htm        Stain Removal Guide        
http://www.fabrics.net/deterg.asp        

http://www.chemistry.co.nz/detergent_books.htm        Detergent Books

โดย:  นักเคมี  [30 ธ.ค. 2551 09:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:33

http://en.wikipedia.org/wiki/Glucoside        Glucoside

โดย:  นักเคมี  [30 ธ.ค. 2551 13:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:34

โทษของสารลอแรงตึงผิวมีอะไรบ้าง


โดย:  บุษรินทร์ สมยงค์  [23 ม.ค. 2552 14:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:35

แนะนำ  เว็บไซต์  เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน     ที่  เนื้อหาสาระดี  รูปแบบสวยงาม  วิธีการนำเสนอน่าสนใจ  สื่อสารได้ดี  ฯลฯ        

http://oldweb.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/room01.html        

จัดทำโดย  คณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย:  นักเคมี  [24 ม.ค. 2552 17:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:37

ชิ้นงานที่มีลักษณะกลม แบนๆ เมื่อแช่ในน้ำแล้ว ทำให้ชิ้นงานดูดกัน ซ้อนทับกัน จะแก้อย่างไรดี

โดย:  ยอ  [9 มิ.ย. 2552 13:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:39

จะหาซื้อสาร hydrophobic ได้ที่ไหนค่ะ  ช่วยตอบด่วน

โดย:  วิว  [12 มิ.ย. 2552 17:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:40

ขอเนื้อหามากกว่านี้ได้ไหมค่ะ

โดย:  นัส  [19 มิ.ย. 2552 15:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:42

จะหาซื้อสาร hydrophobic ได้ที่ไหนครับ   ช่วยตอบด่วน

โดย:  นักkema  [3 ธ.ค. 2552 11:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 35:43

ผมว่าสารที่ว่ามานี้จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมและด้านประกอบอาชีพมากนะครับ
เเละขอเนื้อหามากกว่านี้ได้ไหมครับจะหาซื้อสาร hydrophobic ได้ที่ไหนครับ ช่วยตอบด่วนเเค่นี้ครับ............

โดย:  เเบงค์  [3 ธ.ค. 2552 11:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 36:45

ผมอยากทราบว่า  สารNP ตัวไหนมีคุณสมบัติในการคุม โรค พืชได้บ้าง ขอบคุณครับ

โดย:  อมอิน  [7 ธ.ค. 2552 21:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 37:46

อยากรู้วิธีที่สกัดจุลินทรีย์ที่ผลิตสารลดแรงตึงผิวจากน้ำมันน่ะค่ะ

ช่วยบอกได้ไหมค่ะ

โดย:  - -*  [10 ธ.ค. 2552 13:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 38:47

สาร nonionic surfactant สามารถจะ stabilize คลอรีนน้ำ10%และ
sodium metabisulphite 20% ให้คงสภาพ3-6เดือน ได้หรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ

โดย:  มานพ  [25 มี.ค. 2553 17:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 39:48

อยากได้สารเพิ่มแรงตึงผิวอ่า


โดย:  555  [31 มี.ค. 2553 18:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 40:49

ความตึงผิวมาจากแรงเสียวทานจึงหรือ

โดย:  อรอุมา เสาเวียง  [18 ก.ค. 2553 12:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 41:50

อยากรู้ว่า surfactant กับ emulsifier มันต่างกันยังงัย
หรือว่ามันเหมือนกันตรงไหน

โดย:  สงสัยมาก  [25 ก.ค. 2553 21:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 42:51

ดีมากค่ะ


โดย:  อล  [3 ส.ค. 2553 15:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 43:52

เนื้อหาดีมากคะ
แต่อยากทราบอกคะว่า ผงซักฟอกที่มีฟองน้อย กับที่มีฟองมาก แบบไหนทำความสะอาดได้ดีกว่ากัน  เพราะจากในเนื้อหาน่าจะตอบได้ว่าแบบมีฟองช่วยทำความสะอาดได้ เพราะมีสารลดแรงตึงผิว แล้วทำไมผงซักฟอกในปัจจุบันถึงได้พยายามลดไม่ให้มีฟองเยอะๆ หละคะ

โดย:  PAAK  [18 ส.ค. 2553 05:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 44:53

หนูอยากรูประโยชน์ของสบู่ช่วยลดเเรงตึงผิวของนํ้า  เเละการนำไปใข้ในชีวิตประจำวันค่ะ

โดย:  ครูสั่งให้ทำมา  [22 ส.ค. 2553 09:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 45:55

ethoxylated nonyl phenol (15EO)
ethoxylated nonyl phenol (9EO)
เป็นสารก่อมะเร็งหรือไม่ค่ะ เพราะเป็นส่วนประกอบของน้ำยาอเนกประสงค์ ที่ใช้อยู่ค่ะ  กลัวเป็นอันตรายต่อเด็กค่ะ


โดย:  พิชญาภร  [25 ส.ค. 2553 12:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 46:56

สุดยอด

โดย:  fguuhuh9@gfkkji.com  [10 ก.ย. 2553 12:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 47:57

อย่างงี้ต้องรีบทำเเล้ว

โดย:  fdguuhgdihgfih@jghu9djfoj9.com  [10 ก.ย. 2553 12:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 48:58

อยากทราบบทนำที่เกี่ยวกับความตึงผิวอ่ะค่ะ ตอนนี้กำลังทำโครงงานเรื่องความตึงผิว แต่โครงงานมีปัญหาเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญ อีกทั้ง ยังมีปัญหาในเรื่องของ ที่มาของสูตรการหาค่าความตึงผิว และความตึงผิวมัความสำคัญยังไม่กับชีวิตประจำวัน

โดย:  เม  [23 ก.ย. 2553 20:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 49:59

อยากทราบว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร


โดย:  กิ๊ก  [29 ก.ย. 2553 15:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 50:60

อยากทราบว่ามันเกิดได้อย่างไร

โดย:  เเตงโม  [29 ก.ย. 2553 15:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 51:61

ethoxylate nonyl phenon มีผลต่อการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่งหรือไม่ เพราะ รพ.จะสั่งซื้อเข้ามาใช้ในระบบการซักฟอกซึ่งจะต้อปลอยน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด

โดย:  บังยุทธ  [7 ต.ค. 2553 13:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 52:62

ขอบคุณค่ะ

โดย:  udotingtong  [14 ต.ค. 2553 14:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 53:63

อยากทราบว่า “ Surfactant ” สารลดแรงตึงผิว มีผลทำให้ค่า pH สูงขึ้นรึป่าวค่ะ

โดย:  เด็กฝึกงาน  [28 พ.ย. 2553 13:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 54:64

จะขอติชมโดยรวมได้มั๊ยครับ(คงไม่ว่ากันนะ)...ผมว่าการให้ข้อมูลสารเคมีแต่ละชนิดยังน้อยมากๆเมื่อเทียบกับเว็บจากต่างประเทศอีกทั้งจำนวนชนิดของสารเคมีที่จะให้ความรู้และประโยชน์ก็มีไม่มากและไม่กว้างเป็นเพราะอะไรหรอครับขี้เกียจหรือคิดว่าคนไทยไม่ค่อยให้ความสนใจ...จุฬาฯ สถาบันอุดมศึกษาหลักของชาติทำได้แค่นี้หรอครับแล้วเมื่อไหร่ประเทศเราจะเจริญ

โดย:  aorn  [30 ม.ค. 2554 06:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 55:65

ไม่ทราบว่า เราจะทำ น้ำยาเพิ่มฟองอิฐมวลเบาควร ใช้สารเคมีตัวไหนบ้าง

โดย:  อยากรู้  [15 เม.ย. 2554 15:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 56:66

ไม่ทราบว่า มี MSDS ethoxylated nonyl phenol หรือเปล่าครับ  
อยากทราบมากครับ  

โดย:  nisit@tsp-t.com  [17 พ.ค. 2554 18:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 57:68

อยากทราบว่าสาร Alkyl sulfate (fatty alcohol sulfate) หาวื้อได้จากไหนบ้างคับ
รบกวนบอกหน่อย

โดย:  ต้องการ  [20 ก.ค. 2554 10:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 58:69

คือว่าสารช่วยประเภทซิลิโคนสามารถทำอะไรได้บ้างในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเป็นซิลิโคนประเภทไหน รบกวนด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดย:  อยากทราบ  [16 ก.ย. 2554 23:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 59:70

เอ่อ.......................สารพวกนี้หาซื้อได้ที่ไหนหรอครับ

โดย:  TNDT  [22 ม.ค. 2555 20:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 60:71

เนื้อหาดีม๊าก มาก

โดย:  หนูเองค่ะ สุนิศา คนสวย  [9 ก.พ. 2555 17:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 61:72

เนื้อหาดีมากๆหนูจะได้ดูแลตัวเองให้มากกว่านี้

โดย:  กนกพิชญ์. แหงมงาม  [17 ก.พ. 2555 13:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 62:73

หนูขอบคุณครูมากเลยนะคะ ที่ให้ความรู้กับพวกหนูแล้วหนูก็จะดูแลตัวเองให้มากกว่านี้  ขอบคุณคะ

โดย:  ขนิษฐา เพชระบูรณิน  [23 ก.พ. 2555 15:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 63:74

เนื้อหาที่อาจารย์ให้หนูมาศึกษานี้มีประโยชน์กับพวกหนูมาก  ขอบคุณอาจารย์ธงชัยที่ให้ความรู้กับพวกหนูมาตลอด  ขอบคุณค่ะ


โดย:  ดวงมณี ศรีชมภู  [25 ก.พ. 2555 14:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 64:75

เนื้อหาอาจารย์ดีมาก หนูขอขอบคุณอาจารย์ที่อาจารย์ให้ความรู้กับหนูได้ดีค่ะ

โดย:  นางสาวพรทิพย์ โตมา  [3 มี.ค. 2555 09:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 65:76

เนื้อหาอาจารย์ดีมาก หนูขอขอบคุณอาจารย์ที่อาจารย์ให้ความรู้พวกหนูค่ะ

โดย:  นางสาวนุจจรีย์ วงษ์แขก  [5 มี.ค. 2555 18:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 66:77

ขอบคุณมากเลยค่ะ เพื่อนกำลังทำ Science show พอดี ข้อมูลตรงประเด็นมากๆเลยค่ะ ^^

โดย:  ...  [10 ส.ค. 2555 19:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 67:78

เจ๋งครับพี่

โดย:  นร.ตะพานหิน  [27 ส.ค. 2555 12:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 68:80

สารลดตึงผิวที่ใช้การผลิตอิฐมวลเบาแบบclcคือสารแบบไหนครับและจะมีผลต่ออายุของอิฐหรือเปล่า(ผมหมายถึงคุณภาพ)

โดย:  ลูกชาวนา  [5 ต.ค. 2555 18:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 69:81

สารลดแรงดึงที่ใช้ในการทำอิฐมวลเบา clc เป็นแบบไหน ชื่ออะไร

โดย:  somkiat  [28 ต.ค. 2555 10:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 70:82

ผมต้องการทรายประเภทสารลดแรงตึงผิวบอง สารclc ที่ใช้ในหารผสมในอิฐมวลเบาครับ

โดย:  Udom  [25 ธ.ค. 2555 15:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 71:83

ผมต้องการทราบว่าการกำจัดหรือทำให้ลดลงในวัสดุสิ่งทอต้องทำอย่างไรครับ

โดย:  pinid7  [28 พ.ค. 2556 10:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 72:84

หาได้จากไหนหรอครับ.
ถ้าเป็นคำถามที่ไม่ควรถามก็ขอโทษด้วย.
แต่ช่วยตอบหน่อย

โดย:  nnaate  [5 ก.ค. 2556 17:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 73:91

 สารclc ที่ใช้ในการผสมอิฐมวลเบา
เป็ทสารลดแรงตึงผิวนประเภทไหนครับ และหาซื้ได้ที่ไหนครับ

โดย:  เอก  [28 ส.ค. 2556 08:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 74:97

อยากทราบว่า สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ ที่เป็นแบบไม่มีประจุ มีมั้ย ตัวไหนบ้างคะ

โดย:  เด็กวิศวะฯ  [17 ธ.ค. 2556 23:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 75:98

มีคนเอาไปผสมในยาฆ่าหญ้าแล้วบอกว่าไม่เป็นอันตราย
สามารถอมแล้วพ่นฆ่าหญ้าได้แบบนี้จะอันตรายไหมครับอาจารย์
ตามลิ้งค์อ่ะครับ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=443103.0

ไม่รู้ว่าจะทำให้กรดซึมเข้าไปในปากหรือเปล่า

โดย:  เอเชียงราย  [23 ก.ย. 2557 08:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 76:117

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้ประกอบการทำโครงงาน

โดย:  วรรณพร  [7 มิ.ย. 2560 09:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 77:118

อยากทราบพิกัดนำเข้าของกลุ่ม สารลดแรงตึงผิว ใช้พิกัดนำเข้าใดบ้างคะ

โดย:  รัชนีวรรณ  [25 มิ.ย. 2562 10:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 78:124

รอติดตามข่าวสารจากเพจค่ะ  >>>  https://www.168slotxo.net/download/


โดย:  busba phimpha  [22 พ.ย. 2562 16:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 79:126

ขอถามครับ

โดย:  พอลิเมอร์ประจะบวกจะไปผลักดันโลหะครอไรในนําได้ไหม๋ค  [18 ก.ค. 2564 22:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 80:131

ในประเทศไทยมีผู้ผลิตสารลดแรงตึงผิวกี่ราย มีบริษัทใดบ้าง

โดย:  Lek1010  [10 ต.ค. 2565 09:56]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น