สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

สารฆ่าแมลง

ผู้เขียน: อาจารย์โชติมา วิไลวัลย์
วันที่: 17 ส.ค. 2549

รูปแบบของยาฆ่าแมลงมีหลายรูปแบบ  ที่พบในประเทศไทยที่นิยมมี

1. Aerosol  เป็นการบรรจุของเหลวใส่ลงในกระป๋องอัดความดัน  ซึ่งจะมีปริมาณสารออกฤทธิ์ (สารเคมีที่กล่าวข้างต้น)เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  และจะถูกปล่อยออกมาในรูปของสเปรย์หรือหมอกควัน  รูปแบบนี้สะดวกในการใช้เพราะสามารถใช้ได้ทันทีและต่อการเก็บ  แต่ควรระมัดระวังถ้ากระป๋องมีรอยรั่วหรือถูกเผาจะระเบิดเป็นเศษโลหะชิ้นเล็กๆได้ 

2. Bait เป็นการผสมของสารออกฤทธิ์กับสิ่งที่แมลงกิน  ซึ่งเมื่อแมลงกินเข้าไปก็จะเกิดผลต่อร่างกายทันที  ดังนั้นควรจัดเก็บให้ปลอดภัยจากเด็ก  สัตว์เลี้ยง  หรือสัตว์ที่ไม่ใช้เป้าหมายที่จะกำจัด 

3. Chalk เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับผงแป้ง  ซึ่งจะเกิดผลต่อแมลงด้วยการสัมผัสกับสารออกฤทธิ์

4. ยาจุดกันยุง เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับขี้เลื่อย  เมื่อจุดยากันยุงจะเกิดความร้อน  แล้งส่งผลให้สารออกทธิ์กลายเป็นไอระเหยออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลง 

5. แผ่นกำจัดยุงไฟฟ้า  ใช้ความร้อนในการทำให้สารออกฤทธิ์ระเหยเป็นไอออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลงเช่นเดียวกับยาจุดกันยุง  ต่างกันตรงที่ใช้ไฟฟ้าเป็นการทำให้เกิดความร้อน


ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้เป็น

1. Organophosphates Insecticides

            ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นพิษโดยการสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนังตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทเนื่องจากมันสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและส่งผลอย่างรวดเร็วต่อระบบประสาททำให้มันทำหน้าที่ฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สารประเภทนี้ไม่ถูกสะสมในไขมันและจะสลายตัวได้ในสภาพที่เป็นด่างทำให้ไม่สะสมในเนื้อเยื่อของคน  และสารเคมีประเภทนี้จะสลายตัวภายใน 72 ชั่วโมงในสิ่งแวดล้อมปกติ  ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ที่พบตามท้องตลาดคือ chlopyrifos, dichlovos หรือ DDVP ซึ่งพบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ

            อันตรายของ dichlorvos มีค่า LD50  (หนู) 28-500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษร้ายแรง  การหายใจเข้าไปทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  เจ็บหน้าอก  ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน  กล่องเสียงอักเสบ  ชัก  หัวใจเต้นผิดปกติ  การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดความระคายเคือง  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้มีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  มีน้ำลายขับออกมามาก   ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน  กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน  มีเหงื่อขับออกมามาก  ท้องร่วง  การสัมผัสถูกตาทำให้รูม่านตาหดตัว  ปวดตา  เกิดการระคายเคือง  dichlorvos สามารถทำให้เกิดมะเร็งในคนได้  ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ  น้ำเสีย  หรือดิน
   

            อันตรายของ chlorpyrifos มีค่า LD50  (หนู) 82-270 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เป็นพิษมาก  เป็นอันตรายเมื่อกินหรือหายใจเข้าไป  อาจระคายเคืองผิวหนัง  ถ้าได้รับสารเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  ทำลายตับหรือไต  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา  น้ำตาไหล  ตาบวม  แดง  และมองภาพไม่ชัดเจน  chlorpyrifos มีผลยับยั้งการทำงานของ cholinesterase enzyme ซึ่งพบในเนื่อเยื่อประสาท  เซลเมดเลือดแดง  และพลาสมา  ถ้าได้รับสารมากเกินไปจะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงทำให้ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ม่านตาหดตัว  เห็นภาพไม่ชัดเจน  มีน้ำมูกหรือน้ำลาย  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ขั้นร้ายแรงทำให้หมดสติ  ชัก  หายใจลำบาก  อาจตายได้เนื่องจากระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว  เป็นพิษมากต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ

 

2. Carbamate Insecticides

            ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีไนโตรเจน  และซัลเฟอร์   เข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส  การกิน  และ การซึมผ่านผิวหนัง  ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase และกระตุ้นให้ระบบประสาทของแมลงทำงานมากเกินไป  สารเคมีประเภทนี้ไม่สะสมสิ่งแวดล้อมและหมดฤทธิ์ในสภาพที่เป็นด่างอย่างรวดเร็ว  สารเคมีที่ใช้ในตลาดคือ propoxur พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ,  สเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ   และ bendiocarb เป็นผงกำจัดแมลงสาบ

            ยาฆ่าแมลงที่มี bendiocarb ผสมอยู่มักอยู่ในรูปของฝุ่นผงหรือแป้งที่เปียกน้ำได้  อันตรายของ bendiocarb มีค่า LD50  (หนู) 46-156 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก bendiocarb มีความเป็นพิษสูงถ้ากินเข้าไปหรือดูดซึมผ่านผิวหนัง  อาการอ่อนเพลีย  เห็นภาพไม่ชัดเจน  ปวดศีรษะ  วิงเวียน  ปวดท้องเกร็ง  เจ็บหน้าอก  ม่านตาแข็ง  เหงื่อออก  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ชีพจรลดลง  ถ้าสัมผัสทางตา  ทำให้ระคายเคืองตา  เจ็บตา  เห็นภาพไม่ชัดเจน  น้ำตาไหล  กล้ามเนื้อตาชักกระตุก  รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง   ในกรณีรุนแรงอาจตายได้เนื่องจากหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ  กล้ามเนื้อระบบหายใจไม่ทำงาน 

            อันตรายของ propoxur มีค่า LD50  (หนู) 83-104 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้าหายใจเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เหงื่อออกมาก  การสัมผัสทางผิวหนังไม่เกิดการระคายเคืองแต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้  การกลืนกินเข้าไปทำให้เหงื่อออกมาก  น้ำลายขับออกมามาก  น้ำตาไหล  หายใจติดขัด  ปวดท้องเกร็ง  อาเจียน  ท้องร่วง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  การสัมผัสถูกตาทั้งที่เป็นไอและของเหลวทำให้เกิดการระคายเคือง  propoxur เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ที่กินปลา 

3. Botanicals and Pyrethroid Insecticides 

            สารเคมีในกลุ่มนี้นิยมใช้กำจัดแมลง  เช่นยาจุดกันยุงมีสารออกฤทธิ์คือ d-allethrin ซึ่งอาจใช้ในชื่ออื่น (pynamin forte หรือ esbiothrin) 

            Botanicals เรียกว่า pyrethrins เป็นสารประกอบของสารเคมีหลายชนิดที่ได้จากพืช  เป็นพิษโดยการสัมผัสหรือการกิน  ส่วนใหญ่ไม่คงอยู่ในสภาพแวดล้อม

            Synthetic pyrethroids คล้ายกับ pyrethrins ตามธรรมชาติแต่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มความคงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อม  ส่วนใหญ่เป็นพิษด้วยการสัมผัส  เนื่องจากเป็นพิษสูงควรใช้ในปริมาณน้อยๆ  นอกจากนี้ยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

            อันตรายของ deltamethrin มีค่า LD50  (หนู) 129-139 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดความระคายเคือง  ถ้าความเข้มข้นสูงจะไปทำลายเยื่อบุเมือก  ทางเดินหายใจส่วนบน  ทำให้กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ  เกิดอาการหายใจถี่รัว  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง  สามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย  การกลืนหรือกินเข้าไป  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง  ทำให้ตาแดง  เจ็บตา  น้ำตาไหล  deltamethrin ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง  แต่สามารถทำลายปอด  ทรวงอก  ระบบหายใจ  ไต  ท่อไต   กระเพาะปัสสาวะ  ทางเดินอาหาร  และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์  ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์หากมีการใช้และจัดเก็บผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

            อันตรายของ cypermethrin มีค่า LD50  (หนู) 247 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง  ต่อตา  และต่อผิวหนัง  อาการชาที่ผิวหนัง  คัน  ร้อนไหม้  ขาดความสามารถในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ  ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน  หมดสติ  และอาจถึงตายได้   ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้เกิดอาการปวดท้อง  ท้องร่วง  ถ้าได้รับสารเป็นเวลานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ  cypermethrin เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ

            อันตรายของ cyphenothrin มีค่า LD50  (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง  ความระคายเคืองต่อการสัมผัส  เกิดความรู้สึกผิดปกติบริเวณที่สัมผัส  รู้สึกแสบคัน  ซ่า  และชา  เกิดอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  วิงเวียน  อาเจียน  ท้องร่วง  น้ำลายฟูมปาก  หมดสติ  ในกรณีที่รุนแรงจะมีน้ำในปอด  และกล้ามเนื้อบิดตัว  เกิดอาการชัก  cyphenothrin เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 

            อันตรายของ alphacypermethrin มีค่า LD50  (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา  ผิวหนัง  ถ้าหายใจเข้าไป  ทำให้ปวดศีรษะ  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ตัวสั่น  มีน้ำลายมาก  เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  จะไม่สะสมในดินหรือน้ำ  และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว

            อันตรายของ fenvalerate มีค่า LD50  (หนู) 451 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคือง  เกิดอาการเวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ถ้าสัมผัสจะแดง  ไหม้  รู้สึกชา  ซ่า  และคัน  ถ้าสัมผัสตาจะเกิดอาการตาแดง  ปวดตา  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน

            อันตรายของ d-allethrin มีค่า LD50  (หนู) 425-860 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมากถึงปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและต่อผิวหนัง  การหายใจเอาไอของสารเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ  วิงเวียน  คลื่นไส้  การกลืนกินเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  วิงเวียน  อาเจียน  ท้องร่วง  มีน้ำลายมาก  เป็นลม  ในกรณีรุนแรงอาจเกิดน้ำเข้าปอด  กล้ามเนื้อบิดตัว  อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่ม่กระดูกสันหลังในน้ำ

            อันตรายของ cyfluthrin มีค่า LD50  (หนู) 500-800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาทำให้ตาแดง น้ำตาไหล  ที่ผิวหนังทำให้คันเป็นแผล  ผื่นแดง  รู้สึกซ่าบริเวณที่สัมผัสสาร  ถ้าหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อระบบหายใจและระบบประสาทส่วนกลาง  มีอาการสับสน  คลื่นเหียน  เวียนศีรษะ   การกลืนหรือกินเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร  ถ้าได้รับสารต่อเนื่องเป็นเวลานานมีอาการคลื่นเหียน  ปวดศีรษะ  ทานอาหารไม่ได้  อ่อนเพลีย  แพ้แอลกอฮอล์  เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ

            อันตรายของ bifenthrin มีค่า LD50  (หนู) 632 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาเล็กน้อย  ไม่มีผลต่อผิวหนังแต่มีพิษเล็กน้อยถ้าซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย  เป็นพิษต่ออวัยวะภายในถ้ากลืนกินเข้าไป  ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณของสารที่ถูกดูดซึม  ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน  แต่ไม่เป็นพิษกับอวัยวะภายใน  bifenthrin เป็นสารก่อมะเร็ง  และเป็นพิษอย่างมากต่อดินและต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

            อันตรายของ allethrin  ค่า LD50 (หนูตัวผู้) มีค่า 1,100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  LD50 (หนูตัวเมีย) มีค่า 685 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางตาและผิวหนัง  ที่ผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้ซึ่งเมื่อถูกสารในปริมาณน้อยก็อาจทำให้คันและเป็นผื่นแดงได้  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  และเป็นอันตรายเมื่อสูดดมอาจก่อให้เกิดการแพ้  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  ถ้าสูดดมเข้าไปมากจะทำให้คลื่นไส้  ตัวสั่น  หงุดหงิดง่าย  เป็นลม  หมดสติ  ในระยะยาวอาจทำลายตับและไต  allethrin เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  อาจก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ  allethrin พบว่าใช้เป็นสเปรย์กำจัดยุงในชื่อ Prallethrin ด้วย

            อันตรายของ imiprothrin มีค่า LD50 (หนู) 900-1,800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ถ้ากลืนกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้  ปวดท้องเกร็ง  อาเจียน  มีผลต่อระบบประสาท  เกิดอาการหน้ามืด  วิงเวียน  ปวดศีรษะ  กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน  และหมดสติ  สามารถซึมผ่านผิวหนังทำให้ไหม้หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณใบหน้า  ตา  หรือปาก  ถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน  ผิวหนังจะแดงและอักเสบได้  ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากจะเกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ  เกิดอาการเช่นเดียวกับเมื่อกลืนเข้าไป  ระคายเคืองต่อดวงตาชั่วคราว  ทำให้น้ำตาไหล  เห็นภาพไม่ชัดเจน 

            อันตรายของ permethrin มีค่า LD50 (หนู) 2,000-4,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  permethrin เป็นสารก่อมะเร็ง  ถ้าได้รับ permethrin แบบเรื้อรังอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์  คนได้รับ permethrin จะเกิดความผิดปกติในเซลเม็ดเลือดขาว

            อันตรายของ tetramethrin มีค่า LD50 (หนู) 4,640 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  คนที่ได้รับ tetramethrin ในระยะยาวจะมีความผิดปกติของ DNA

4. Insecticidal Bait Toxicants

            สารเคมีกลุ่มนี้ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่ผสมกับสิ่งที่กินแมลงสามารถกินได้  ดังนั้นจึงควรเก็บให้เป็นที่  ป้องกันไม่ให้เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์อื่นๆกินเข้าไปได้

            อันตรายของ hydramethynon มีค่า LD50  (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษน้อย  ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตา  อาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  hydramethynon ที่พบในท้องตลาดใช้กำจัดมดเท่านั้น  เนื่องจากมีความเป็นพิษน้อย 

5. Inorganic Insecticides

            สารประเภทนี้ไม่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ  มักเป็นผลึกคล้ายเกลือ  มีความคงตัวและละลายน้ำได้  เช่น boric acid  พบในสเปรย์กำจัดแมลงสาบ

            อันตรายของ boric acid มีค่า LD50 (หนู) 2,660 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  การหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของทางเดินหายใจ  อาจทำให้มีการดูดซึมของสารผ่านทางเยื่อเมือก  ทำให้เกิดอารคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  เซื่องซึม  เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง  ปวดศีรษะ  อุณหภูมิในร่างกายลดลง  ความดันต่ำ  ไตได้รับอันตราย  เกิดภาวะที่ผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากขาดออกซิเจน  หมดสติ  และตาย  การสัมผัสทางผิวหนังกิ่ให้เกิดการระคายเคือง  สารดูดซึมอย่างรวดเร็วทำลายผิวหนังหรือเป็นแผลไหม้  มีอาการเช่นเดียวกับการหายใจและกลืนกินเข้าไป  ในผู้ใหญ่ถ้ากินสารนี้เข้าไปมากกว่า 30 กรัมอาจทำให้ตายได้  การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง  ตาแดง  ปวดตา  การได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้น้ำหนักลด  อาเจียน  ท้องร่วง  เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง  ชักกระตุกอย่างรุนแรง และโรคโลหิตจาง  boric acid อาจทำลายตับ  ไต  ทางเดินอาหาร  เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์  และ boric acid เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

 

            นอกจากนี้ยังมีสารเคมีบางชนิดที่ไม่ได้ใช้ฆ่าแมลงโดยตรง  แต่ใช้ร่วมกับสารในกลุ่ม Botanicals and Pyrethroid Insecticides เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์  พบในยากำจัดยุงประเภทใช้ไฟฟ้า  และสารเคมีที่พบในกลุ่มนี้คือ piperonyl butoxide

            อันตรายของ piperonyl butoxide มีค่า LD50 (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษน้อย  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  หายใจ  หรือซึมผ่านผิวหนัง  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารตอนล่าง เช่นคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ถ้ากินเข้าไปมากจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  คลื่นไส้  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ตัวสั่น  หมดสติ  อาการจะมากขึ้นถ้าได้รับติดต่อกันนานๆ  piperonyl butoxide  เป็นอันตรายอย่างมากต่อปลา  มีการทดลองว่า piperonyl butoxide เป็นสารก่อมะเร็ง  และอาจมีผลต่อความผิดปกติของการสืบพันธุ์ 

 

ชนิด

ชื่อสารเคมี

ค่า LD50 ทางปาก (mg/kg)

ค่า LD50 ทางผิวหนัง (mg/kg)

Organophosphate Insecticides

dichlorvos,DDVP chlorpyrifos

28-500

82-270

75-107

2,000

Carbamate Insecticides

bendiocarb

propoxur

46-156

83-104

566-800

มากกว่า 1,000-มากกว่า 2,400

Botanicals and Pyrethroid Insecticides

deltamethrin

cypermethrin

cyphenothrin

alphacypermethrin

fenvalerate

d-trans-allethrin

cyfluthrin

bifenthrin

allethrin

imiprothrin

permethrin

tetramethrin

129-139

247

310-419

400

451

425-860

500-800

632

685-1,100

900-1,800

2,000-4,000

มากกว่า 4,640

มากกว่า 2,000

มากกว่า 2,000

 

 

มากกว่า 2,500

 

มากกว่า 5,000

มากกว่า 2,000

มากกว่า 2,500

มากกว่า 2,000

มากกว่า 4,000

  มากกว่า 15,000

Insecticidal Bait Toxicants

hydramethylnon

543

มากกว่า 5,000

Inorganic Insecticides

boric acid

2,660

 

 

ตารางแสดงชนิดของสารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงในประเทศไทย  และความเป็นอันตราย

 

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Allethrin
Clorpyrifos
Cyfluthrin
Cypermethrin
Deltamethrin
Dichlorvos
Ficam
Orthoboric acid
Propoxur
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

หากจะกล่าวถึงยาฆ่าแมลง คำว่า ยา จะไม่นำมาใช้แล้วเนื่องจากยานั้นจะใช้กับการรักษาโรค หากต้องใช้กำจัดแมลงนิยมใช้ว่า สารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ซึ่งจะรวมสารกลุ่มorganochlorineด้วย ถ้าจะใช้สำหรับในบ้านเรือนต้องระบุให้ชัดเจนด้วยเช่น สารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้ในบ้านเรือน  สารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้ในการเกษตร เป็นต้น

โดย:  nporn  [15 ก.ย. 2549 22:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

อยากทราบขั้นตอนการขออนุญาตยาฆ่าแมลง

โดย:  มุก  [10 ต.ค. 2549 13:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

ขั้นตอนคร่าว ๆ ของการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรมีดังนี้ค่ะ
1. ต้องตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่จะนำเข้ามีสารสำคัญ (active ingredients) อะไร เพื่อตรวจดูว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดใด ถ้าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และ 3 ต้องขอขึ้นทะเบียนที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรก่อน
2. เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว ถ้าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ต้องแจ้งดำเนินการนำเข้า แต่ถ้าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ต้องขออนุญาตนำเข้าก่อน
3. เมื่อนำเข้าจริงแล้วต้องแจ้งข้อเท็จจริงตามข้อกำหนด
ขั้นตอนละเอียดกรุณาติดต่อสำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ฝ่ายวัตถุมีพิษ โทรศัพท์ 0 2940 6670, 0 2940 6675, 0 2940 6680 ต่อ 117 หรือ 0 2940 7317 ค่ะ

โดย:  วลัยพร  [10 ต.ค. 2549 21:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

ทำปัญหาพิเศษเรื่องกระดาษป้องกันแมลงใครมีข้อมูลช่วยบอกหน่อย วิธีทดสอบสารสกัดที่ป้องกันแมลงได้ เพราะใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร ขอบคุณครับ


โดย:  พีรยุทธ  [25 ม.ค. 2550 10:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:7

มีใครพอทราบตารางการผสม สารฆ่าแมลง และสารป้องกันและกำจัดโรคพืช


โดย:  โอ 61  [14 มี.ค. 2550 09:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:9

อยาก ได้ วิธีการ ทำ ยาฆ่าแมลง ต่างๆ อ่าคะ    ช่าย มา โพส ให้ หน่อย นะคะ        พอดีจะ เอา มา ทำ รายงาน ส่ง อาจาร อ่า....ช่วยหน่อยนะคะ          ขอบคุง ค้า

โดย:  น้องเปา-เปา  [28 พ.ค. 2550 18:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:11

มีวิธีแบบสมุนไพรมาฝาก
ส่วนวิธีการทำสารสกัดจากพืชสูตรกำจัดแมลง มีส่วนผสมดังนี้ ใบสามโชก 3 กก. ตะไคร้หอม 3 กก. ใบสะเดา 3 กก.ขอบชะนาง 3 กก. และใบเสม็ดขาว 3 กก. นำทั้งหมดมาตำรวมกันพอแหลก ผสมน้ำ 20 ลิตรกากน้ำตาลครึ่งกิโลกรัม หมักไว้ 1-2 วัน แล้วนำไปฉีดพ่นด้วยอัตราที่ใช้ 30-40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีด 5 วันต่อครั้ง ในช่วงที่มีหนอนและแมลงศัตรูพืชระบาดผลผลิตที่ได้จากการบำรุงต้นหรือกำจัดศัตรูพืชด้วย http://ayutthaya.doae.go.th/latbualuang/bc2.htm
น้ำสบู่ สบู่ ๑ ก้อน ใช้มีดขูดเป็นเป็นฝอย ละลายในน้ำน้ำอุ่น ๑ ลิตรผสม น้ำ ๑๕-๒๐ เท่าฉีดพ่นกำจัดแมลงปีกแข็ง หนอนตัวเล็กเล็กเพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ถ้าผสมน้ำ ๑๐ เท่า ใช้ป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดได้ http://www.geocities.com/psplant/ento03


โดย:  admin  [6 มิ.ย. 2550 18:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:12

ผมอยากได้วิธีการบำบัดของเสียหรือสารพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตยาฆ่าแมลง  หรือวิธีการบำบัดของเสียหรือสารพิษของยาฆ่าแมลงก็ได้คับ  ใครมีข้อมูลหรือมี web ที่เกี่ยวของช่วยโพสต์ด้วยนะครับ

โดย:  นิก  [21 มิ.ย. 2550 10:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:13

ข้อมูลจาก worldbank ลองเข้าไปดูนะค่ะที่ http://www.ifc.org/ifcext/enviro.nsf/AttachmentsByTitle/gui_EHSGuidelines2007_Pesticides/$FILE/Final+-+Pesticides.pdf

โดย:  วลัยพร  [28 มิ.ย. 2550 14:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:20

อยากทราบว่ายาฆ่าแมลงชนิดใดที่มีผลต่อระบบประสาทบ้างอะค่ะ


โดย:  ฮาหมิว  [6 ส.ค. 2550 19:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:21

สารที่มักมีผลต่อระบบประสาทได้แก่ สารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีน เช่น endisulfan, aldrin, DDT, endrin, methoxychor เป็นต้น กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต มีผลต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งงานของระบบประสาท (รายละเอียดอ่านในเนื้อเรื่องข้างต้น) กลุ่มอื่น ๆ เช่นสารกำจัดรากลุ่ม methyl mercury

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [8 ส.ค. 2550 09:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:26

การใช้ยาฆ่าแมลงมีผลกระทบต่อผู้ใช้อย่างแน่นอนแต่ทำไมเราไม่หาวิธีการที่มันปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้บริโภคจะให้คนไทยตายผ่อนส่งไปวันละกี่ล้านคนจึงจะพบวิธีการใหม่ๆ  น่าจะมีการตรวจสารตกค้างของผักผลไม้ในท้องตลาดดูบ้างนะ...อย.

โดย:  คนตรัง  [17 ก.ย. 2550 01:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:27

การออกตรวจอย่างเดียวคงช่วยแก้ปัญหานี้ไม่ได้ทั้งหมด การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรมีเหตุปัจจัยหลายอย่าง ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคเองด้วยที่ชอบซื้อผักสวย ๆ ต้นอวบๆ พ่อค้าก็จะรับซื้อผักที่สวยๆ ด้วยราคาดีกว่า ถ้าปลูกออกมาแล้วต้นไม่สวยก็ขายไม่ดี รวมถึงการปลูกพืชแบบเดียวเยอะๆ เพื่อขายหรือที่เรียกว่าปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็ทำให้ต้องใช้สารเคมีด้วย เพราะสมดุลธรรมชาติเสีย เกิดโรคหรือแมลงระบาดง่าย การจะเปลี่ยนต้องทำทั้งระบบให้ครบวงจร ทั้งการผลิตและการตลาด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ เน๊อะ

โดย:  กินผัก(ปลอดสาร)กันเถอะ  [17 ก.ย. 2550 15:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:44

อยากทราบว่าการที่เราได้รับยาฆ่าแมลงนั้น เมื่อสารเข้าไปในร่างกายแล้ว  สารพวกนั้นจะทำปฎิกิริยาอะไร

โดย:  ปุ๊กกี้  [3 พ.ย. 2550 12:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:45

ขอเล่าการทำงานของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออแกโนฟอสเฟตแล้วกันนะ สารกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับสั่งการของระบบประสาท โดยปกติระบบประสาทจะส่งสัญญาณไปยังอวัยวะให้ทำงานตามคำสั่ง โดยที่จุดปลายประสาทจะมีตัวส่งสัญญาณกับตัวรับสัญญาณอยู่อีกฝากหนึ่ง ระบบปกติตัวส่งสัญญาณคือ อะซิติวโคลีน (acetylcholine, Ach) จะถูกส่งไปยังตัวรับสัญญาณ แล้วตัวรับสัญาณก็จะบอกต่อไปยังอวัยวะให้ทำงาน พอเวลาประสาทจะสั่งให้อวัยวะหยุดทำงานได้แล้วก็จะส่ง อะซิติวโคลินเอสเตอเรส (acetylcholineesterase, Ach esterase) ออกมาทำลายอะซิติวโคลีน ไม่ให้ไปถึงตัวรับสัญญาณ อวัยวะก็หยุดทำงานเพราะไม่ได้สัญญาณให้ทำแล้ว แต่ถ้ามีสารกลุ่มออแกโนฟอสเฟตเข้ามา สารกลุ่มนี้จะไปแย่งจับกับตัวอะซิติวโคลินเอสเตอเรส ทำให้อะซิติวโคลินเอสเตอเรส ไปจับตัวอะซิติวโคลีนไม่ได้ ทำให้อะซิติวโคลีน ไปถึงตัวรับสัญญาณ อวัยวะจึงทำงานต่อไปเรื่อย ๆ เพราะได้รับคำสั่งตลอดเวลา จึงเกิดอาการประเภทอวัยวะทำงานหนัก เช่น เหงื่ออกไม่หยุด  มือสั่น เป็นต้น ดูภาพประกอบที่ลิงก์ค่ะ http://depts.washington.edu/pehsu/pesticide/acute.html

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [7 พ.ย. 2550 16:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:46

อยากทราบว่า EC ทีเป็นส่วนประกอบของยาฆ่าแมลงคืออะไร คุณสมบัติของมันเป็นอย่างไรคะ เช่น สารนี้มีส่วนประกอบของคลอไพริฟอสอยู่ 40% w/v EC เป็นต้น

โดย:  fon  [10 พ.ย. 2550 14:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:47

EC ที่อยู่ในสูตรผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช หมายถึงสูตรหรือลักษณะการใช้โดย
EC ย่อมาจากคำว่า emulsifiable concentrate คำย่ออื่น ๆ ได้แก่
AS = Aqueous solution
DS (SD) = Dry seed treatment
EW = Oil in water emulsion
FS = Flowable concentrate for seed treatment
GR (G) = Granules
ES = Emulsifiable suspension
PA = Paste
SC (F,Fl) = suspension concentrate
SL (SCW, WSC, LC) = Soluble concentrate
SP = Water dispersible granules
WP = Wettable powder


โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [15 พ.ย. 2550 18:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:50

ขอบคุณค่ะ แต่อย่าว่าอะไรเลยนะคะ แล้ว emulsifiable concentrate มันมีส่วนประกอบของอะไรคะ มันจะมีพิษต่อแมลงหรือคนด้วยหรือเปล่าคะ หรือว่าจะมีส่วนในการยับยั้งเอ็นไซม์โคลีนเอสเทอเรสด้วย

โดย:  Fon  [18 พ.ย. 2550 21:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:61

อยากทราบวิธีการทำลายวัตถุมีพิษทางการเกษตร

โดย:  นายนภัทร  [14 ก.พ. 2551 10:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:62

อยากทราบวิธีทิ้งหรือกำจัดกระป๋องยาฆ่าแมลง เพราะต้องการเป็นข้อมูลเสนอเข้าทีมสวล.ของรพ. ตอนนี้ใช้วิธีฝังดินซึ่งคิดว่าไม่สมควรทำ

โดย:  นู๋เจี๊ยบ ขามสอ  [1 มี.ค. 2551 20:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:63

ลองดูข้อมูลจากลิงก์นะคะ http://ohioline.osu.edu/cd-fact/0116.html

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [5 มี.ค. 2551 10:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:64

ช่วยบอกวิธีกำจัดแมลงบินที่อยู่ในห้องน้ำ มันขึ้นมาจากรูระบายน้ำ ตัวดำมีปีกคล้ายยุงแต่ไม่กัด เยอะมากมันรำคาญ

โดย:  nok  [11 มี.ค. 2551 16:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:65

ยาฆ่าหญ้าในปัจจุบันกับยาฆ่าแมลงในปัจจุบันอันไหนอันตรายกว่ากันครับ ขอบคุณมากครับ

โดย:  um  [19 มี.ค. 2551 13:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:67

อยากทราบวิธีการกำจัดปลวก เนื่องจากกำลังปลูกสร้างบ้าน แต่ไม่อยากจะราดสารกำจัดปลวก จะมีวิธีการอื่นที่ดีกว่ามั๊ยค่ะ (ไม่ชอบสารเคมี กลัวพิษตกค้าง)

โดย:  lek  [10 เม.ย. 2551 14:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:68

ลอง search ไปเรื่อย เจอวิธีกำจัดปลวกแบบธรรมชาติ ลองเข้าไปศึกษาดูคะ ตามลิงก์ http://share.psu.ac.th/blog/pestmanagement/3707

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [26 เม.ย. 2551 13:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:69

อยากรู้ถ้าสัมผัสมากๆ จะเป็นโรคตับได้ไหม  ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าได้รับเกินขนาดแล้ว

โดย:  คนกลัว  [28 เม.ย. 2551 20:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:70

อยากทราบวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเจาะเลือดพบสารเคมีในเลือด

โดย:  kitty  [2 พ.ค. 2551 16:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:71

พบสารเคมีอะไรคะ
อย่างแรกคงต้องพยายามหลีกเลี่ยงการรับสารเคมีเพิ่มนะคะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [24 พ.ค. 2551 11:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:72

อยากทราบวิธีวิเคราะห์ยาฉีดยุงที่เป็นส่วนผสมระหว่าง Cyphenothrin กับ Permethrinว่าใช้ Column อะไร อุณหภูมิเท่าไหร่ในการวิเคราะห์ด้วย GC

โดย:  saran  [18 มิ.ย. 2551 19:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:74

อยากรู้วิธีป้องกันค่ะ

โดย:  เเอ้  [26 มิ.ย. 2551 14:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:75

อยากทราบว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชพวกไกลโพเสท และกรัมมอกโซน จัดอยู่ในจำพวกไหน สามารถตรวจหาปริมานสารตกค้างในร่างกายโดยใช้ซีรั่มหยดลงบนกระดาษทดสอบ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขตรวจในเกษตรกรได้หรือไม่ เพราะเห็นบอกว่าจะตรวจได้เฉพาะสารพวกออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตบางตัว แต่ที่บ้านมีการใช้พวกไกลโฟเสทเยอะมาก  และสารเคมีกำจัดเชื้อราพวกแมนโคเซบ คาร์เบนดาซิม เมตาแลกซิล แคบแทน ฟอสอีธิลอะลูมิเนียม มีอันตรายมากหรือไม่ได้ยินว่าไม่ค่อยอันตรายเหมือนสารเคมีกำจัดแมลง ขอบคุณครับ

โดย:  เสกสรร  [26 มิ.ย. 2551 23:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:77

หนูอยากรู้ว่ามีสารเคมีตัวไหนบ้างที่จะใช้ตวรจสอบสารพิษจากยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ได้บ้างและจะหาซื้อได้จากที่ไหน

โดย:  เด็กน้อย  [8 ก.ค. 2551 05:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 33:80

การตรวจหาสารตกค้างในผักผลไม้ ตอนนี้กรมวิชาการเกษตร ทำชุดทดสอบออกมาแล้ว มีชุดสำหรับทดสอบสารโมโนโครโตฟอส และชุดสำหรับใช้ตรวจสารไซเปอร์เมทริน เพอเมทริน และเดลต้าเมทริน  สอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-6123, 0-2940-5421


โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [11 ก.ค. 2551 19:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 34:81

ขอทราบการใช้สาร chlorpyrifos กับหนอนสนามหญ้าและด้วงปีกแข็งใช้อัตราส่วนเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมครับ

โดย:  nopparat  [18 ก.ค. 2551 10:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 35:86

อยากทราบว่าสารที่ใช้ทดสอบยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้  มีชื่อว่าอะไรและมีขายที่ใหนครับ

โดย:  ดาดา  [28 ก.ค. 2551 10:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 36:87

อันนี้น่าสนใจกว่านะ         เด็กป.6 ค้นพบสารกำจัดแมลงสาบสูตรตายรัง        

เด็กนักเรียนประถมโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ หัวใสคิดค้นสารกำจัดแมลงสาบ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายสูตรตายรังได้สำเร็จ สามารถกำจัดแมลงสาบได้ดีโดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

แมลงสาบ สัตว์ที่มีนิสัยทำลายข้าวของ ขับถ่ายสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่คนมากมายได้แก่โรคทางเดินอาหาร อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ ภูมิแพ้ และโรคหอบหืด

สารกำจัดแมลงสาบที่นักเรียนโรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ค้นพบและสามารถกำจัดแมลงสาบให้กลับไปตายที่รังได้สำเร็จ มีส่วนประกอบสำคัญคือ ปูนซีเมนต์ผง ผงแป้งข้าวจ้าว และผงโอวัลติน ซึ่งเมื่อนำผง 3 ชนิดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันมากที่สุดแล้วนำไปวางไว้ในที่ที่มีแมลงสาบซุกชุม พร้อมนำน้ำไปวางใกล้ๆ แมลงสาบจะมากินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำแล้วจะกลับไปตายที่รังของมัน ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดแมลงสาบที่ไม่มีพิษตกค้าง และเป็นอันตรายต่อมนุษย์เหมือนกับการกำจัดแมลงสาบโดยวิธีการใช้สารเคมีฉีดพ่น

เด็กหญิงเจนจิรา โพนยงค์ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์หนึ่งในผู้คิดค้นสารกำจัดแมลงสาบกล่าวว่า ส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงสาบที่นำผสมกันจะมีคุณสมบัติและทำหน้าที่แตกต่างกันไป คือ    
โอวัลตินจะเป็นสารที่ล่อให้แมลงสาบมากินสารกำจัดแมลงสาบ
แป้งข้าวจ้าวจะทำให้แมงสาบหิวน้ำเมื่อกินเข้าไป
ส่วนปูนซีเมนต์จะทำให้แมงสาบแน่นท้องและตายเมื่อกินสารกำจัดแมลงสาบและน้ำเข้าไป

ทุกคนทุกบ้านสามารถผลิตสารกำจัดแมลงสาบแบบง่ายๆ นี้และนำไปใช้ได้เองอย่างปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง ให้เป็นอันตรายกับชีวิต

ต้องขอชื่นชมเด็กไทย หัวใส มีสติปัญญาไม่แพ้ประเทศไหนในโลกใบนี้เหมือนกัน
ต้องช่วยกันเผยแพร่สิ่งดีๆ นี้ให้รู้กันทั่วไปนะคะ

โดย:  ying  [4 ส.ค. 2551 12:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 37:88

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ สารป้องกัน-กำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารชีวภาพอ่ะคับ
อยากได้เอาไปทำรายงาน ถ้าส่งเข้าเมลผมเลยได้ก่อดีน่ะคับ ขอบพระคุณลวงหน้าเลยล่ะกัน taey_handsome@hotmai.com น่ะคับ

โดย:  เด็กทำ EIA  [13 ส.ค. 2551 13:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 38:91

ขอให้ลองสืบค้นผ่าน search engine ด้วยคำว่า biopesticide เลือกเฉพาะหน้าเว็บของประเทศไทยก็พอค่ะ

โดย:  วลัยพร  [25 ส.ค. 2551 20:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 39:96

http://en.wikipedia.org/wiki/Pesticide        ( Pesticide )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Insecticide        ( Insecticide )

โดย:  นักเคมี  [30 ส.ค. 2551 09:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 40:98

อยากทราบว่าแมลงที่ได้รับสารฆ่าแมลงทำให้มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากยิ่งขึ้นใช่หรือไม่

โดย:  ฮามิ  [9 ก.ย. 2551 14:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 41:99

การใช้สารเคมีกำจัดแมลงมีผลอย่างไร ลองอ่านบทความเรื่อง "จะเกิดอะไรขึ้นถ้าการเกษตรยังมุ่งแต่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช" เขียนโดยคุณศักดา ศรีนิเวศน์ ตามลิงก์ค่ะ http://www.doae.go.th/report/sukda/if.html

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [13 ก.ย. 2551 22:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 42:100

ผมต้องการทราบวิธีฆ่าแมลงแบบชีวภาพเพื่อความปลอดภัยใยชีวิตและทรัพย์สิน

โดย:  คนเชียงใหม่  [15 ก.ย. 2551 10:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 43:101

http://www.organicthailand.com/product.detail.php?id=1147977        
( น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม  มีเอกสารอ้างอิงอีกมาก )        
http://journeytoforever.org/edu_homer.html        ( ภาษาอังกฤษ  มีเรื่องอื่นนอกจากตะไคร้ด้วย )        
http://altmedicine.about.com/od/aznaturalremedyindex/a/mosquito.htm        ( สารไล่ยุงจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ )        
อ่านทั้ง 3 เรื่องให้ละเอียด  มีคำตอบดีๆ แฝงอยู่มาก
http://pediatrics.about.com/od/summersafety/a/0707_insect_rep.htm        ( การเลือกผลิตภัณฑ์ไล่ยุง สำหรับใช้กับเด็กเล็ก )  แถมให้        
http://www.eartheasy.com/live_natpest_control.htm        ( การกำจัดแมลงรบกวน )

โดย:  นักเคมี  [17 ก.ย. 2551 10:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 44:103

ส่วนประกอบของชุดทดสอบยาฆ่าเเมลงของสาธารณสุขประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ตอบด้วยนะค่ะ ขอขอบคุณมาล่วงหน้า ณ โอกาสนี้

โดย:  ยิปโซ  [20 ต.ค. 2551 15:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 45:105

แล้วพวกสารเคมีพวกนี้ มีผลทำให้สุนัขเป็นประสาดรึปเปล่าครับ เช่น กัดบ่อยขึ้น ดุมากขึ้นอะไรอย่างเนี้ยอ่ะครับ

โดย:  เพิร์ท  [27 ต.ค. 2551 12:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 46:106

ผงกำจัดแมลงและสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเป็น BIO ไม่มีสารตกค้างได้ผล 100% เป็นในรูปแบบ FOOD GRADE เป็นผงFossil  Sheelflour ได้รับการรันรองจาก USA. เข้ามาดูรายละเอียดที่ www.perma-guard.com

โดย:  เรวดี  [10 พ.ย. 2551 13:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 47:119

ตอบ คห.74 การป้องกันสารพิษจากสารกำจัดแมลงที่ดีที่สุดคือ ไม่ใช้สารพิษในการกำจัดแมลง แต่ถ้าใช้สารพิษด้วย คนใช้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากที่ติดไปกับภาชนะบรรจุค่ะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [9 ม.ค. 2552 12:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 48:123

แนะนำ  เว็บไซต์  เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน     ที่  เนื้อหาสาระดี  รูปแบบสวยงาม  วิธีการนำเสนอน่าสนใจ  สื่อสารได้ดี  ฯลฯ        

http://oldweb.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/room01.html        

จัดทำโดย  คณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย:  นักเคมี  [25 ม.ค. 2552 07:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 49:126

คือว่าตอนนี้ได้รับมอบหมายให้หาข้อมูลในการตรวจวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงและสารพิษที่สัตว์เลี้ยง (สุนัข,แมว) กินเข้าไปว่าเป็นตัวไหน ปริมาณเท่าไรเพื่อจัดตั้งศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลสัตว์ มีที่ไหนให้ดูงานทางด้านนี้บ้างคะ ด่วนมากคะ ช่วยตอบกลับไปที่ e-mail จักเป็นพระคุณอย่างสูงคะ

โดย:  นภสร  [2 เม.ย. 2552 13:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 50:127

อยากทราบเรื่องการทดสอบยาฆ่าแมลงครับว่าเมื่อเราทำยาฆ่าแมลงขึ้นมาแล้วเราต้องทดสอบอะไรบ้างถึงจะผ่านตามมาตรฐานและที่ไหนรับทดสอบใครทราบกรุณาตอบด้วยนะครับ      

ขอบคุณครับ

โดย:  Chem PNRU 47  [7 พ.ค. 2552 10:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 51:129

จากข้อความที่ว่า "Organophosphates Insecticides สลายตัวภายใน 72 ชั่วโมงในสิ่งแวดล้อมปกติ และ Carbamate Insecticides สารเคมีประเภทนี้ไม่สะสมสิ่งแวดล้อมและหมดฤทธิ์ในสภาพที่เป็นด่างอย่างรวดเร็ว" แสดงว่าผักที่ทำแห้ง โดยการตากแดดประมาณ 5 วัน จะไม่มีสาร 2 กลุ่มนี้ใช่ไหมค่ะ

โดย:  nettynet  [30 มิ.ย. 2552 13:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 52:131

อยากรู้ว่า สารฆ่าแมลง เช่น chlorpyrifos dichlorvos  มีค่า HLB ของตัวมันเองเปล่า หรือ สามารถ หาได้ยังไง ช่วยบอกด้วยคราบบบบบ

โดย:  เรียนรู้  [15 ก.ค. 2552 19:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 53:132

วันวิทยาศาสตร์นี้หนูอยากทำกำงงานนี้มากช่วยบอกวิธีทำโครงงานนี้มาหน่อยค่ะหนูขอขอบคุณล่วงหน้าเลยนะค่ะ

โดย:  กี่ง(บึงบูรพ์)  [5 ส.ค. 2552 12:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 54:134

ขอทราบวิธีกำจัดแมลงในห้องน้ำ รู้สึกจะเรียกว่า แมลงหวี่ขน ขณะนี้เป็นปัญหามาก ขอบคุณค่ะ

โดย:  แมลงหวี่ขน  [6 ส.ค. 2552 12:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 55:140

ขอสูตรยาฆ่าเเมลงเยอะๆเลยครับ เอาไปทำงานขอ ม.1 งะครับ

โดย:  B.2  [7 พ.ย. 2552 08:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 56:141

ผมขอบอกว่ายาฆ่าเเมลงเอาแบบจากธรรมชาติจะดีกว่านะครับ เพราะยาที่เป็น      สารเคมี อาจจะมีสารตรค้างอยู่เป็นอันตรายต่อสัตร์เลี้ยงเเละผู้คนอื่นๆอีก
เเต่ว่าจากธรรมชาติก็เหมือนกัน ควรทำยาไร้เเมลงจะดีกว่า

โดย:  B.2 เด็กดรุณ ม.ต้น  [7 พ.ย. 2552 08:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 57:146

อยากทราบว่าปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการตรวจสอบสารพิษในผัก  ผลไม้มีอะไรบ้าง
 ขอบคุณค่ะ

โดย:  นภาวรรณ  [27 พ.ย. 2552 19:12]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 58:147

หากเกิดการแพ้สารเคมีจากยาฆ่าแมลงจะมียาตัวไหนค่ะที่ช่วยให้อาการแพ้หายขาดได้กรุณาตอบด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดย:  จุ๋ม  [30 พ.ย. 2552 17:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 59:148

อยากทราบว่าหมอกควันกำจัดยุงที่พ่นตามบ้านคือสารใดค่ะ อันตรายมั๊ย

โดย:  toonlue  [3 ธ.ค. 2552 21:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 60:155

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ไมเร็กซ์คะว่า คืออะไร
แล้วมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง

โดย:  nokyung  [7 ม.ค. 2553 00:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 61:159

ได้ประโยชน์ ความรู้ที่ดี ให้ตระหนักในโทษที่มองข้ามกัน และขอขอบคุณสำหรับสาระดีๆๆ ครับ

โดย:  หนุ่มสุพรรณฯ  [26 ม.ค. 2553 09:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 62:166

มีใครพอทราบตารางการผสม สารฆ่าแมลง และสารป้องกันและกำจัดโรคพืช
ข้อมูลสร้างสรรค์ให้เกษตรกรมีความรู้
สามารถลดต้นทุนได้ตอนนี้เกษตรพึ่งใครไม่ค่อยได้

โดย:  บ้านเกษตร  [3 ก.พ. 2553 19:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 63:171

อยากทราบข้อมูลเรื่องสารชีวภาพในชีวิตประจำวัน

โดย:  เด็กดี  [11 มี.ค. 2553 09:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 64:173

อยากทราบว่า การวิเคราะห์หาสารตกค้างโดย QuEChERS Method ในปัจจุบันมีที่ใด้ใช้เพื่อวิเคราะห์บ้าง   คือตอนนี้ทำการทดลองอย่ค่ะ แต่ผลที่ได้ไม่ค่อยน่าพอใจ ยากล่ม pyrethoid หายไปหลายตัว อย่าง cypermethrin อยากขอคำแนะนำ ทางเทคนิคหน่อยค่ะ   ทำไงถึงจะลดพีค impure ออกค่ะ
   รอคำตอบนะคะ

โดย:  น้องน้อย  [2 เม.ย. 2553 11:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 65:174

ในยาฆ่าแมลงจะระบุชื่อสารเคมี และความเข้มข้นของสารไว้ ส่วนตัวท้ายจะมีคำว่าEC  คืออะไรครับ

โดย:  วีระพงษ์  [5 เม.ย. 2553 15:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 66:175

ยากถามว่ามีสารเคมีตัวไหน หรือวิธีการอาไร ที่ช่วยในการกำจัดแมลงหวี่ในร้านอาหารเพราะส่วนมากมากับผลไม้ ไม่ไหวแล้วคับ บอกหน่อย

โดย:  นุ  [7 เม.ย. 2553 15:27]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 67:176

อยากได้โครงงานเรื่องสมุนไพรกำจัดมด  ใครใจดีส่งให้ด้วยนะ ไม่มีโครงงานส่งอาจารย์ ส่งมาที่Pen_love_kun@hotmail.com ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

โดย:  เมย์  [3 พ.ค. 2553 17:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 68:177

ขอบคุณทุก คห.เป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่อ่านไม่ช่เฉพาะเกษตรกร ขอบคุณครับ

โดย:  ลูกเกษตรกร  [10 พ.ค. 2553 23:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 69:178

ข้อดูภาพยาฆ่าแมลง

โดย:  แก้ม  [16 มิ.ย. 2553 15:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 70:179

ขอข้อมูลพร้อมภาพแบบรายละเอียดมากๆ


โดย:  baSarMy  [1 ก.ค. 2553 19:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 71:180

ขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าแมลงและชื่อยาสามัญด้วย

โดย:  baby-1  [3 ก.ค. 2553 13:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 72:181

ผมเป็นคนลาว ผมเห็นด้วยกับความเห็นที่ 1 และผมยากชาบวิทีทำ ยาฆ่าด้วงมัดใคร รู้บ้างช่วยบอกทีครับ ขอบคุณ

โดย:  ดอน  [14 ก.ค. 2553 12:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 73:183

พอดีกำลังทำโครงงานเกี่ยวกับ สมุนไพรกำจัดมด "หนอนตายอยาก"

โดย:  ต.  [28 ก.ค. 2553 12:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 74:184

ใครพอจะมีข้อมูล เกี่ยวกับ ส่วนแบ่งทางการตลาดของ สมุนไพรกับสารเคมีกำจัดมด บ้างครับ หากมีรบกวนส่งมาที่ chok_ji@hotmail.com ขอบคุณล่วงหน้าครับ

โดย:  ต.  [28 ก.ค. 2553 12:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 75:187

มันมีคำถามในข้อสอบอะค่ะว่า ยาฆ่าแมลง ส่วนมาก มีธาตุใดเป็นองค์ประกอบ

โดย:  เด็๋กอยากรู้  [13 ส.ค. 2553 15:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 76:188

อยากทราบว่าสารเคมีตัวไหนบางฆ่าตัวหนอกัดต้นข้าวได้


โดย:  มนตรี  [18 ส.ค. 2553 12:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 77:189

ถ้าเรานำสบู่ที่ทำเองมากำจัดแมลงสาบจะได้ไหมคะ

โดย:  an jo  [18 ส.ค. 2553 18:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 78:190

สารฆ่าแมลงถ้าแมลงได้รับสารแมลงจะต้านทานได้อย่างไร

โดย:  มินตรา  [19 ส.ค. 2553 00:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 79:191

ถ้าเรานำปูนซีเมนต์มาฆ่าแมลงสาบจะได้ไหมค่ะ

โดย:  กระต่าย  [29 ส.ค. 2553 12:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 80:192

อยากได้โครงงานอะไรก็ได้ที่สมบูรณ์ที่สุด ช่วยหน่อ

โดย:  กก  [31 ส.ค. 2553 18:43]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 81:193

อยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับยาฆ่าแลงความหมาย ผลดีผลเสียในการใช้ ประเภทของยาฆ่าแมลง และการใช้ยาฆ่าแมลง หนูหาแล้วไม่เจอ ถ้าใครหาได้ช่วยส่งเมล์มาหน่อยนะคะ

โดย:  น้องไก่  [14 ก.ย. 2553 16:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 82:194

ถ้าไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลงพืชผักที่ลงทุนปลูกไปก็เสียแล้วเกษตรกรจะทำอย่างไรเพรอะทุกวันนี้แมลงก็เยอะขึ้นทุกวัน       ชาวไร่ชาวนาจนลงทุกวันหนี้ยู่สินก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

โดย:  คนสุพรรณ  [24 ก.ย. 2553 11:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 83:195

ยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรใช้กัน มีเฉพาะกลุ่มออกาโนฟอตเฟสหรือเปล่าค่ะ

โดย:  ผู้อยากรู้  [29 ก.ย. 2553 13:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 84:196

สารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้กันอยู่หรือมีขายตามท้องตลาดมีหลายๆกลุ่ม นอกจากออแกโนฟอสเฟตแล้วยังมีกลุ่มออแกโนคลอรีน กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์  สารนีโอนิโคตินอยด์ (Neo-nicotinoid) เช่น อิมมิดาคลอปริด-imidacloprid (Confidor) และสารสกัดจากพืช เช่น สะเดา เป็นต้น

โดย:  สารเคมี  [1 ต.ค. 2553 13:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 85:197

อยากทราบว่าสารเดลทาเมทริน สามารถใช้ตอนข้าวออกได้หรือไม่ เอาแบบข้อมูลที่ทำมาแล้ว หรือทดลองมาแล้ว เนื่องจากอยากนำไปฉีดกำจัดแมลงช่วงที่ข้าวออกแล้ว แต่กลัวมีผลกระทบ แล้วที่เค้าบอกว่าใช้อัตราน้อย แล้วไม่มีผลต่อเมล็ด มันจิงหรือเปล่าคับ เอาแค่ช่วงที่ข้าวออกแล้ว ไม่รวมตอนตากเกสร เพราะว่าเค้าไม่ฉีดกัน  ถ้าสามารถให้ข้อมูลที่ทดลองไปแล้วได้ จะดีเป็นอย่างยิ่งเลยครับ ขอบคุณครับ

โดย:  กาย..  [15 ต.ค. 2553 20:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 86:201

ความร้...มากเลยค่ะ

โดย:  ฟ้า  [22 พ.ย. 2553 18:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 87:202

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับDDTและยาฆ่าแมลงและทำเป็นpowerpoint

โดย:  ทอม  [8 ธ.ค. 2553 19:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 88:204

อยากทราบวิธีกำจัดแมลงหวี่ขน ที่ชอบอยู่ในห้องน้ำ พอดีมันบินเข้าปาก แล้วกลืนลงไป อยากทราบว่าจะมีอันตรายหรือไม่ค่ะ

โดย:  คนคิดมาก  [26 ธ.ค. 2553 23:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 89:205

อยาทราบ วิธีกำจัดเพลี้ยจะทำอย่างไรดีคะ ช่วยบอกหน่อย

โดย:  มายด์ เด็กพรหมประสิทธิ์ ขี้กลัว  [5 ม.ค. 2554 10:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 90:206

อยากให้มีการเผยแผร่ข้อมูลสารฆ่าแมลงที่เป็นพิษต่อคนมากขึ้นและให้การใช้ปุ๋ยเคมี

โดย:  นาข้าว เชียงใหม่  [18 ม.ค. 2554 15:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 91:209

อยากทราบว่าสารฆ่า แมลงที่ห้ามใช้ในไทย มีอะไรบ้างครับจะได้ส่งตรวจถูก

โดย:  กิตติพงศ์  [15 มิ.ย. 2554 09:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 92:211

ยาฆ่าแมลงที่มีสารประกอบเช่นchlopyrifos40% w/v EC หมายความว่าอะไรครับ ยาฆ่าด้วงกรีดใบมะม่วงควรใช้ตัวยาอะไรครับยาที่มีกลิ่นระเหิดมีอะไรบ้างครับ

โดย:  สวนมะยงชิดดวงใจแพร่  [19 มิ.ย. 2554 13:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 93:212

อยากทราบว่าเราใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าวมันมีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือเปล่า แล้วสารเคมีพวกนี้มันซึมลงสู่พื้นดินมัย แล้วเป็นอันตรายต่อชีวิตยังไง เพื่อชาวบ้านที่บ้านเริ่มนำมาใช้ในการทำไร่ ทำนามากขึ้น  เนื่องจากมีการใช้ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง แล้วนำน้ำในบ่อมาดื่มทำให้ได้รับสารพิษร้ายแรงจนเสียชีวิต  ใครทราบข้อมูลบ้างช่วยส่งข้อมูลเข้ามาที่เมลด้วยคะ จักขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำ

โดย:  123  [6 ก.ค. 2554 10:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 94:213

อยากทราบว่าเราใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าวมันมีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือเปล่า แล้วสารเคมีพวกนี้มันซึมลงสู่พื้นดินมัย แล้วเป็นอันตรายต่อชีวิตยังไง เพราะชาวบ้านที่บ้านเริ่มนำมาใช้ในการทำไร่ ทำนามากขึ้น  เนื่องจากมีการใช้ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง แล้วนำน้ำในบ่อมาดื่มทำให้ได้รับสารพิษร้ายแรงจนเสียชีวิต  ใครทราบข้อมูลบ้างช่วยส่งข้อมูลเข้ามาที่เมลด้วยคะ จักขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำ patchanee-0909@hotmai.com

โดย:  ภัชนี  [6 ก.ค. 2554 10:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 95:217

มีสาระดีมากค่ะ


โดย:  ...  [17 ก.ย. 2554 11:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 96:218

อยากให้มีเนื้อหามากกว่านี้ค่ะชอบมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

โดย:  อ้อน  [17 ก.ย. 2554 11:28]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 97:219

อยากให้มีรูป ฉลาก

โดย:  คนสวยยยย  [8 พ.ย. 2554 16:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 98:220

ไม่มีรูปเลยเหรอค่ะ

โดย:  น้องแอว  [14 พ.ย. 2554 10:29]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 99:221

มีน้ำยาสมุนไพรกำจัดปลวกตัวใหม่มานำเสนอค่ะ  ปลวกตัวเล็กตายทันที ถ้าตัวใหญ่ตายไม่เกิน 20 วินาที ลองซื้อไปทดลองใช้ดูนะค่ะ ไม่แพงหรอกค่ะ  ขายลิตรละ 250 บาท กลิ่นหอมไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมค่ะ 0862621273

โดย:  คุณสุ  [27 พ.ย. 2554 00:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 100:224

ดีมาก

โดย:  joi  [28 ธ.ค. 2554 15:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 101:228

ยาฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์ต่อคนและสัตว์น่าจะมีกฏหมายควบคุมต่อการซื้ออย่างเข้มงวดเพราะมีคนใจบาป หยาบช้าซื้อมารอบฆ่าสุนัขที่เลี้ยงไว้หลายตัว  วัตถุมีพิษซื้อขายกันง่ายเกินไป  อยากให้ผู้รับผิดชอบด้านนี้หันมาสนใจหน่อย   เดือดร้อนจริงๆ  สุนัขแต่ละตัวกว่าจะเลี้ยงมาจนโตและฝึกหัดจนรู้จักภาษาคนใช้เงินและเวลาไม่น้อย  แต่คนฆ่ามันฆ่าแป๊บเดียว สงสารและเสียใจมากๆ

โดย:  คนเลี้ยงหมา  [17 พ.ค. 2555 23:46]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 102:230


ต้องการทำให้ALcohol 70  % หรือ 95%  เข้ากันได้ดีกับนำมันหอมระเหยตะไคร้จะใช้ Emusifier ชื่ออะไรค่ะ

โดย:  น้องโรห์  [5 ส.ค. 2555 11:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 103:231

เป็นความรู้ที่ดีมาก

โดย:  น้องคนสวย  [6 ส.ค. 2555 18:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 104:232

ลักษณะทั่วไปของยา มีไหม

โดย:  ชนินทร์  [11 ส.ค. 2555 12:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 105:233

อยากทราบการรักษาเบื้องต้น เกี่ยวกับการกินยาฆ่าแมลง  คือวันนั้น พ่อฉีดพ่นยาที่บ้านเผอิญวันนั้นแม่จะทำอาหารเลยไปเก็บผักบุ้งที่พ่อพ่นยาไว้ แล้วเอามาทำอาหาร คือ ต้มมาม่าค่ะ  แม่เก็บมาประมาณ1 กรำ ก่อนจะเอามาทานนั้นแม่เอาไปล้างแล้วเอาใบออกหมดเหลือแต่กานของผักบุ้งนะค่ะ  แล้วไม่รู้ว่าพ่อพ่นยาไว้  พ่อก็ไม่รู้ว่าแม่เอาผักบุ้งนั้นมาทาน เลยทานด้วยกัน    ไม่ทราบว่าจะรักษาอาการเบื้องต้นยังไงค่ะ   แต่แม่ก็ทานยาแก้หมอสี แก้ไปก่อนมันจะได้ไหมค่ะ  หนูกลัวมันจะไปกัดอวัยวะ ข้างในนะค่ะ  ช่วยบอกด้วย

โดย:  คนรักครอบครัว  [8 ก.ย. 2555 10:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 106:234

อยากทราบว่าการเจาะเลือดเพือตรวจหายาฆ่าแมลงในเลือดตรวจหายากลุ่มใด

โดย:  แจน  [14 พ.ย. 2555 11:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 107:235

แล้ว  wg หมายความว่าอย่างไรครับ

โดย:  2499  [30 ธ.ค. 2555 18:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 108:236

อยากทราบว่าสารกำจัดแมลงศัตรูพืช เจเนอเรชั่น 1,2,3 คืออะไร ใครพอทราบช่วยอธิบายหน่อยๆได้ครับ

โดย:  pex  [19 มิ.ย. 2556 21:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 109:238

อยากทราบว่า พืช ผัก ที่ฉีดยาฆ่าเเมลงเนี่ย ควรทิ้งไว้ก่อนเก้บเกี่ยวนานเท่าใดน่ะค่ะ ช่วยบอกหน่อยนะคะ ขอบุณล่วงหน้าค่ะ

โดย:  ปอ ปิยนุช ก้องพัฒนางกูร รักเพิ่ล6/3ทุกคนคร๊า  [6 ส.ค. 2556 19:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 110:239

อยากทราบว่า carvacrol จัดอยู่ในกลุ่มไหนคะ

โดย:  Samina  [15 ม.ค. 2557 15:18]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 111:241

อยากทราบว่า กฎหมายของประเทศไทยที่ควบคุมเกี่ยวสารเคมีในกลุ่ม Biocide (เหมือนในสหภายยุโรป EU) มีกฎหมายควบคุมโดยตรงไหมคะ หรืออยู่ในกลุ่มวัตถุอันตรายที่ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (พรบ วัตถุอันตราย)

โดย:  Siriluck  [1 ก.ค. 2557 14:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 112:242

อยากทราบว่าข้าวได้72วันแล้วนำสารกำจัดเพลี้ยไฟ ออนคอลไปฉีดพ่นจะเป็นอะไรไหมค่ะ

โดย:  นุ้ย  [28 ส.ค. 2557 17:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 113:243

ผมอยากทราบว่าถ้าหากเราเติม​ Alcohol​ ลงในสารกำจัดวัชพืชที่มีเนื้อสารเป็นเนื้อครีม​ จะทำให้ตัวสารมีประสิทธิภาพหรือความพิษรุนเเรงขึ้นหรือไม่ครับ

โดย:  Jukrith  [26 มิ.ย. 2562 12:21]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น