สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย

รู้ทันผลิตภัณฑ์นาโน

ผู้เขียน: ดร. สุพิณ แสงสุข
หน่วยงาน: สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่: 18 ต.ค. 2553

            การเข้ามามีบทบาทอย่างมากของนาโนเทคโนโลยีต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทำให้เราคงปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะไม่ใช้ผลิตภัณฑ์นาโนเลย เนื่องจากหลายผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนอยู่  ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชื่อนาโนในสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้ชื่อนาโนในสินค้า ในฐานะของผู้บริโภคเราจะมีโอกาสหรือไม่ที่จะเลือกใช้หรือเลือกที่จะไม่ใช้ผลิตภัณฑ์นาโน ในบางกรณีอาจหลีกเลี่ยงได้แต่ในบางกรณีอาจหลีกเลี่ยงได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์นาโนมีอยู่ในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้วยกัน อาทิ

            กลุ่มที่ 1 นาโนในคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์

            กลุ่มที่ 2 นาโนในการก่อสร้าง

            กลุ่มที่ 3 นาโนในเครื่องสำอาง

            กลุ่มที่ 4 นาโนในด้านพลังงาน

            กลุ่มที่ 5 นาโนในด้านสิ่งแวดล้อม

            กลุ่มที่ 6 นาโนในอาหาร

            กลุ่มที่ 7 นาโนในด้านการแพทย์

            กลุ่มที่ 8 นาโนในบรรจุภัณฑ์

            กลุ่มที่ 9 นาโนในสีและสารเคลือบผิว

            กลุ่มที่ 10 นาโนในการกีฬาและนันทนาการ

            กลุ่มที่ 11 นาโนในสิ่งทอและเสื้อผ้า

            กลุ่มที่ 12 นาโนในด้านการขนส่ง

            จากการจัดกลุ่มดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่อนุภาคนาโนมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยตรงผ่านทางผิวหนังหรือการรับประทาน เช่น นาโนในเครื่องสำอาง นาโนในอาหาร หรือนาโนในบรรจุภัณฑ์ สำหรับนาโนในเครื่องสำอางนั้น อนุภาคนาโนมีโอกาสซึมผ่านผิวหนังได้ในกรณีที่ผิวหนังของผู้ใช้มีบาดแผล อย่างไรก็ตามถ้าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์นาโนในเครื่องสำอาง อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการดูองค์ประกอบของเครื่องสำอางที่แสดงไว้ในฉลากว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีอนุภาคนาโนเป็นองค์ประกอบหรือไม่ ในบางกรณีผู้ผลิตมิได้ระบุองค์ประกอบไว้ในฉลาก ผู้ใช้จำเป็นต้องสังเกตเองเป็นแต่ละกรณี ตัวอย่างเช่นโลชั่นหรือครีมกันแดดที่มีค่าการป้องกันรังสียูวีสูงหรือค่า SPF สูง เมื่อทาผิวแล้วไม่ทิ้งร่องรอยของความขาวไว้บนผิวเลย ให้ทราบได้ว่าโลชั่นหรือครีมกันแดดนั้นมีอนุภาคนาโนของไทเทเนียมไดออกไซด์หรือซิงก์ออกไซด์เป็นองค์ประกอบ เนื่องจากอนุภาคนาโนของสารดังกล่าวมีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร จึงส่งผ่านแสงได้ทำให้ครีมกันแดดที่มีอนุภาคนาโนไม่ทำให้ผิวที่ทาด้วยครีมกันแดดดังกล่าวมีลักษณะขาวเหมือนพอก

            สำหรับนาโนในอาหารมักเป็นลักษณะของการสร้างรูปลักษณ์ของอาหารและเพิ่มสารอาหาร ไม่มีวัสดุนาโนเป็นองค์ประกอบในอาหาร อย่างไรก็ตามหากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหารเป็นวัสดุที่มีอนุภาคนาโนเป็นองค์ประกอบ การปนเปื้อนอนุภาคนาโนในอาหารก็อาจเกิดขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง :

Nano and me : Nanotechnology in our lives, 2010. Nano products (online) Avialable from : www.nanoandme.org/nanoproducts/ [Accessed 28 July 2010]. 

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอบคุณค่ะ^^

โดย:  TaK  [17 ก.พ. 2554 01:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:9

ขอบคุณครับซึ่งในปัจจุบันนี้คำว่านาโนมีใช้เกลื่อนมากเลยครับไม่รู้ว่านาโนของจริงหรือของปลอมอย่างไรซึ่งบางอย่างก็ไม่ต้องเล็กระดับนาโนก็ได้ครับแต่ก็ใช้คำว่านาโนเพราะเป็นชื่อที่ขายได้ไปแล้วครับส่วนเรื่องความปลอดภัยผมตามไม่ทันจริงๆครับอย่างนาโนซิ้งออกไซด์เป็นต้นเอามาฉีดฆ่าเชื้อราแบททีเรียดีมากลาดกระบังบอกว่าปลอดภัยกว่าคอปเปอร์จริงเท็จแค่ไหนจะรู้ได้อย่างไงครับ

โดย:  kk  [8 ม.ค. 2557 08:16]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น