สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

นับวันจะเกิดขึ้นบ่อยๆ วางยาพิษภัยใกล้ตัวคนไทย

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันที่: 25 ก.พ. 2551

            สมัยก่อนถ้าคนไทยจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับยาพิษ ก็จะอาทิน้อยใจแฟนซดยาพิษ อกหักรักคุดซดยาพิษ เครียดเพราะป่วยด้วยโรคร้ายซดยาพิษ ฯลฯ อะไรประมาณนี้ แต่มาสมัยนี้ไม่เท่านี้อีกแล้ว ชักจะเริ่มบ่อยแล้วที่ได้ยินข่าว วางยาพิษ หวังทำร้าย หวังฆ่าผู้อื่น เช่น วางยาพิษฆ่าหลาน 2 คน หวังเอาเงินทำศพ ก่อนหน้ามีข่าว วางยาพิษในขวดเครื่องดื่มชูกำลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าว วางยาพิษใช้เข็มฉีดใส่นมกล่อง ล่าสุดก็เพิ่งเป็นข่าวดังอีก คือ วางยาพิษโรยหน้าเค้ก
 
            โฟกัสดูเรื่องนี้กันชัด ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณี กินยาพิษเอง ไม่ว่าจะกรณี ถูกวางยาพิษ และไม่ว่าจะเสียชีวิตหรือไม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้ว ยาพิษ ที่ถูกนำมาใช้มักจะเป็นกลุ่ม ยาฆ่าแมลงที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป อย่างรายที่ถูกวางยาพิษในนมกล่องเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งภรรยาของชายผู้ถูกคนร้ายมุ่งวางยาฆ่าต้องรับเคราะห์แทนและเสียชีวิตนั้น ยาพิษที่ถูกคนร้ายนำมาใช้ก็คือสารเคมีกำจัดแมลง ชื่อ แลนเนท (Lannate) 
 
            ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดย ไวโรฒ วณิชวงศา อธิบายถึงเจ้าแลนเนทไว้ สรุปได้ว่าแลนเนทเป็นชื่อทางการค้าของเม็ทโธมิล (Methomyl) ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดแมลงชนิดหนึ่งในกลุ่มคาร์บาเมต ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้หลายชนิด
 
            ลักษณะทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ของแลนเนท จะเป็นผลึกของแข็งสีขาว มีกลิ่นกำมะถันเจือจาง มีความเสถียรในสภาพที่เป็นของแข็งมากกว่าสภาพที่เป็นด่าง และสามารถสลายตัวได้ดีในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง หรือในสภาพที่เป็นด่าง รวมถึงสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในดิน ซึ่งเพราะแลนเนทมีสีขาวคล้ายเกล็ดของน้ำตาล ดังนั้น ปัจจุบันผู้ผลิตจึงต้องผสมสีเข้าไป เช่น สีน้ำเงิน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในการนำไปใช้งาน คุณสมบัติหนึ่งของแลนเนทก็คือ มีกลิ่นน้อยมาก อีกทั้งยัง ละลายน้ำได้ ซึ่ง 2 จุดนี้ถือว่าต้องระวัง 
 
            แลนเนทเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะก่อเกิดกระบวนการเมตาบอลิซึม ซึ่งบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว แต่บางส่วนที่หลงเหลือตกค้างอยู่ในร่างกายและตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ จะ ก่อให้เกิดพิษโดยมันจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ Cholinesterase และส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาการเริ่มแรกจะอ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ม่านตาหรี่ และกล้ามเนื้อชักกระตุก จากนั้นอาจเกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง เกิดอาการชัก และหมดสติ
 
            เนื่องจากสารเคมีกำจัดแมลงชนิดนี้เป็นยาที่หาซื้อได้ง่าย จึงสะดวกต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ง่ายกว่าสารเคมีกำจัดแมลงชนิดอื่น ๆ ทางผู้เชี่ยวชาญระบุ นี่แหละทำให้ แลนเนท เป็น ยาพิษฆ่าคนได้ 
 
            ต่อไปลองมาดูกรณียาพิษในเค้กที่เพิ่งเกิดล่าสุดที่โรงเรียนพาณิชย การแห่งหนึ่ง จนต้องมีการหามนักเรียน 25 คน ชาย 12 คน หญิง 13 คน ส่งโรงพยาบาลกันจ้าละหวั่น จากอาการอาหารเป็นพิษ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และปวดท้องรุนแรง ซึ่งโชคยังดีที่ไม่มีการเสียชีวิตหมู่ ทั้งนี้ กรณีที่เกิดขึ้นนี้เบื้องต้นมีรายงานข่าวว่าพบสารคอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate) ปะปนอยู่ในเค้ก   
 
            จากข้อมูลของฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี (
www.chemtrack.org) สนับสนุนโดย สกว. ระบุไว้ว่าคอปเปอร์ซัลเฟตนี่ก็เป็นสารยาฆ่าแมลง อยู่ในกลุ่มยาฆ่าแมลงจำพวกสารอนินทรีย์ inorganic insecticide กลุ่มเดียวกับ สารหนู, กำมะถันผง ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงที่มีใช้กันในเมืองไทยมานานแล้ว นิยมใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงประเภทปากกัดกิน เช่น แมลงสาบ ปลวก ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกินพืชบางชนิด 
 
            สารนี้สลายตัวได้ยากและมีพิษต่อพืชสูง ที่สำคัญก็คือมีพิษต่อสัตว์และคนมาก
 
            คอปเปอร์ซัลเฟตเป็นสารประกอบของทองแดงที่ใช้กันมานาน ชาวอียิปต์โบราณใช้เกี่ยวกับสีย้อม สมัยกรีกโบราณใช้เป็นยาโรคปอด ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ใช้ชุบเมล็ดข้าวสาลีป้องกันเชื้อรา และใช้รักษาเนื้อไม้ สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตผสมปูนขาวกับน้ำป้องกันโรคราน้ำค้างในไร่องุ่นได้ ป้องกันแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ ยังมีการใช้ในอุตสาห กรรมชุบ ใช้ป้องกันตะไคร่และสาหร่ายในแหล่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำ 
 
            แต่ประเด็นคือมันก็มีความเป็นยาพิษด้วย การใช้ต้องระวังซึ่งที่พบเป็นปัญหาได้บ่อยคือกระเด็นเข้าตา ทำให้แสบตาอย่างรุนแรง, ถูกผิวหนัง ทำให้ปวดแสบปวดร้อน เป็นตุ่มพอง เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ การใช้ต้องระวังอย่าให้ถูกผิวหนัง อย่าหายใจเอาฝุ่นที่ฟุ้งกระจายเข้าไป และที่สำคัญคือหากกลืนกินคอปเปอร์ซัลเฟตเข้าไปจะทำให้ปวดท้องรุนแรง มีเหงื่อมาก และอาจช็อกได้ ซึ่งโอกาสถึงขั้นเสียชีวิตใช่ว่าจะไม่มี 
 
            โดยสรุปยาฆ่าแมลงอาจจะเป็นภัยสามัญประจำบ้าน หากใช้โดยไม่ระมัดระวังอาจจะนำภัยมาสู่ตัวและคนใกล้ชิดได้ และหากใช้ผิดประเภทมันสามารถจะเป็นยาพิษร้ายเหมือนที่ในเมืองไทยยุคปัจจุบันมีข่าวอยู่ประจำ


ที่มาของข้อมูล : คอลัมน์สกู๊ปข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Arsenic
Copper(II) sulfate
Methomyl
Sulfur
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ผมล่ะกลัวคับ ใครมันบังอาจมาวางยาคนอื่น

โดย:  ต้อม  [2 ต.ค. 2553 09:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ผมคิดจะหามกินนานแล้วล่ะ 7-8 ปีที่แล้วยังหามากินเองเลย
แต่คิดอีกที จะกินทำไม หากไม่ตายเดือดร้อนคนอื่นอีก นั้นแหละเป็นจุดเปลี่ยนความคิด

โดย:  .  [21 เม.ย. 2559 21:58]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

แต่ต่อไปไม่แน่ ทนความเจ็บป่วยมาหลายปี หากมีโอกาศอีกจะไม่ทนอีกต่อไป :-)

โดย:  .  [21 เม.ย. 2559 22:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

แม่กับพี่ชายโดนแลนเนทค่ะแม่อายุเยอะอาการหนักมากเข้าห้องไอชียูมีคนแอบเอายาใส่ขวดสปอนเชอร์ไห้กินโดยไม่รู้ตัวแม่ทั้งฉี่ทั้งอวกปวดท้องแรงไม่มีส่งสารแม่มากค่ะ

โดย:  อุไร ตรีสอน  [20 พ.ย. 2561 09:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

ตอนนี้ผมกำลังกินเข้าไปทีละนิดละนิดโดยเอามือจ่มใส่เเล้วเหล้าอาการตอนนี้มันบอกไม่ถูกแต่เริ่มมีวูบวาบแต่ยะงไม่มีอาการอื่นรอตอนค่อไปครับ

โดย:  รถรับเด็ก  [4 ม.ค. 2564 19:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

ห้องนอนติดรั้วเพื่อนบ้านๆ
จะพ่นยาแลนเนทวันเสาร์ชึ่งเราจะ
กลับมานอนบ้านเส่าร์ อาทิตย
เป็นปีแล้วอันตรายมากน้อยยังไง
ใครรู้ช้วยบอกหน่อย ตอนน

โดย:  บัว  [4 เม.ย. 2566 15:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

กินทีละช้อนโต๊ะบ่อยๆมีอาการไหม

โดย:  กินทีละช้อนโต๊ะบ่อยๆมีอาการไหม  [12 พ.ค. 2566 07:36]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น