สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สารกูลตาไธโอนยังไม่ขึ้นทะเบียน พบวางขายจำคุก 3 ปี

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
วันที่: 27 พ.ย. 2550

            นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงกรณีที่มีการฉีดสารกลูตาไธโอนเพื่อทำให้ผิวขาว ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมฉีด ทั้งกลุ่มดารา และวัยรุ่น ในขณะนี้ว่า สารกลูตาไธโอนตามหลักวิชาการเป็นกรดอะมิโนเอซิดประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยสาร 3 ชนิด คือ ไซเตอีน ไตซีน และกูลตามิก ซึ่งมีหน้าที่หลักในการช่วยขจัดสารพิษ ทำหน้าที่ในตับเพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยเฉพาะสารโลหะหนักจำพวการฆ่าแมลงที่ไม่สามารถละลายในน้ำ แต่ละลายในน้ำมัน เป็นการช่วยล้างพิษ นอกจากนี้ยังเป็นสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระทำงานร่วมกับวิตามินซี ช่วยซ่อมแซมดีเอนเอในร่างกาย และยังป้องกันดีเอ็นเอที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง

            นอกจากนี้ สารดังกล่าวยังช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกายรวมกับสารไวตามีนและกรดอะมิโนอื่นๆ ที่ยับยั้งการทำงานไทโรซิเนส ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสี หรือทำให้เม็ดสีสร้างสีน้อยลง ทำให้ผิวขาวเพียงชั่วคราว ที่ถือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้สารนี้ ดังนั้นจึงมีผู้นำผลข้างเคียงดังกล่าวมาใช้

            นพ. ศิริวัฒน์ กล่าวว่า สารกลูตาไธโอน ขณะนี้ทาง อย. ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนหรืออนุญาตให้นำเข้า ซึ่งกรณีที่เป็นข่าวโดยให้มีการฉีดสารดังกล่าวเข้าเส้นโดยตรงนั้น น่าจะเป็นการหิ้วและนำเข้าสารดังกล่าวเองจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามจากการสอบถามไปยังบริษัทที่จำหน่ายโดยตรงในประเทศอิตาลี ทราบว่าเป็นสารที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร โดยนำไปผสมกับสารตัวอื่นๆ ก่อน ซึ่งต้องใช้โดยแพทย์เท่านั้น เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งมี 2 วิธี คือการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และการฉีดเข้าเส้นเพื่อรักษา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อฉีดให้ผิวขาวที่เป็นแค่ผลข้างเคียงเท่านั้น

            การนำสารกลูตาไธโอนมาฉีดเพื่อให้ผิวขาว ไม่ว่าจะฉีดโดยคลินิกหรือร้านเสริมความงาม ถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อีกทั้งยังถือเป็นความผิดทางกฎหมาย เนื่องจากทางอย. ไม่เคยขึ้นทะเบียนสารดังกล่าวในประเทศไทย และไม่ได้อนุญาตให้มีการนำเข้า ซึ่งหากพบจะถือว่ามีความผิดตามพรบ. ยา และมีความผิดฐานโฆษณาเกินจริง มีโทษปรับถึง 100,000 บาท นอกจากนี้ยังเป็นการขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เลขาธิการ อย. กล่าว และสำหรับสารดังกล่าวหากเป็นชนิดรับประทาน กำหนดให้ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายให้กับผู้ป่วย แต่จากการสำรวจตามเว็บไชต์ที่มีการขายสารชนิดนี้โดยมุ่งให้ผิวขาวนั้น มีแนะนำให้รับประทานถึง 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถือว่าเป็นปริมาณที่สูงกินไป ซึ่งผู้จำหน่ายมุ่งแต่ด้านการตลาดเพียงอย่างเดียว

            สำหรับผลข้างเคียงจากการใช้สารกลูตาไธโอนนี้นั้น ผู้ที่ได้รับสารนี้อาจเกิดการแพ้ยา และรับในจำนวนที่มากเกินไป ก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่จะเกิดผลข้างเคียงอย่างไรนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัน เพราะยังไม่เคยมีกรณีศึกษาที่นำสารนี้มาฉีดเข้าร่างกายเพื่อให้ผิวขาว ดังนั้นหากใครทราบเบาะแสว่ามีคลินิกใดที่เปิดรับฉีดสารดังกล่าว ขอให้แจ้งมายัง อย. ซึ่งจะประสานกับทางกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อออกไปจับกุ่ม ส่วนกรณีการจำหน่ายตามอินเตอร์เน็ตนั้น จะประสานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อดำเนินการต่อไป สำหรับในส่วนของแพทย์ที่เป็นผู้ฉีดสารนั้น ถือว่าปฏิบัติทางการแพทย์ไม่ถูกต้อง ซึ่งทางแพทยสภาจะเป็นผู้ดำเนินการทางวิชาชีพต่อไป

            นพ. ศิริวัฒน์ กล่าวต่อไปอีกว่า ขณะนี้คนไทยเริ่มมีค่านิยมที่ผิด ซึ่งสีผิวของคนเอเชียรวมถึงสีผมนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เนื่องจากประเทศในแถบเอเชีย แอฟริกา เป็นพื้นที่มีแสงแดดแรง สีผิวคล้ำจากเม็ดสีผิวจะช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดได้ ทั้งยังช่วยป้องกันจากมะเร็งผิวหนังที่ถูกแสงแดด รวมทั้งจอประสาทตาที่มีสีเข้มเพื่อช่วยกรองแสงไม่ให้เป็นอันตราย ทั้งนั้นแม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผิวและสีผมได้ แต่ก็เปลี่ยนได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน  2550
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

http://www.prozactruth.com/gluta.htm        http://en.wikipedia.org/wiki/Glutathione
http://pha.narak.com/topic.php?No=01499        ( ภาษาไทย )        
http://www.ladyissue.com/index.php?mo=3&art=83067        ( ภาษาไทย )    ควรอ่าน ส่วนที่เป็นบทความ ของ  นพ. สมนึก อมรสิริพาณิชย์  ก่อน  เพราะเป็นความเห็นเชิงวิชาการจริงๆ  ไม่มีโฆษณาแฝง        


โดย:  นักเคมี  [23 ส.ค. 2551 20:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

L-Glutamate    ;    L-Cysteine    ;    Glycine        
Glutathione        
Reduced Form  Glutathione    ( GSH )        
Oxidised Form  Glutathione    ( GSSG )

โดย:  นักเคมี  [23 ส.ค. 2551 21:03]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น