สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

REDD อีกแนวคิดประเทศอุตฯ โบ้ยภาระลดโลกร้อนให้ชาติยากจน

ผู้เขียน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 16 พ.ย. 2551

            หนึ่งในมาตรการ กลไกพัฒนาที่สะอาด หรือที่เรียกย่อๆ ว่า CDM (Clean Development Mechanism) ที่เวทีประชุมพิธีสารเกียวโต  ซึ่งเป็นเวทีทำข้อตกลงให้ประเทศสมาชิกประชาคม โลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดภาวะโลกร้อนคิดค้นขึ้น นอกเหนือจากมาตรการอื่นๆ เช่น  การใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดทดแทน นั้นก็คือการปลูกป่า แต่ที่ผ่านมามาตรการดังกล่าวประสบปัญหาไม่ได้รับการยอมรับ ประเด็นหลัก คือ  การกระทบต่อการดำรงชีวิตมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยพึ่งพิงป่า และดูเหมือนจะมีเพียงประเทศจีนเพียง ประเทศเดียวที่สามารถดำเนินโครงการปลูกป่า CDM และนำมาเป็นคาร์บอนเครดิตได้

          เมื่อโครงการปลูกป่า CDM ดูท่าจะไม่ประสบความสำเร็จ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ สิ่งที่จะเป็นข้อเสนอใหม่ในเวทีลดโลกร้อนล่าสุดนั้น ก็คือการชักจูงโน้มน้าวให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกก็มีขึ้นบน เวที UNFCCC ในสมัยการประชุม SBSTA ครั้งที่ 28 และการประชุม AWG - LCA ครั้งที่ 3 ได้มีการพูดคุยถึงวิธีการใหม่ที่เรียกว่า การลดการปล่อยก๊าซจากการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศที่กำลังพัฒนา (ReducingEmissions from Deforestation in Developing countries) ที่เรียกย่อๆ ว่า REDD อันหมายถึงการลดการตัดไม้ทำลายป่า การฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม และการดูแลป่าที่ดีอยู่แล้วให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์

          จุดมุ่งหวังต่อ REDD ก็คือ เป็นโครงการที่ดีกว่าโครงการปลูกป่า CDM ที่ป่าที่ปลูกมีฐานะเป็น Carbon Sink หรือเป็นจุดที่ใครแตะต้องไม่ ได้ เนื่องจากปริมาณต้นไม้และผืนป่าแห่งนี้จะถูกเปลี่ยนมาเป็นสินค้าในข้อตกลงคาร์บอนเครดิต

          การพูดคุยเบื้องต้นที่ดูเหมือนว่าจะแก้ปัญหาจุดอ่อนการปลูกป่า CDM นั้นก็คือ REDD ต้องคำนึงถึงชุมชนเป็นสำคัญและกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนที่พึ่งพิงอาศัยป่า ทว่าความเป็นไปได้สำหรับ REDD ยังคงเป็นแนวคิดที่ต้องหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อออกเป็นกฎปฏิบัติทันใช้หลังพิธีสารเกียวโตหมดวาระลงในปี 2555

          ท่าทีของไทยและเหล่าประเทศรัฐภาคีต่อโครงการ REDD จะเป็นเช่นไร และ REDD จะให้คุณหรือให้โทษแบบ Carbon Sink หรือไม่ บนเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีของไทย ในการเข้าร่วมประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 14 และการประชุมพิธีสารเกียวโตสมัยที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม 2551 ณ เมืองพอซนาน ประเทศโปแลนด์  ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยกลางประสานเรื่องนี้ ได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้

          ผศ.ดร. ลดาวัลย์ พวงจิตร์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายเรื่อง REDD ว่า หลังจากได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง REDD ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการศึกษาเรื่อง REDD อย่างจริงจัง เบื้องต้นพบว่า แนวคิดอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าเพื่อลดโลกร้อนเกิดขึ้นก็เพราะตัวเลขการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในปัจจุบันกว่าร้อยละ 20 มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และปล่อยให้ป่าที่มีอยู่เสื่อมโทรมไม่มีการดูแล เพราะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นการดูแลลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ก็ยังไม่อยู่ในข้อบังคับตามกฎในพิธีสารเกียวโต ต้องลดก๊าซเรือนกระจก 5% และที่ประชุมมองว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มักมีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นเพื่อขายระบบอุตสาหกรรม จึงควรพื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ลดการตัดไม้ และบำรุงให้สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วจะต้องมีค่าชดเชย ค่าตอบแทน ค่าเสียโอกาสแลกเปลี่ยนในการรักษาผืนป่าเหล่านี้ไว้โดยวิธีการธรรมชาติ

          ผศ.ดร. ลดาวัลย์ กล่าวต่ออีกว่า แนวคิดนี้ฟังดูอาจจะง่าย แต่พอลงลึกเข้าไปถึงวิธีการกำหนดข้อตกลงแล้วทำยาก ไม่ว่าจะเป็นการหาเงินทุนมาสนับสนุนเป็นค่าตอบแทน จะให้เป็นในรูปแบบกองทุนหรือเข้าสู่ระบบกลไกตลาด หรือมีการซื้อขายในลักษณะคาร์บอนเครดิต คล้ายๆ Carbon Sink ของ CDM ที่ราคาขึ้นลง ตามความต้องการของตลาด ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีตรงที่สามารถดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมระหว่างกันและกัน เงินสนับสนุนเข้าถึงชุมชน และพื้นที่ป่าใช้ทำ REDD ก็จะมีขนาดเล็ก ดูแลง่าย เห็นผลได้เร็วและชัดเจน ซึ่งประเทศรัฐภาคีส่วนใหญ่และไทยที่สนับสนุน REDD เอนเอียงอยากใช้รูปแบบกลไกการตลาด

          แต่หากข้อตกลงกำหนดให้ค่าตอบแทนเป็นรูปแบบของกองทุนระหว่างประเทศ เงินสนับสนุนก็จะตกอยู่กับหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่หน่วยงานรัฐแห่งเดียวอย่างกรมป่าไม้จะดูแลรักษาป่าทั้งประเทศให้คงสภาพเดิม หรือดีขึ้นกว่าเดิม เพราะต้องใช้ทั้งกำลังคน ฐานข้อมูล เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง บวกกับการสำรวจภาคพื้นดิน

          นักวิชาการจากรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนเดิม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้กรอบในการคิดคำนวนว่าจะนำเอาพื้นที่จากปีไหนมาคิดคำนวณฐานการฟื้นฟูป่าก็ยังไม่ลงตัวว่า จะเอาตัวเลข 5 ปี หรือ 10 ปีย้อนหลัง หรือบางความคิดเห็นก็เสนอให้ใช่ค่าเฉลี่ยรวม ของโลกที่มีการทำลายป่า แล้วประเทศใดลงเท่าใดค่อยนำมาเทียบ ซึ่งทำให้ประเทศที่มีการรักษาผืนป่า มาอย่างดีเสียสิทธิประโยชน์

          ที่สำคัญคือเรื่องการวางกฎเกณฑ์กรณี REDD เป็นป่าชุมชน โดยมีแนวทางว่าขอให้ชุมชนคงสิทธิการพึ่งพิงป่าที่จัดทำเป็น REDD ได้ตามที่พูดกันนั้น ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องมีการถกกันให้ลงตัว สมประโยชน์ทั้งสองฝ่ายภายใน 4 ปีข้างหน้านี้ แต่ส่วนตัวคิดว่าระบบจัดการที่ดีจะช่วยให้ชาวบ้านยังสามารถใช้ประโยชน์จากป่า REDD ได้โดยไม่ทำให้ป่าเสื่อมโทรม หรือทำให้ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนฯ ลดต่ำลง

          เมื่อ REDD ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน และมีเค้าลางความสุ่มเสี่ยงกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยพึ่งพิงป่าทำมาหากิน นายวนัน เพิ่มพิบูลย์ เอ็นจีโอจากเครือข่ายองค์กรพัฒนาที่ติดตามเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อนและการลงทุน CDM (Climate Action Network : CAN) ประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ยังไม่ฟันธงว่า REDD ดีหรือไม่อย่างไร เพราะในด้านดีของ REDD ยังมีให้เห็นอยู่ เพราะดูแลป่าให้คงอยู่ เพียงแต่หากประเทศไทยอยากจะทำ REDD ก็ขอให้เป็นแบบกองทุนที่ไม่มีกลไกการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะหากมีระบบกลไกการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อใด ข้ออ้างที่บอกว่าการปลูกป่า REDD จะต้องคำนึงถึงชุมชนเป็นสำคัญ หรือไม่ขัดต่อวิถีดำรงชีวิตเดิมของชาวบ้านคงทำได้ไม่ง่ายนัก

          เมื่อลองคิดดูว่ากระบวนการคำนวณเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอนฯ ของป่า จะทำได้ยากยิ่งเพียงไรถ้ามีพฤติกรรมของคนใช้ป่าร่วมด้วย เช่น หักกิ่งไม้ 1 กิ่งไปทำฟืน เข้าไปเลี้ยงสัตว์ หาของป่า ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้อาจกระทบต่อการกักเก็บคาร์บอนฯ หรือไม่ และกฎที่ออกมาในอีก 4 ปีข้างหน้าจะอะลุ่มอล่วยให้กับคนในพื้นที่ได้ขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลรักษาป่าไม้ของเจ้าหน้าที่รัฐ มักไม่ต้องการให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้สอยประโยชน์จากป่า ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันให้หนักมากขึ้นกับประเด็นล่อแหลมเหล่านี้

          มีความเป็นไปได้อย่างมากจากเดิมที่ชาวบ้านอาจพึ่งพิงป่าได้เท่านี้ แต่ถ้าเป็น REDD แล้วพึ่งพิงป่าได้น้อย ลงหรืออาจเป็นข้ออ้างในการไล่ที่หรือขอให้ออกจากพื้นที่เพื่

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

1. ต้องให้เกิดความเป็นธรรมจริง ๆ สำหรับการขาย CDMนะ
2. ต้องให้คนไทยมีความรู้ CDM จริง ๆ นะ
3. ไทยดำเนินการหลายโครงการที่ลด co 2 ต้องขยายความ ประกาศให้โลกรับรู้ นะ
4. กระจายบข่าว และความรู้เบื้องต้ยนให้ทุกคนได้รับทราบนะ




โดย:  อยากตอบ  [13 ธ.ค. 2552 16:31]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น