สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ตะลึงยาปลอมจากจีนกระจายทั่วโลก

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
วันที่: 19 ธ.ค. 2550


            หนังสือพิมพ์สากล – หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ ดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ได้เปิดเผยเบื้องหลังที่มาของการจับกุมยาปลอมที่ผลิตจากจีน โดยชี้ว่ามีแหล่งซัปพลายที่ซับซ้อน ถูกส่งซอกซอนผ่านเขตการค้าเสรีต่างๆ จนมาถึงดูไบ แล้วกระจายไปยังแคนาดาและสหรัฐฯ
       
            โดยในขณะที่นานาประเทศเริ่มพยายามผลักดันข้อตกลงเขตการค้าเสรีกันขึ้น (เอฟทีเอ) ทว่าปัญหาของเขตการค้าเสรีเหล่านี้ก็คือนอกจากจะมีการลดหรืองดเว้นภาษีแล้ว การควบคุมสินค้าก็มักจะหย่อนยานตามไปด้วย จนกลายเป็นแหล่งเก็บซ่อนให้ยาปลอม ยากลอกเลียนแบบเป็นอย่างดี
       
            เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมาในเขตการค้าเสรีที่ดูไบ ก็มีการตรวจจับพบยาปลอมล๊อตใหญ่ ซึ่งหลังจากตรวจสอบแล้วพบว่า ยาเหล่านี้มีแหล่งผลิตที่มาจากในประเทศจีน จากการตรวจสอบไปที่เจ้าหน้าที่จาก 6 ประเทศรวมถึงบริษัทผู้ผลิตยาพบว่าเบื้องหลังของที่มาของยาเหล่านี้มีโครงข่ายอุปทานที่จัดว่าซับซ้อนมาก โดยยาปลอมที่ผลิตในจีนได้ส่งผ่านมาทางฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อังกฤษ บาร์ฮามาส สุดท้ายก็ไปถึงยังร้านยาออนไลน์ RxNorth ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริโภคในสหรัฐฯมักจะเชื่อว่า ยาที่ซื้อจากเว็บไซต์ดังกล่าวมาจากแคนาดา แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากบาร์ฮามาสได้ตรวจสอบข้อมูลทางคอมพิวเตอร์พบว่า Personal touch ของดูไบนี้เคยเป็นแหล่งซัปพลายยาให้กับ RxNorth ซึ่งเป็นร้านขายยาออนไลน์ในแคนาดาที่ขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก
       
            พนักงานของ RxNorth ที่ลาออกมาแล้วคนหนึ่งได้เปิดเผยว่า "ทางบริษัท RxNorth เคยระบุว่าห้ามพนักงานบอกกับลูกค้าคนใดเด็ดขาดว่ายาของทางบริษัทมาจากบาร์ฮามาส"
       
            ด้านเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากสบริษัทผลิตยาระบุว่า ยาจำนวนหนึ่งในบาร์ฮามาส เป็นยาที่ผลิตจากประเทศจีนที่ขึ้นชื่อมากในเรื่องของยาปลอม ในขณะที่ทางบริษัท pfizer ระบุว่า เราตรวจสอบที่มาของยาเหล่านี้แล้ว พบว่าเป็นยาที่ผลิตในประเทศจีนจริง
       
            การตรวจพบยาในดูไบครั้งดังกล่าว จึงได้ชี้ให้เห็นว่ายาปลอมพวกนี้สามารถเคลื่อนไหวและจำหน่ายอยู่ในแหล่งต่างๆทั่วโลกได้อย่างไร และทำไมที่ผ่านมาถึงตรวจสอบได้อย่างยากเย็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านสินค้าเลียนแบบชี้ว่า ผู้ผลิตของปลอมเหล่านี้ จะใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรี ในการที่จะหลบซ่อนที่มาของยา หรือนำไปเปลี่ยนฉลากในประเทศเขตเสรีที่จำหน่าย
       
            ดูไบจัดเป็นแหล่งที่มีเสน่ห์ในการดึงดูดบรรดาของปลอมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากภาพทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ในปีที่ผ่านมาบรรดายาปลอมที่ถูกตรวจจับได้ในยุโรป ก็มีถึง 1 ใน 3 ที่มาจากที่แห่งนี้ นอกจากนั้นในดูไบยังมีสินค้าจำนวนมหาศาลจากทั่วโลกที่ผ่านเข้ามา ทำให้ยากที่จะตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง
       
            เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอนามัยสากลได้ระบุว่า "แม้ว่าทางการดูไบจะให้ความร่วมมือในการตรวจจับ ทว่าก็ยังมียาปลอมอีกจำนวนมหาศาลที่ขนผ่านที่นี่เพื่อส่งไปยังประเทศอื่นๆ ยิ่งมีเขตการค้าเสรีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ของสินค้าปลอมมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น"
       
            สำนักงานอาหารและยาจากสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ได้ระบุว่า "เพื่อป้องกันการถูกตรวจจับ ผู้ผลิตจึงเลือกที่จะขนส่งยาปลอมของตนไปมา โดยเวียนผ่านตามเขตการค้าเสรีที่พวกเขามองว่าเป็นเสมือนสถานีโอนถ่ายสินค้า"
       
            เขตการค้าเสรี Colon ที่อยู่ใกล้ๆบาร์ฮามาสก็มีปัญหาในทำนองเดียวกัน อย่างเช่นเมื่อตอนเดือนมิ.ย. ที่เจ้าหน้าที่บาร์ฮามาสไปตรวจเจอยาปลอมจำนวน 1 โกดังมูลค่าราว 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีเจ้าของเป็นของหนุ่มชาวออสเตรเลียที่ประกอบธุรกิจจำหน่ายยาทางเว็บไซต์ โดยก่อนหน้านี้ชายหนุ่มคนดังกล่าวเคยถูกจับในคดีขายยาไวอากร้าปลอม
       
            ด้านเจ้าหน้าที่จากสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ได้เปิดเผยว่า "ยาปลอมกำลังค่อยๆคืบคลานมาเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งของโลก โดยในเดือนที่ผ่านมาที่ในประเทศเรามีการเปิดอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เกี่ยวกับการรับมือกับยาปลอมนั้น ก็มีการระบุถึงเหตุการณ์ในปีที่แล้วที่มีกรณียาน้ำแก้ไอจากจีนที่มี ไดเอธีลีน ไกลโคล (diethylene glycol) ซึ่งจัดเป็นยาอันตรายที่มีผลถึงชีวิตผสมอยู่ ทำให้มีชาวปานามาเสียชีวิตไปถึง 100 กว่าคน"    
   
            ทั้งนี้ ในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส ได้เคยลงรายงานข่าวหนึ่งที่ระบุว่า มีบริษัทเคมีของจีนหลายสิบบริษัทที่ได้ส่งวัตถุดิบยาออกไปยังต่างประเทศ โดยที่บริษัทเหล่านี้ไม่มีใบอนุญาตในการจำหน่ายวัตถุดิบยาเลย


ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2550

 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น