สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สรุปรายงานการประชุม REACH Competent Authorities

ผู้เขียน: คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป
วันที่: 24 ม.ค. 2552

            หลังจากที่ระเบียบ REACH ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 และได้เปิดให้มีการจดทะเบียน pre-registration ระหว่าง 1 มิถุนายน - 1 ธันวาคม 2551 นั้น ล่าสุด อียูได้ปิดการจดทะเบียบล่วงหน้าแล้ว และเมื่อวันที่ 15 - 16 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยได้มีการจัดการประชุม REACH Competent Authorities (CA) Meeting ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพฯ เพื่อรายงานผล พร้อมแจ้งความเคลื่อนไหวในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระเบียบดังกล่าว

            สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ขอรายงานผลการประชุมดังกล่าว โดยได้รับแจ้งข้อมูลจากจากคณะผู้แทนสหรัฐฯ ประจำกรุงบรัสเซลส์ ที่เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

1. การจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้า (Pre-registration)  

            - มากกว่า 65,000 บริษัท ได้สมัครเข้าร่วมระบบ REACH IT และจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้ารวมกว่า 2.6 คำขอ ครอบคลุมสารเคมี 150,000 สาร โดยครึ่งหนึ่งเป็นคำขอที่ส่งในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน 2551 

            - Pre-registration จำนวนมาก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกังวลว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้แผนงาน Substance Information Exchange Forum หรือ SIEFs จะมีมากถึง 150,000 SIEFs และการจดทะเบียนสารเคมีร่วมกันอาจทำลำบาก 

            - การแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้ SIEFs สำหรับสารส่วนใหญ่มีผู้เข้าร่วมระหว่าง 1-9 ราย แต่มีสองรายการที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 5,000 ราย  

            - การจดทะเบียนล่วงหน้าโดยตรงของบริษัทที่อยู่นอก EU จะไม่มีผล (invalid) ต้องจดทะเบียนผ่านบริษัทซึ่งมีที่ตั้งใน EU เท่านั้น (คือโดยผู้นำเข้า บริษัทที่เป็น subsidiary ใน EU หรือบริษัทที่เป็น Only Representative หรือ OR)

            - มี 3 กรณีซึ่งเข้าใจว่าเป็น OR ได้สร้างบัญชีไว้ใน REACH IT ถึง 1,500 บัญชี

            - รายชื่อสารเคมีจดทะเบียนล่วงหน้า ซึ่งประกาศทางเว็ปไซท์ ECHA เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2551 เป็นเพียง preliminary list โดย ECHA จะประกาศรายชื่อฉบับสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งหลังตรวจสอบความถูกต้องแล้ว  

2. การจดทะเบียนล่วงหน้าซ้ำ (Double pre-registration) 

            - ข้อยกเว้นในการจดทะเบียนสารเคมีตามระเบียบ REACH มี 4 กรณีคือ (1) reimported substance มาตรา 2.7.c  (2) recovered substances มาตรา 2.7.d (3) โมโนเมอร์ในโพลิเมอร์ - monomers in polymers มาตรา 6.3 และ (4) สารเคมีในตัวสินค้า มาตรา 7.6  ซึ่ง ECHA ตีความข้อกำหนดในเรื่องนี้ว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวไม่ใช้กับกรณีที่มีการจดทะเบียนล่วงหน้า แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสารนั้น

            - นอกจากนั้น ในช่วงเดือนตุลาคม 2551 ECHA ได้ประชาสัมพันธ์แนะนำให้บริษัทดำเนินการจดทะเบียนล่วงหน้า หากไม่แน่ใจว่าสารนั้นได้มีการจดทะเบียนภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 หรือไม่  จึงเป็นสาเหตุให้จำนวนการจดทะเบียนล่วงหน้าผ่าน supply chain เพิ่มขึ้นมาก (Double pre-registration) 

            - คณะกรรมาธิการฯ รายงานว่า ECHA’s Forum จะพิจารณาการบังคับใช้ข้อกำหนดเรื่องนี้ต่อไป    

3. เครื่องสำอาง
 
            - เรื่องนี้มีความสับสนและไม่ชัดเจนเกี่ยวกับกำหนดเส้นตายในการจดทะเบียนสารเคมีที่เป็นสารใหม่ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ จะต้องให้ความกระจ่างต่อไป

4. Candidate List 

            -  มีการประกาศรายชื่อสาร Candidate List ชุดแรก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 จำนวน 15 สารที่มีความน่าห่วงกังวลสูง   ขั้นตอนต่อไปคือการจัดเตรียมข้อเสนอสำหรับ Annex XIV เป็น authorization list ซึ่งต้องรอการพิจารณาให้ความเห็นของประเทศสมาชิก EU ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2552

            - คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ ECHA จัดเตรียม Annex XV dossiers 5 รายการ ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับแฟ้มข้อมูลที่ส่งเข้ามาใหม่ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม หากเข้าข่ายสารที่มีความน่าห่วงกังวลสูง (SVHCs) ก็จะรวมในรายชื่อสาร Candidate List ชุดต่อไปในเดือนตุลาคม 2552 
                 
            - ระยะเวลาในการปรับเพิ่มรายชื่อสาร Candidate List ต่อๆ ไป จะหารือกันในที่ประชุม ECHA Workshop ระหว่างวันที่ 21-22 มกราคม 2552  ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งข้อคิดเห็นไปที่นาย Jack de Bruijn ทาง e-mail:
Jack.DE-BRUIJN@echa.europa.eu

5. การบังคับใช้ (Enforcement) 
 
            - คณะกรรมาธิการฯ รายงานว่ามีประเทศสมาชิกเพียง 15 ประเทศที่แจ้งข้อกำหนดในการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ REACH ทันกำหนดเส้นตายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 
 
            - คณะกรรมาธิการฯ จะทำการศึกษาเปรียบเทียบบทลงโทษในประเทศสมาชิกต่างๆ โดยนำเสนอผลศึกษาชั้นแรกในการประชุม CA เดือนมิถุนายน 2552 และจะทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสร็จปลายปีนี้

6. คู่มื่อ (Guidance) 
  
            - มีการปรับคู่มือในหัวข้อ Only Representative เผยแพร่ทางเว็ปไซท์ ECHA เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551

            - คณะกรรมาธิการฯ ได้พิมพ์ร่างคู่มือ สำหรับ Annex V เรื่อง Exemptions from Registration และเรื่อง Waste and Recovered Substances เผยแพร่ทางเว็ปไซท์แล้ว 
 
            - โครงการจ้างศึกษาเพื่อทบทวนคู่มือเรื่องสารเคมีที่อยู่ในสินค้า (Substances in Articles) ซึ่งเน้นชิ้นส่วนอะไหล่และสินค้าซับซ้อน (spare parts and complex articles) จะเริ่มเดือนมกราคมและสิ้นสุดเดือนตุลาคม 2552 โดยจะเผยแพร่คู่มือเรื่องนี้อย่างย่อในเว็ปไซท์ ECHA ก่อนในช่วงต้นปี 2552

7. ระเบียบ REACH และวัสดุนาโน (REACH and nanomaterials)
 
            - เอกสาร “Nanomaterials in REACH” (เอกสารแนบ 2) อธิบายว่าจะใช้ระเบียบ REACH กับวัสดุนาโนอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการ REACH CA ได้เห็นชอบแล้ว และคณะกรรมาธิการฯ จะนำลงเผยแพร่ทางเว็ปไซท์ต่อไป

8. การทบทวน  Annex XIII 
 
            -  ระเบียบ REACH กำหนดให้คณะกรรมาธิการทบทวน Annex XIII เกี่ยวกับเกณฑ์สำหรับคำจำกัดความของสารพิษ ที่คงทน และสะสมทางชีวภาพ (PBTs) ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาถกเถียงร่างข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ ในเรื่องนี้กันมากว่าจะให้ความยืดหยุ่นและความแน่นอนทางกฎหมายในการกำหนดว่าสารใดคือ PBT อย่างเพียงพอหรือไม่ และคณะกรรมาธิการฯ จะได้หารือกับ legal service เพื่อหาข้อยุติต่อไป 

9. ระเบียบใหม่ว่าด้วยการจัดจำแนกและปิดฉลากสารเคมี  (CLP regulation)

            - ระเบียบใหม่ว่าด้วยการจัดจำแนกและปิดฉลากสารเคมีและบรรจุหีบห่อสารเคมีจะลงพิมพ์ใน Official Journal วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศ 20 วัน

            - สามารถดูทางเว็ปไซท์ :  http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:353:0001:1355:EN:PDF) และ  http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:354:0060:0061:EN:PDF กำหนดเส้นตายคือวันที่ 1 ธันวาคม 2553 สำหรับการจัดจำแนกสารเคมี และวันที 1 มิถุนายน 2558 สำหรับ preparations 

            - คาดว่าการปรับแก้ไขระเบียบใหม่ตามความก้าวหน้าทางเทคนิคครั้งแรก (1st ATP: Adaption to technical progress) จะประกาศปลายเดือนมีนาคม 2552 โดยจะรวมสารทั้งหมดตามประกาศ ATP ครั้งที่ 30 และ 31ของคำสั่งว่าด้วยสารเคมีอันตราย (Dangerous substance directive: DSD) 

            - มาตรา 44 ของระเบียบนี้ กำหนดให้ประเทศสมาชิก EU จัดตั้ง helpdesk ให้ความช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม และ ECHA จะจัดทำเอกสารคำถาม-ตอบที่พบบ่อย (FAQ) และ webpage เผยแพร่ข่าวสารเรื่องนี้ด้วย  

10.   เรื่องอื่นๆ

            - มีการยกประเด็นที่ ECHA ให้การตอบสนองไม่เพียงพอแก่ผู้ประกอบการนอก EU ขึ้นหารือในที่ประชุม และ ECHA ขอทราบตัวอย่างคำตอบซึ่งไม่เป็นที่พอใจ แต่ยอมรับว่าเนื่องจากปริมาณงานมาก จึงให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบการใน EU ก่อน  

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ไทยยุโรปดอตเน็ต www.thaieurope.net

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ECHA เพิ่มช่องทางเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ REACH
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น