สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

แคดเมียม... โลหะพิษที่อันตราย

ผู้เขียน: รศ.ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต
หน่วยงาน: สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่: 9 เม.ย. 2552

            คุณคงเคยได้ยินชื่อโลหะแคดเมียมกันมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่าแคดเมียมเป็นโลหะที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรม และแท้ที่จริงแล้วเรามีความเกี่ยวพันกับแคดเมียมในชีวิตประจำวันอยู่เป็นอย่างมาก

แคดเมียมคืออะไร ใช้ทำอะไร

            เมื่อเอ่ยถึงชื่อโลหะแคดเมียม บางคนยังนึกไม่ออกว่าคืออะไร บางคนร้องอ๋อทันทีนึกออกว่ามันคือโลหะที่เป็นเงาวับ ใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ แต่จริงๆ แล้วโลหะแคดเมียมนั้นมิได้ใช้เพียงงานดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังใช้ในกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางามและทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิมนอกเสียจากจะมีการหลุดลอกของแคดเมียมที่เคลือบอยู่ โลหะภายในซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหล็กก็จะเป็นสนิมได้ โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อตและสกรูด้วย จะกันสนิมได้ดี นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย

            นอกจากนี้แคดเมียมยังอยู่ในรูปของสารประกอบต่างๆ อีกมากมาย เช่น แคดเมียมซัลไฟด์ และ แคดเมียมซัลโฟซีลีไนต์ ใช้เป็นตัวสีในสิ่งต่างๆ พลาสติก สีทา สีพ่น หมึก ยาง เสื้อผ้า และสีที่จิตรกรใช้ในการวาดภาพหรือทาชิ้นงานจิตรกรรมต่างๆ เพราะให้สีสวย สารประกอบแคดเมียมบางชนิดใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัวของพลาสติก เช่น แคดเมียมสเตียเรท เป็นต้น

            โลหะแคดเมียมยังใช้ผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะอัลลอยด์ เช่น ผสมกับโลหะทองแดงจะช่วยเพิ่มความเหนียวและความทนทานต่อการสึกหรอให้กับทองแดงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังทนอุณหภูมิสูงด้วย นำไปใช้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องทนความร้อน เช่น ทำหม้อน้ำรถยนต์ หรืออุปกรณ์เครื่องเย็นต่างๆ ที่ต้องระบายความร้อนมากๆ ถ้านำแคดเมียมไปผสมกับโลหะเงินจะได้โลหะอัลลอยด์ที่เงางาม ใช้ในการผลิตเครื่องประดับอัญมณีต่างๆ

            ประโยชน์ของแคดเมียมยังขยายการใช้ไปในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่เรียกว่า แคดเมียมนิเกิล แบตเตอรี่ (CdNi batteries) สำหรับการใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข กล้องถ่ายรูป และวิทยุเล็กๆ เป็นต้น ยังมีสารประกอบแคดเมียมประเภท แคดเมียมโบรไมต์ แคดเมียมไอโอไดด์ ใช้บ้างในการถ่ายรูป นอกจากนี้ยังพบว่าโลหะแคดเมียมใช้ใน Photoelectric cells ผสมในสารฆ่าเชื้อราที่ใช้ในกิจการเกษตร และปัจจุบันยังใช้ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูด้วย

คนเราได้รับแคดเมียมเข้าร่างกายได้อย่างไร

            จากการใช้อย่างกว้างขวางดังกล่าวนี้ จึงทำให้สามารถพบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร

            สำหรับแคดเมียมในอาหารนั้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหาร และการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำ และในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียมกันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น

            ปริมาณแคดเมียมในข้าวของไทยอยู่ระดับปานกลางเมื่อเทียบกับข้าวของประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย จากการศึกษาการได้รับแคดเมียมจากอาหารของคนไทย โดย รศ.ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาตและคณะ ศึกษาในอาสาสมัครผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 30 คน และคนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด 40 คน ด้วยการเก็บทุกอย่างที่อาสาสมัครกินและดื่มตลอด 4 วันติดต่อกัน เก็บอาหารทุกชนิด น้ำดื่มและเครื่องดื่มเท่าที่อาสาสมัครกินและดื่มจริง แล้วนำมาตรวจหาปริมาณแคดเมียมทั้งหมด และเฉลี่ยการได้รับแคดเมียมต่อวันจากอาหาร พบว่าทั้งคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัดได้รับแคดเมียมจากการกินอาหารและน้ำดื่มในแต่ละวันใกล้เคียงกัน คือคนกรุงเทพฯ ได้รับเฉลี่ย 0.113 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ในขณะที่คนต่างจังหวัดได้รับเฉลี่ย 0.105 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในประเทศต่างๆ ที่หาข้อมูลได้ ปรากฏว่าคนไทยที่ทำการศึกษาได้รับแคดเมียมจากอาหารต่อสัปดาห์ในระดับปานกลาง ซึ่งใกล้เคียงกับบางประเทศ เช่น ประเทศสวีเดน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และเยอรมัน

            อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ว่าคนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกินสัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม สำหรับคนไทยได้รับสัปดาห์ละ 0.105 - 0.113 มิลลิกรัม ซึ่งยังต่ำกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดแต่ถ้าหากกินอาหารที่มีอาหารทะเลประเภทหอยแมลงภู่และหอยนางรม เป็นประจำบ่อยๆ ก็จะได้รับแคดเมียมจากอาหารสูง และถ้ายิ่งสูบบุหรี่ด้วยแล้วยิ่งทำให้ได้รับแคดเมียมเข้าในร่างกายได้มาก

พิษของแคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้น

            การได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้เกิดพิษฉับพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

            1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ซึ่งเป็นเพราะมีการอักเสบของหลอดลม มีพังผืดจับในทางเดินหายใจส่วนล่าง และมีการทำลายของถุงลมซึ่งจะกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก

            2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่

 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ควรบอกรายละเอียดให้ชัดกว่านี้


โดย:  Dawil  [29 พ.ค. 2552 14:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณครับบบ

โดย:  Palm  [14 มิ.ย. 2552 19:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ขอบคุนมากๆ เลยค่ะ
ตรงประเด็นเลย
ต้องการอยู่พอดี ให้ความรู้มากๆ ค่ะ

โดย:  BUDDiiz  [16 มิ.ย. 2552 16:38]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

ขอบคุณค่ะ

โดย:  keawza  [21 ก.ค. 2552 15:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

+-ขอบบคุงมากๆๆๆๆๆ-+

โดย:  NooKizzz  [21 ก.ค. 2552 19:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

ขoบคุงมักๆๆๆๆๆๆๆ

โดย:  !nno[z]ent  [21 ก.ค. 2552 19:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:7

คือขอรบกวนถามหน่อยนะคะ ว่าโลหะที่ใช้ทำเครื่องบินคืออะไรคะ นอกจากอะลูมิเนียมอ่ะค่ะ เห็นอาจารย์บอกว่ามีขนาดเบา แข็งแรงกว่าอะลูมิเนียมอ่ะค่ะ
รบกวนผู้อ่านช่วยแสดงความคิดเห็นให้ทีนะคะ  ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ Thank you so much

โดย:  เด็ก Genius  [18 ส.ค. 2552 18:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

very good news ,Thank so much .

โดย:  mayureejung  [18 พ.ย. 2552 13:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:10

ขอบคุณมากมากคะ สำหรับความรู้ที่ให้หนูจะได้ระวังและบอกกล่าวกับบุคลลอื่นๆ

โดย:  Kapraow  [1 เม.ย. 2554 22:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:11

ขอบคุณมากครับ

โดย:  sank  [10 เม.ย. 2554 23:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:12

คงจะอันตรายนะ ดูข่าวแล้วเห็นชาวบ้านได้รับสารพิษนี้ น่าสงสารมาก

โดย:  toon  [28 มิ.ย. 2554 13:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:13

ขอบคุนคับ (*^o^*)

โดย:  ...  [24 ก.ย. 2554 11:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:14

ขอบคุนมากไม่มีทุกคน

โดย:  โดม  [12 มิ.ย. 2555 15:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:15

 ขอทราบหน่วยงานที่ตรวจสอบหาสารแคดเมี่ยมในน้ำใช้และการลดสารแคดเมี่ยมในน้ำที่นำมาบริโภคมีวิธีใดบ้างค่ะ ขอทราบด่วนค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดย:  ปาณี วาณิชธนากุล  [8 ก.ค. 2556 10:22]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น