สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สารไนเตรทรุกแหล่งน้ำ ผลพวงเกษตรกรโหมใส่ปุ๋ย

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
วันที่: 30 ม.ค. 2551

            มีข้อมูลว่าประเทศไทย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีในภาคการเกษตรอย่างมาก ขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มีข้อมูลฝั่งตรงกันข้ามที่เป็นการติดตามผลหลังจากการใช้สารเคมีว่ามีผลต่อสิ่งแวดล้อมดิน น้ำ มากน้อยแค่ไหน อย่างไร ออกมาให้สังคมรับรู้

            เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีผลงานวิจัยของกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ศึกษาถึงผลกระทบหลังการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรของไทย โดยในการทำวิจัยของกรีนพีซฯ ได้ประยุกต์ข้อมูลบางส่วนและวิธีการศึกษาของ   Reyes  Tirado   นักศึกษาจาก   University  of  Exeter ประเทศอังกฤษ ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมการใส่ปุ๋ยในปริมาณเกินความจำเป็นของเหล่าเกษตรกรในประเทศอังกฤษ  ที่ทำการเกษตรแบบอุตสาหกรรม  จนเกิดการรั่วซึมของปุ๋ยและสารเคมีสู่แหล่งน้ำของชุมชน มาประยุกต์สำรวจสภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและการปนเปื้อนของปุ๋ยเคมีในแหล่งน้ำสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของประเทศไทย

            โครงการที่สำรวจโดยเก็บตัวอย่างภาคสนามในประเทศไทยมีขึ้นใน  3  จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่  จ.กาญจนบุรี  และ จ.สุพรรณบุรี  ซึ่งผลพบว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดมีการปนเปื้อนของสารไนเตรทสะสมอยู่ในแหล่งน้ำ และน้ำบาดาลในชุมชนในปริมาณที่เกินมาตรฐาน

            ทีมวิจัยกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วย  Reyes  Tiraso, ณัฐวิภา อิ้วสกุล และภาสธร  สันต์ธนะพัฒน์  โดยณัฐวิภาเป็นผู้แถลงงานวิจัยว่า สิ่งที่กรีนพีซต้องทำการศึกษาในเรื่องนี้ ก็เพื่อประเมินสถานการณ์ของมลพิษทางน้ำอันเนื่องมาจากเกษตรกรรม  โดยมุ่งประเด็นไปที่การหาปริมารไนเตรท  (Nitrate)  หรือเกลือไนเตรทที่ใช้ในการเกษตร ว่ามีการปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่ม เช่น น้ำใต้ดิน  หรือบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมหรือไม่ เพื่อดูผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยในภาคเกษตรกรรมต่างๆ ต่อคุณภาพของแหล่งน้ำธรรมชาติ

            ขั้นตอนการวิเคราะห์  เริ่มจากเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดินที่ทำเกษตรกรรมหลายประเภท อาทิ นาข้าว แปลงข้าวโพด ฯลฯ ใน จ.เชียงใหม่ กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ในช่วงระยะเวลา 1-5 ต.ค.2550 ซึ่งแต่ละจุดจะเก็บตัวอย่างน้ำเพียง 1 ตัวอย่าง น้ำใต้ดินทั้งหมดเก็บจากบ่อน้ำบาดาลบริเวณแปลงเกษตร  หรือบริเวณบ้านเรือนรอบพื้นที่เกษตรกรรม  โดยเปิดให้น้ำไหลผ่าน  3 นาที  แล้วจึงเก็บตัวอย่าง  และนำไปวิเคราะห์หาปริมาณไนเตรททันที หรือไม่เกิน 6-10 ชั่วโมง จากช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่าง  ซึ่งตัวอย่างน้ำ  1  แหล่ง  จะถูกวิเคราะห์ค่าการดูดกลืนแสง  หรือ Chromotropic  Acid  Method  ซ้ำประมาณ  2-3  ครั้ง  โดยเครื่องมือ   Portable Spectrophotometer เพื่อหาค่าเฉลี่ย

            สมาชิกกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนเดิม   อธิบายถึงผลที่ได้จากการวิเคราะห์ว่า  ผลการศึกษาพบว่าแหล่งน้ำใต้ดินบริเวณพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมมีมลพิษจากไนเตรทปนเปื้อนสูงมาก  และสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำการเกษตรในรูปแบบอุตสาหกรรม  ที่เน้นการเร่งผลิตโดยโหมใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เกินความจำเป็น  โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคกลาง อันได้แก่  กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี  ซึ่งแปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่งในกาญจนบุรี เป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีปริมาณไนเตรทปนเปื้อนสูงมากในแหล่งน้ำชุมชน

            จาก 11 ตัวอย่างที่เก็บเฉพาะพื้นที่ใน จ.กาญจนบุรี พบว่ามี 4 ตัวอย่างที่มีปริมาณไนเตรทสูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน  50  มิลลิกรัมต่อลิตร  แบ่งเป็นสูงถึง 150  มิลลิกรัมต่อลิตร 1 ตัวอย่าง, 140 มิลลิกรัมต่อลิตร 1 ตัวอย่าง, 55 มิลลิกรัมต่อลิตร 2 ตัวอย่าง ส่วนที่ใกล้เคียงค่ามาตรฐานประมาณ  46-48 มิลลิกรัมต่อลิตรมีเพียง 2 ตัวอย่าง ขณะที่อีก 5 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของไนเตรทเช่นเดียวกัน

            ด้านคุณภาพน้ำใต้ดินของ  จ.สุพรรณบุรี  2 ใน 5 ตัวอย่างน้ำ มีการปนเปื้อนไนเตรทสูงกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้เช่นกัน  โดยมีค่าไนเตรทประมาณ  58 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แต่ใน จ.เชียงใหม่ แหล่งตัวอย่างน้ำทั้ง 8 ตัวอย่าง พบสารไนเตรทปนเปื้อนในปริมาณที่น้อยมาก ไม่ถึง 20 มิลลิกรัมต่อลิตร

            "ที่กาญจนบุรีมีการปลูกหน่อไม้ฝรั่งหมุนเวียนตลอดทั้งปี  ลองคิดดูว่าการปลูกผักชนิดนี้จะต้องใช้แรงงานคน  น้ำ และปุ๋ยเป็นจำนวนมาก  ต้องให้น้ำใส่ปุ๋ยทุกวัน  ให้ฮอร์โมนและใส่ยาฆ่าแมลงทุกอาทิตย์ สารเคมีจะปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำชุมชนในปริมาณมากน้อยเพียงใด  โดยจากคำบอกเล่าของเจ้าของแปลงระบุว่า  มีการใส่ปุ๋ยในจำนวนมากจริง  และมากกว่าปริมาณที่แนะนำที่กำหนดไว้ที่ประมาณ  16 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  ถึง 70 เท่า คิดเป็น 200 กิโลกรัม/ไร่/เดือน หรือ 1,120 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี"

            "ทั้งนี้ จากการศึกษาผลวิจัยในประเทศชิลี  การโหมประโคมใส่ปุ๋ยในปริมาณมากไม่ได้ทำให้ผลผลิตดีหรือเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เกษตรกรเข้าใจ  แต่กลับพบว่าการใส่ปุ๋ยในปริมาณน้อยแค่ 8 กิโลกรัมต่อไร่ก็สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้ และยังไม่สร้างปัญหามลพิษทางน้ำอีกด้วย"

            ผลกระทบที่น่ากลัวมากกว่าตัวเลขการพบการปนเปื้อนไนเตรท ณัฐวิภาอธิบายว่า ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชีวิตก็คือ  ในด้านสิ่งแวดล้อมจะเกิดปรากฏการณ์ EUTROPHICATION  ที่เป็นหนึ่งในปัญหามลพิษที่สำคัญ  โดยระบบนิเวศทางน้ำมีปริมาณสารอาหารไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น  จะเป็นสาเหตุให้สัตว์ที่อยู่ในน้ำตายเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอต่อการหายใจของปลา  และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และยังเป็นการเพิ่มปริมาณสาหร่ายพิษในหนองน้ำอีกด้วย

            ด้านสุขภาพ  มีผลการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศยืนยันชัดเชนว่า เด็กทารกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประกอบเกษตรกรรมในเชิงอุตสาหกรรม  ที่มีการปนเปื้อนไนเตรทในแหล่งน้ำชุมชนสูง  จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพสูงสุด  โดยพิษของไนเตรทจะทำให้เด็กเกิดโรค "Blue-baby  syndrome"  หรือ methemoglobinemia  และมักเกิดในเด็กทารกอายุต่ำกว่า  4  เดือนที่ดื่มน้ำมีไนเตรทเจือปนในปริมาณสูง  ซึ่งอาการของบลู เบบี้ ซินโดรมซ์ จะเป็นในลักษณะที่แบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนรูปของไนเตรทให้เป็นไนไตรท์  และไนไตรท์นี้จะไปดูดซับและรวมตัวกับฮีโมโกลบิน  เป็นเมทีโมโกลบิน  ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปใช้ในร่างกายลดลง  เท่ากับว่าเป็นการไปขัดขวางการทำงานของฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ  เนื้อตัวเขียว และอาจเสียชีวิตได้

            "ในประเทศไทยทางกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเร่งศึกษาถึงกรณีที่เด็กทารกไทยอาจเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งถ้าผลการศึกษาออกมาเป็นเช่นไรจะแจ้งให้สังคมทราบอีกครั้งหนึ่ง" ณัฐวิภากล่าว

            นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ใหญ่หากดื่มน้ำที่มีไนเตรทปนเปื้อนเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งทางเดินอาหาร  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด NHL มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ  มะเร็งรังไข่ ฯลฯ  และเมื่อรับประทานอาหารที่ไนเตรทสะสมอยู่ในปริมาณสูง  เช่น  สัตว์น้ำ หรือผักที่ปลูก พิษที่ตกค้างจะทำให้เกิดภาวะทางประสาท สูญเสียความทรงจำ เป็นอัมพาต หรือท้องร่วงได้

        &nb

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Nitrogen
Nitrous oxide
Oxygen
Sodium nitrate
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

I'm impressed! You've managed the aslomt impossible.

โดย:  Jonay  [23 ก.ย. 2554 09:12]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น