สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ปลูกพืชเชื้อเพลิงชีวภาพ กลับทำให้โลกร้อนขึ้น

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
วันที่: 18 ก.พ. 2551

            การหักร้างถางพงและปลูกพืชเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพอาจจะทำให้โลกร้อนขึ้น ด้วยการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจกเข้าไปที่บรรยากาศ ทำให้การที่จะพยายามลดโลกร้อนกลับเป็นการสร้างโลกร้อนให้เกิดขึ้นมาแทน

            นายโจ ฟาร์จีโอน ผู้ก่อตั้งกลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อม เนเจอร์ คอนเซอร์แวนซี่ เตือนว่า เชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้กันในขณะนี้เป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งปัจจุบัน การเกษตรโลกใช้พื้นที่มากในการเลี้ยงประชากร 6,000 ล้านคนอยู่แล้ว การผลิตเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพจะทำให้ต้องหักร้างถางป่ามาปลูกพืชมากขึ้น เช่น ปลูกข้าวโพด อ้อย และถั่วเหลือง จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 17 - 420 เท่าออกมา เทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้มาจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เนื่องจากคาร์บอนที่สะสมอยู่ในต้นไม้ที่ตายรวมทั้งที่สะสมอยู่ในดินและธรรมชาติจะถูกปล่อยออกมายังบรรยากาศในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์

            จากการศึกษาพบว่า ถ้าพื้นที่ชุ่มน้ำของอินโดนีเซียเปลี่ยนมาเป็นไร่ปลูกปาล์ม จะต้องใช้เวลานานถึง 423 ปี กว่าการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ จะทดแทนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกมาจากการหักร้างถางป่าได้

            นักวิจัยยังพบด้วยว่า การที่สหรัฐต้องการน้ำมันเอทานอลจากข้าวโพด ส่งผลให้มีการทำลายป่าอะเมซอนในบราซิลเพิ่มขึ้น เนื่องจากชาวไร่สหรัฐอเมริกาไม่ปลูกถั่วเหลืองสลับกับปลูกข้าวโพดอีกต่อไป ทำให้บราซิลเพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองด้วยการรุกป่าอะเมซอน

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น