สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
QSAR

สัมประสิทธิ์การกระจายของสารในชั้นน้ำและน้ำมัน

ผู้เขียน: กฤติกา น้อยถนอม ศุภวรรณ สุเกียรติชัยสกุล วราภรณ์ พาราสุข และสุภา หารหนองบัว
หน่วยงาน: ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ
โทร 02 562 5555 ต่อ 2140 e-mail : fscisph@ku.ac.th
วันที่: 28 ม.ค. 2553

บทนำ

            สัมประสิทธิ์การกระจายตัว (partition coefficient, P) เป็นค่าที่บอกถึงความสามารถในการละลายของสารในตัวทำละลาย 2 ชนิด ที่ไม่สามารถผสมกันได้ (immiscible) โดยในกรณีของน้ำและน้ำมัน จะใช้ตัวทำละลายอินทรีย์คือ ออกทานอล (n-octanol) แทนชั้นน้ำมันหรือเนื้อเยื่อ (membrane) ต่างๆ และจะเรียกค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวนี้เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอล (n-octanol/water partition coefficient, Pow) ซึ่งการเลือกใช้ออกทานอลแทนชั้นน้ำมันหรือเนื้อเยื่อ เนื่องจาก เมื่อออกทานอลอิ่มตัวด้วยน้ำจะมีความเป็นขั้วใกล้เคียงกลับเซลล์เมมเบรนซึ่งเป็นชั้นไขมัน และนอกจากนี้โครงสร้างของออกทานอลดังแสดงในรูปที่ 1 มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์ประกอบหลักของชั้นไขมัน (phospholipid)

            ขั้นตอนการหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในชั้นน้ำและชั้นออกทานอลทำได้โดย ปล่อยให้สารกระจายตัวในตัวทำละลายทั้ง 2 ชนิด จนถึงภาวะสมดุล แล้วหาความเข้มข้นของสารในสารละลายแต่ละชนิด จากนั้นนำมาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัว ดังสมการ

เมื่อ  Pow    คือ สัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารในระหว่างชั้นออกทานอลและชั้นน้ำ

       Coct    คือ ความเข้มข้นของสารในชั้นออกทานอล

และ Cwater คือ ความเข้มเข้นของสารในชั้นน้ำ

            โดยปกติค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้จะแสดงอยู่ในรูปของลอการิทึม เรียกว่าค่า Log Pow เพื่อทำให้ค่าอยู่ในหลักหน่วยซึ่งง่ายต่อการอ้างอิงและเปรียบเทียบความเป็นขั้วของโมเลกุล ดังนั้นจะได้

            ค่า Log Pow จะบอกถึงความชอบในกระจายตัวเข้าไปอยู่ในชั้นน้ำหรือชั้นน้ำมันของสารเคมี โดยถ้าค่า Log Pow < 1 แสดงว่าสารละลายในชั้นน้ำได้ดีกว่าชั้นน้ำมัน ถ้าสารนี้เข้าไปอยู่ในร่างกายก็จะกระจายตัวในส่วนที่เป็นน้ำได้ดี แต่ถ้าค่า Log Pow > 1 แสดงว่าสารชอบที่จะละลายในชั้นน้ำมันมากกว่า นั่นคือสารนี้จะสะสมในร่างกายบริเวณที่เป็นชั้นไขมันได้ดีกว่านั่นเอง นอกจากนี้ค่า Log Pow ยังนำมาใช้อธิบายถึงความสามารถในการตกค้างของสารเคมีทั้งในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย


รูปที่ 1 การเปรียบเทียบโครงสร้างระหว่างออกทานอลและ phospholipid

การหาค่า Log P

            การหาค่า Log Pow สามารถคำนวณหาได้ทั้งจากการทดลอง (experimental) ดังวิธีที่แสดงในตารางที่ 1 และจากการคำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computational) ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ ได้แก่

            1)  Chemistry Development Kit

            2)  JOELib

            3)  ACD/LogP DB

            4)  ACD/LogP Freeware

            5)  Simulations Plus - S+logP

            6)  ALOGPS

            7)  Molecular Property Explorer

            8)  Free online logP calculations โดยใช้ ChemAxon

            9)  miLogP

            10) PreADMET

            11) XLOGP3

ตารางที่ 1 แสดงวิธีการทดลอง ข้อดี และข้อเสีย ที่ใช้ในการหาค่า Log Pow

วิธีการทดลอง

ข้อดี

ข้อเสีย

1. การหาค่า Log Pow โดยตรง (direct method)

1.1 Potentiometric method

1.2 Ion pair method

1.3 Filter probe method

1.4 Shake-flask method

1.5 Slow-stirring method

- เป็นวิธีที่เร็วและสะดวก

- สามารถหาค่า Log Pow ของสารประกอบที่ละลายน้อยๆ ได้

- ใช้ในการหาค่า Log Pow ของสารประกอบที่อยู่ในช่วง -2 ถึง 4

- ลดการเกิดอิมัลชั่น (emulsion) ที่เกิดขึ้นจากการเขย่าในวิธี Shake-flask

- ไม่สามารถหาค่า Log Pow ของสารประกอบที่ไม่ละลายได้

- ต้องทำการไทเทรตอย่างน้อย 3 ครั้ง

- สารประกอบที่มีค่า Log Pow น้อยกว่า 0.2 ไม่สามารถคำนวณได้ด้วยวิธีนี้

- เป็นวิธีที่ช้า

- ใช้เวลานานในการทดลอง

2. การหาค่า Log Pow โดยวิธีอ้อม (indirect method)

2.1 HPLC method

- ใช้ในการหาค่า Log Pow ของสารประกอบที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 6

- ใช้สารปริมาณน้อยในการคำนวณ

- วิธีนี้มีความเที่ยงต่ำ
 

เอกสารอ้างอิง :

1. โอภา วัชระคุปต์ และคณะ. เคมีของยาฉบับที่ 1. กรุงเทพ ฯ : พี.เอส.พริ้นท์, 2551

2. Leo, A.; Hansch, C.; D. Elkins. Chem. Rev., 1971, 71, 525–616.

3. J. Sangster. Octanol-Water Partition Coefficients: Fundamentals and Physical Chemistry, Vol. 2 of Wiley Series in Solution Chemistry. 1997, Chichester: John Wiley & Sons Ltd., pp. 178 pages.

4. OECD guidelines for the testing of chemicals No.107. 1995.

5. OECD guidelines for the testing of chemicals No.117. 2004.

6. OECD guidelines for the testing of chemicals No. 123. 2006.

7. Wikipedia. 2007. Avialable: http://en.wikipedia.org/wiki/Partition_coefficient (accessed 6 March 2007).

8. Mark Earll. Avialable: http://www.raell.demon.co.uk/chem/logp/logppka.htm (accessed 13 November 2006).  

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
QSAR - QSAR สำหรับการทำนายความเป็นพิษของสารเคมี
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:5

ผมสงสัยว่า ไอ้ข้อกำหนดที่ว่า Log Pow < 1 แสดงว่าสารละลายในชั้นน้ำได้ดีกว่าชั้นน้ำมัน  แต่ถ้าค่า Log Pow > 1 แสดงว่าสารชอบที่จะละลายในชั้นน้ำมันมากกว่า นี่สามารถนำไปอธิบายการทดลองอื่นที่ เปลี่ยน octanol เป็น butanol และก็น้ำเหมือนเดิมได้หรือไม่ โดยใช้เหตุผลเดียวกัน


โดย:  กาญจน์ภพ  [2 ก.ค. 2555 10:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:6

Just what the doctor odreerd, thankity you!

โดย:  Radouane  [24 ส.ค. 2555 23:50]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น