สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สารเคมีที่เป็นข่าวระดับโลก

Bisphenol A (BPA)

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 21 ก.พ. 2554
            Bisphenol A (BPA) เป็นส่วนประกอบสำคัญของพลาสติกและเรซิน ชนิด polycarbonate ที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประจำวัน ตั้งแต่เคลือบภายในกระป๋องอาหารจนถึงขวดนมทารก ในสหรัฐอเมริกามีการผลิต BPA โดย 5 บริษัทเป็นมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  ผลกระทบต่อสุขภาพเกี่ยวกับพัฒนาการและระบบสืบพันธุ์ตลอดจนการก่อมะเร็ง การศึกษาวิจัยถึงอันตรายของ BPA ได้รับความสนใจและโต้เถียงกันยาวนานมาก กว่าจะเป็นที่ยอมรับ เริ่มต้นมีนักวิจัยชื่อว่า Gail Trins ซึ่งเชี่ยวชาญด้าน reproductive physiology มหาวิทยาลัยอิลินอยส์ในชิคาโก เปิดเผยการวิจัยในสัตว์ทดลองว่า BPA มีผลต่อพัฒนาการ cognitine และระบบสืบพันธุ์ จากนั้นมาก็มีการโต้แย้งผลงานวิจัยตามมายาวนาน ทั้งจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยและงานวิจัยของฝ่ายอุตสาหกรรม ถึงขนาดที่สถาบัน National Institute of Environmental Health Sciences (NIEHS) ต้องทุ่มงบประมาณและการจัดการ ให้รวมตัวกันทำวิจัยขนานใหญ่ในทุกด้าน  ทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านพิษวิทยา ด้านต่อมไร้ท่อ  ด้านชีววิทยาทางเซลล์ ฯลฯ เพื่อให้ได้ผลที่ถือว่าเป็นกลางและเชื่อถือได้ ก่อนหน้านี้การโต้แย้งถึงข้อค้นพบเกิดจากการใช้วิธีที่ต่างกัน  ฝ่ายอุตสาหกรรมก็ถือว่าได้ใช้วิธีการศึกษาตามแนวทางมาตรฐาน และแนวทางของ GLP (Good Laboratory Practice) แต่เนื่องจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศึกษาในเชิงลึกเกินกว่า แนวทางมาตรฐานจะเข้าถึงไม่เหมือนการศึกษาผลของ asbestos การศึกษานี้สามารถเข้าไปดูถึงกลไกทางชีววิทยาว่าสารได้เข้าไปในระดับที่การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน (modify gene expression) ไม่ใช่การเปลี่ยนลำดับยีนในระยะยาว  ความผิดปกติถูกกระตุ้นผ่านคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน oestrogen  กระบวนการศึกษาความเป็นพิษของ BPA ได้พัฒนาไปเป็นวิธีการศึกษาตัวขัดขวางการทำงานของฮอร์โมน (endocrine disruptor) ในการทดสอบการเจริญพันธุ์ ซึ่งได้รับการยอมรับในปี ค.ศ. 2009 ก่อนหน้านั้นเมื่อมีเสียงเรียกร้องถึงความปลอดภัยจากผู้บริโภค จึงมีการจำกัดการใช้ไปบ้างแล้ว เช่น ในแคนาดา และเดนมาร์ก ห้ามใช้ BPA ในขวดนม ของเล่น และผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ใช้กับเด็ก
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

อีกหน่อย มนุษย์คงต้องกลายพันธ์แน่เลย เพราะยังมีสารเคมีอีกตั้งมากมายที่ก่อปัญหาแก่เราได้ และในความเป็นจริงจะช้าเร็วก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยังมีเรื่องอื่นๆอีกสารพัดเลย
เฮ้อ..สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  

โดย:  สมชาย  [18 ม.ค. 2555 09:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:5

Heck yeah this is extacly what I needed.

โดย:  Omsin  [24 ส.ค. 2555 07:35]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น