สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สารเคมีที่เป็นข่าวระดับโลก

DDT (Dichlorodiphenyl trichloroethane)

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 24 ม.ค. 2554

            DDT (Dichlorodiphenyl trichloroethane) เป็นสารเคมีกลุ่มออร์แกนโนคลอรีนใช้กำจัดแมลง ความนิยมในอดีตอันยาวนานทำให้ชื่อ DDT ติดปากจนกลายเป็นชื่อสามัญของสารฆ่าแมลงไม่ว่ายี่ห้อใดก็ตาม เราก็เรียกเป็น DDT ไปหมด สารนี้สังเคราะห์ขึ้นมาได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1874 แต่ไม่รู้จักการใช้จนปี ค.ศ. 1939 เมื่อ Hermann Müller ชาวสวิส ค้นพบประสิทธิภาพของมันเกิดการผลิตใช้กันอย่างแพร่หลาย จน Müller ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1948 ช่วงระยะเวลาก่อนสงครามโลก มีการระบาดของโลกมาลาเรียอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ DDT จึงเป็นคำตอบของการกำจัดยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การระบาดลดลง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 DDT ได้ถูกใช้ในภาคเกษตรด้วย ปัญหามาลาเรียทำให้องค์การอนามัยโลกจำเป็นต้องมีแผนขจัดโรคโดยการกำจัดยุง DDT จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดขณะนั้น (ค.ศ.1955) สามารถลดการเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียได้อย่างดียิ่ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1962 เริ่มมีการเคลื่อนไหวและต่อต้านการใช้ DDT ซึ่งจุดประกายมาจากหนังสือ Silent Spring ของ Rachel Carson ในประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ DDT นับเป็นสัญลักษณ์ของความเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ผู้เขียนเปิดประเด็นเรื่องการใช้สารเคมีทั้งๆ ที่ยังไม่เข้าใจต่อผลกระทบอย่างแท้จริง  มีการค้นพบว่า DDT นอกจากจะกำจัดแมลงศัตรูพืชและยุงได้แล้วยังคุกคามต่อสัตว์ป่าทั่วไปโดยเฉพาะนก เป็นสารก่อมะเร็งในคนและมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ด้วย DDT เข้าไปลดการสร้างแคลเซียมของเปลือกไข่ทำให้เปลือกไข่บางลงร้อยละ 10 - 12 เมื่อเทียบกับก่อนมีการใช้ DDT อันตรายของ DDT เป็นเพราะมันเป็นสารที่ละลายได้ดีในไขมัน ไม่ละลายน้ำ มันจึงถูกดูดซึมเข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้รวดเร็ว ดูดซับในดินได้ดี ความเสถียรของมันทำให้สลายหรือทำลายได้ยาก จึงตกค้างและสะสมในสิ่งแวดล้อมได้นาน เมื่อความจริงปรากฏเช่นนี้จึงมีการยกเลิกการผลิตการใช้ตามมา สหรัฐอเมริกาห้ามผลิตตั้งแต่ ค.ศ. 1972 หลายๆ ประเทศพัฒนาแล้วได้ยกเลิกทั้งผลิตและการใช้ แต่ยังมีการใช้จำกัดอยู่ในบางพื้นที่ที่มีปัญหามาลาเรียอย่างรุนแรงโดนเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั้งหลาย เพราะยังไม่มีวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดยุงและราคาถูกเท่า DDT อนุสัญญาสต็อกโฮมส์ที่มีนานาประเทศเป็นภาคีได้ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2004 รวม DDT ไว้ในรายการสารด้วย

            จากความเป็นพระเอกของ DDT ในยุคหนึ่งจึงแปรเปลี่ยนเป็นผู้ร้ายไปเมื่อตัวตนของ DDT เป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นในยุคต่อมา

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
DDT
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

http://en.wikipedia.org/wiki/DDT        DDT        IUPAC  Name  :  1,1,1-trichloro-2,2-di(4-chlorophenyl)ethane        CAS No.  :  50-29-3        
http://www.3dchem.com/molecules.asp?ID=90        
http://www.epa.gov/history/topics/ddt/01.htm        
http://www.atsdr.cdc.gov/tfacts35.html        
http://www.pesticideinfo.org/Detail_Chemical.jsp?Rec_Id=PC33482

โดย:  นักเคมี  [25 ม.ค. 2554 06:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ตอนนี้กำลังทำใบงานเก็บคะแนน งงกับดีดีที เหลือเกิน
ขอบคุณ

โดย:  เพชร  [15 ก.ย. 2554 21:21]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:6

สารเคมีพวกนี้เป็นสิ่งอันตราย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างย่ิงที่ต้องศึกษาให้ดี

โดย:  Go Mi Num  [30 มี.ค. 2555 08:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:7

Fell out of bed feeilng down. This has brightened my day!

โดย:  Ilsa  [25 ส.ค. 2555 08:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:8

ผมว่าคู่แข่งสู้ไม่ได้เลยหาเรื่องว่ายาอันตรายแต่จริงๆผมไม่อันตรายกับคนแต่กับยุงและแมลงเท่านั้น

โดย:  Korn  [22 ก.ค. 2564 10:39]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น