สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สารเคมีที่เป็นข่าวระดับโลก

PCB (Polychlorinated biphenyl)

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 9 ก.พ. 2554
            PCB (Polychlorinated biphenyl) โครงสร้างโมเลกุลที่บ่งบอกโดยชื่อ ประกอบด้วยวงแหวนเบนซีน 2 วง และมีคลอรีนเกาะอยู่ด้วยแล้วแต่จำนวน จึงเป็นชื่อของกลุ่มสารที่มีโครงสร้างเดียวกันแต่ต่างกันที่จำนวนคลอรีนที่มี เริ่มมีการผลิตในสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1930 และยุติไปในปีค.ศ. 1979 PCB มีลักษณะเป็นของเหลวข้นเหนียวสีเหลือง ไม่ละลายน้ำ ละลายในไขมัน จึงซึมเข้าผิวหนังและเข้าสู่สิ่งมีชีวิตได้ ความเสถียรของมันทำให้ทำลายหรือสลายได้ยาก ประโยชน์ของมันมีใช้หลากหลายในหลายชื่อแล้วแต่ประเทศ เช่น ชื่อ Aroclor ในสหรัฐอเมริกา ปริมาณการใช้สูงสุดอยู่ในปีค.ศ. 1960 มีการใช้ในหม้อแปลง (Transformer) ใน Capacitor และใช้เป็นตัวถ่ายเทความร้อน ลักษณะความเป็นฉนวนและไม่ไวไฟของมัน จึงมีการใช้ในการผลิตสายไฟ ใช้เติมในพลาสติก PVC เป็น Plasticizer ในสี การทำลายที่ได้ผลและปลอดภัยที่สุด คือ การเผาที่อุณหภูมิสุดถึง 1200 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศที่มีออกซิเจนมากเพียงพอ เมื่อมีผลงานวิจัยชี้ถึงความเป็นสารก่อมะเร็ง จึงได้มีความตื่นตัวถึงผลกระทบอื่นๆ ตามมา เพราะในโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าใหญ่ๆ ที่ผลิต Transformer เช่น GE จะปล่อยทิ้งน้ำมันที่ปนเปื้อน PCB ลงดินและน้ำ PCB จึงกระจายออกไปในวงกว้าง ลงสู่น้ำใต้ดิน และตรวจพบได้ในพื้นที่ที่ห่างไกลออกไปอย่างขั้วโลกอาร์ติก ปีค.ศ. 1970 เริ่มมีการเตือนถึงอันตรายจากการพบซากนกที่มีปริมาณ PCB สูง คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้อง มีอาการผิดปกติที่ผิวหนังและตับ รอบเดือนผิดปกติ เกิดการคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อยผิดปกติ พัฒนาการของเด็กช้าซึ่งน่าจะมาจากน้ำนมแม่ เมื่อปรากฏสัญญาณเตือนเหล่านี้มากขึ้น ในปีค.ศ.1973 สหรัฐฯ ประกาศห้ามใช้ในลักษณะของระบบเปิด เช่น ใช้เป็น plasticizer เป็นสารหน่วงไฟ เป็นส่วนผสมในสี แต่ยังใช้ได้ในระบบปิดของ transformer และ capacitor ซึ่งก็น่าจะยังมีการหลุดรั่วออกไปปนเปื้อนน้ำและดินได้ สำหรับอังกฤษประกาศห้ามใช้ในการผลิตใหม่ในปีค.ศ. 1981 และหยุดการใช้ทั้งหมดในปีค.ศ.2000 PCB เป็นสารตัวหนึ่งที่อยู่ในรายการต้องห้ามของอนุสัญญาสต็อกโฮมส์
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Polychlorinated biphenyls
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

 ในประเทศไทยของเราพบสารตัวนี้รึยังค่ะแล้วมีกฏหมายบังคับไหมค่ะ

โดย:  ิEye  [6 ธ.ค. 2554 18:07]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น