2014-2014
ลำดับ |
วัน/เวลา เกิดเหตุ |
เหตุการณ์ / สถานที่ |
ความเสียหาย / การจัดการ |
ประเภทวัตถุเคมี |
ที่มา |
1 | 20 พ.ย. 2557 | - รถบรรทุกน้ำมันไฟลุกไหม้ ขณะกำลังเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจำนวน 4 หมื่นลิตร - โรงเก็บน้ำมันคำมูลปิโตรเลียม เลขที่ 213 หมู่ 2 ต.ท่าหมื่นราม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก |
- มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากไฟลวก 1 คน รถบรรทุกทั้ง 3 คันไหม้เสียหายทั้งหมด มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาท - เจ้าหน้าที่ระดมกำลังฉีดน้ำและโฟม ใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง จึงควบคุมไว้ได้ทั้งหมด |
4 | |
2 | 8 พ.ย. 2557 17:30 น. |
- เรือบรรทุกน้ำมัน 46,000 ลิตร เกิดระเบิดไฟลุกไหม้ขณะลอยไปตามลำน้ำโขง - ท่าเรือห้าเชียง บ้านสบรวก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย |
- ลูกเรือบาดเจ็บสาหัส 2 ราย - เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ และ นรข.ได้นำเรือออกตีน้ำสกัดไม่ให้เรือลำดังกล่าวเข้าหาฝั่งได้ และประกาศให้เรือที่จอดอยู่ริมตลิ่งเคลื่อนย้ายออกจากฝั่งอย่างเร่งด่วน เพราะเกรงว่าเรือที่เกิดเพลิงไหม้จะเข้าชนแล้วเกิดการลุกไหม้เรือลำอื่น |
4 | |
3 | 6 พ.ย. 2557 | - รถบรรทุกชนท้ายรถบรรทุกก๊าซแอลพีจี ขนาด 18 ตัน ส่งผลให้วาล์วก๊าซรั่ว - ถนนลาดกระบังขาเข้า ตรงข้าม ซ.ลาดกระบัง 3/1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. |
- รถบรรทุกก๊าซแอลพีจียางหลังซ้ายด้านนอกแตกทั้ง 2 เส้น และมีก๊าซแอลพีจีรั่วไหลออกมาจากวาล์วด้านข้างของตัวรถเป็นจำนวนมาก - เจ้าหน้าที่จากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ได้ใช้รถน้ำจำนวน 4 คัน ระดมฉีดน้ำเป็นฝอย เพื่อไม่ให้ก๊าซแอลพีจีฟุ้งกระจายมากไปกว่านี้ โดยทางเจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการควบคุมสถานการณ์กว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด |
4 | |
4 | 17 ก.ค. 2557 10:35 น. |
- สารเคมีเป็นของเหลวไวไฟอันตราย Class 3 ชื่อ UN No.2348 (BUTYL ACRYLATES,STABILIZED) รั่วไหลจากเรือ ขณะจอดอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง - บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง B3 |
- มีการอพยพนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนเทศบาล 3 ออกจากโรงเรียน และให้เดินทางกลับบ้านได้ เบื้องต้นนำส่งผู้ป่วยที่โรงพยาบาลวิภาราม จำนวน 8 ราย โรงพยาบาลแหลมฉบัง 40 ราย และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 46 ราย - เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ดำเนินการอุดสารเคมีที่รั่วไว้ได้แล้ว และเคลื่อนย้ายเข้าไปบริเวณโกดังสินค้าอันตรายเป็นที่เรียบร้อย |
4 | |
5 | 24 มี.ค. 2557 15:30 น. |
- รถพ่วงบรรทุกกำมะถันเหลวรั่วไหล - บนถนนสาย 36 บางนา-ตราด ขาเข้าระยอง ก.ม.ที่ 43-44 |
- กำมะถันเหลวรั่วไหลกว่า 30 ตัน การจราจรติดขัดกว่า 1 ชั่วโมง - เจ้าหน้าที่ทำการปิดการจราจร ใช้เวลาในการควมคุมควันประมาณ 30 นาที |
4 |
1. | หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544) |
2. |
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ |
3. |
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
4. |
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ |
5. |
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม |
6. |
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
7. |
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |