2014-2014
ลำดับ |
วัน/เวลา เกิดเหตุ |
เหตุการณ์ / สถานที่ |
ความเสียหาย / การจัดการ |
ประเภทวัตถุเคมี |
ที่มา |
1 | 20 ส.ค. 2557 08:00 น. |
- คนงานซ่อมเครื่องจักรผลิตน้ำแข็ง เกิดระเบิดขึ้น ทำให้แอมโมเนียฟุ้งกระจายไปยังชุมชนโดยรอบ - โรงน้ำแข็ง สุจิระ ตั้งอยู่ติดถนนสุขุมวิท หมู่ที่ 5 ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง |
- คนงาน 6 คน บาดเจ็บจากการสูดดมก๊าซแอมโมเนีย รวมไปถึงชาวบ้านโดยรอบมีอาการ คลื่นไส้ วิงเวียน แสบตา และแสบจมูก - เจ้าหน้าที่ฉีดสเปรย์น้ำสกัดไม่ให้แอมโมเนียฟุ้งกระจายใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง จึงควบคุมสถานการณ์ได้ |
4 | |
2 | 3 ก.ค. 2557 19:00 น. |
- คนงานทำการเชื่อมถังรถบรรทุกน้ำมันขนาด 20,000 ลิตร แล้วเกิดเหตุระเบิดขึ้น - บริษัทเมทกา ปิโตรเลี่ยม 89/5 ม.1 ต.หนองหงส์ อ.พานทอง จ.ชลบุรี |
- มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 4 คน - เจ้าหน้าที่นำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแล้ว อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเข้าตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ |
4 | |
3 | 2 เม.ย. 2557 12:30 น. |
- มีคนงานก่อสร้างนำแท่งเหล็กมา 3 ท่อนที่ขุดพบในโครงการก่อสร้างมาขายโรงรับซื้อของเก่า แล้วคนงานโรงรับซื้อของเก่าได้นำท่อนเหล็กดังกล่าวมาตัดออกจนเกิดระเบิด คาดว่าท่อนเหล็กดังกล่าว น่าเป็นระเบิดชนิดรุนแรงที่ใช้ในสงคราม หรือ มีระเบิดอยู่ภายในท่อนเหล็กดังกล่าว - โกดังเก็บของเก่า ภายในซอยลาดปลาเค้า 72 |
- มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บเบื้องต้นมีประมาณ 10 ราย - เจ้าหน้าตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ถึงที่เกิดเหตุแล้ว อยู่ระหว่างควบคุมเพลิง ส่วนสาเหตุของแรงระเบิดดังกล่าวอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเกิดจากเหตุใด |
4 | |
4 | 27 ก.พ. 2557 | - ชาวบ้านพบสารเคมีลักลอบทิ้งกลางไร่มันสำปะหลังมานาน จนเกิดเพลิงไหม้ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันดับไฟนานกว่า 10 ชั่วโมง เพลิงจึงสงบ แต่ยังส่งกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน - หมู่ 3 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี |
- ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากโรงงานประมาณ 200 เมตรทำให้พนักงาน1,000 คน ต้องเลิกงานก่อนเวลา เนื่องจากไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นได้ เพราะเมื่อได้รับกลิ่นจะเกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน - ชาวบ้านช่วยกันใช้น้ำดับแต่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสารเคมีได้ไหลซึมลงสู่ใต้ดินมานานแล้ว และคาดว่ามีปริมาณมาก ซึ่งยากต่อการใช้น้ำดับ ซึ่งลักษณะของสารเคมีจะจับตัวเป็นก้อนนิ่มไม่แข็งมาก |
4 |
1. | หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544) |
2. |
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ |
3. |
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
4. |
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ |
5. |
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม |
6. |
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
7. |
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |