2014-2014 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทวัตถุเคมี
ที่มา
1 28 ก.ค. 2557
13:00 น.
- ไฟไหม้ห้องแล็บวิทยาศาสตร์
- ห้องแล็บสารเคมีอันตราย ภายในศูนย์ทดสอบมาตรวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สถาบันยานยนต์ ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ชอย 1 แยก 2 พัฒนา ต.บางปูใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ 
- มีผู้ได้รับบาดเจ็บด้วยกัน 4 ราย ในจำนวนนี้มี 1 รายที่มีอาการหนักจากการสูดดมควันพิษ
- เจ้าหน้าที่ได้ใช้เคมีดับเพลิงเข้าไปทำการดับไฟที่ยังลุกไหม้อยู่ที่ท่อส่งอากาศ ใช้เวลาในการสกัดเพลิง 20 นาที จึงสงบ พบว่าอุปกรณ์และเคมีบางส่วนได้รับความเสียหาย 
4
2 12 ก.ค. 2555
11:00 น.
- เหตุเพลิงไหม้ห้องแล็บ ใช้ศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์มีกลุ่มควันและเพลิงพวยพุ่งออกมาจำนวนมาก
- ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้น 1 อาคารจุฬาพัฒน์ 4 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซอยจุฬาฯ 12 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 
- สำรวจความเสียหายเบื้องต้นพบอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์และฝ้าเพดานถูกเพลิง เผาผลาญเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางวา มีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย มีอาการสำลักควันและถูกไฟลวกที่แขนเล็กน้อย จำนวน 3 คน
- เจ้าหน้าที่ชุดผจญเพลิงต้องนำหัวฉีดน้ำเข้าสกัดกั้นนาน 20 นาที กว่าเพลิงจะสงบ 
4
3 19 ต.ค. 2554
16:20 น.
- เพลิงลุกไหม้ห้องเย็นเก็บตัวยาสำหรับใช้ในการฆ่าเชื้อไข้หวัดนก และตัวยาใช้ในการตรวจวิจัยโรคสัตว์
- ห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์ปีกทางชีวภาพ ระดับ ๓ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงตอนล่าง ตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๑๓ ถนนสายสุรินทร์-ปราสาท ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ 
- ภายในตู้คอนเทนเนอร์ ห้องเย็น มีกลุ่มควัน และกลิ่นฉุน จากการเผาไหม้สารเคมีกระจายทั่วบริเวณ
- เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบและประสานรถดับเพลิงจากองค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงเข้าทำการดับเพลิง จำนวน ๖ คัน เข้ามาช่วยกันสกัดเพลิงไม่ไห้ลุกไหม้ลามต่อไป 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย