2014-2014 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทวัตถุเคมี
ที่มา
1 20 ส.ค. 2557
08:00 น.
- คนงานซ่อมเครื่องจักรผลิตน้ำแข็ง เกิดระเบิดขึ้น ทำให้แอมโมเนียฟุ้งกระจายไปยังชุมชนโดยรอบ
- โรงน้ำแข็ง สุจิระ ตั้งอยู่ติดถนนสุขุมวิท หมู่ที่ 5 ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง 
- คนงาน 6 คน บาดเจ็บจากการสูดดมก๊าซแอมโมเนีย รวมไปถึงชาวบ้านโดยรอบมีอาการ คลื่นไส้ วิงเวียน แสบตา และแสบจมูก
- เจ้าหน้าที่ฉีดสเปรย์น้ำสกัดไม่ให้แอมโมเนียฟุ้งกระจายใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง จึงควบคุมสถานการณ์ได้ 
4
2 3 ก.ค. 2557
19:00 น.
- คนงานทำการเชื่อมถังรถบรรทุกน้ำมันขนาด 20,000 ลิตร แล้วเกิดเหตุระเบิดขึ้น
- บริษัทเมทกา ปิโตรเลี่ยม 89/5 ม.1 ต.หนองหงส์ อ.พานทอง จ.ชลบุรี 
- มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 4 คน
- เจ้าหน้าที่นำตัวผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแล้ว อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเข้าตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุ 
4
3 2 เม.ย. 2557
12:30 น.
- มีคนงานก่อสร้างนำแท่งเหล็กมา 3 ท่อนที่ขุดพบในโครงการก่อสร้างมาขายโรงรับซื้อของเก่า แล้วคนงานโรงรับซื้อของเก่าได้นำท่อนเหล็กดังกล่าวมาตัดออกจนเกิดระเบิด คาดว่าท่อนเหล็กดังกล่าว น่าเป็นระเบิดชนิดรุนแรงที่ใช้ในสงคราม หรือ มีระเบิดอยู่ภายในท่อนเหล็กดังกล่าว
- โกดังเก็บของเก่า ภายในซอยลาดปลาเค้า 72 
- มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บเบื้องต้นมีประมาณ 10 ราย
- เจ้าหน้าตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ถึงที่เกิดเหตุแล้ว อยู่ระหว่างควบคุมเพลิง ส่วนสาเหตุของแรงระเบิดดังกล่าวอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าเกิดจากเหตุใด 
4
4 27 ก.พ. 2557 - ชาวบ้านพบสารเคมีลักลอบทิ้งกลางไร่มันสำปะหลังมานาน จนเกิดเพลิงไหม้ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันดับไฟนานกว่า 10 ชั่วโมง เพลิงจึงสงบ แต่ยังส่งกลิ่นเหม็นสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน
- หมู่ 3 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 
- ที่เกิดเหตุอยู่ห่างจากโรงงานประมาณ 200 เมตรทำให้พนักงาน1,000 คน ต้องเลิกงานก่อนเวลา เนื่องจากไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นได้ เพราะเมื่อได้รับกลิ่นจะเกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ชาวบ้านช่วยกันใช้น้ำดับแต่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสารเคมีได้ไหลซึมลงสู่ใต้ดินมานานแล้ว และคาดว่ามีปริมาณมาก ซึ่งยากต่อการใช้น้ำดับ ซึ่งลักษณะของสารเคมีจะจับตัวเป็นก้อนนิ่มไม่แข็งมาก 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย