2014-2011 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทกิจกรรม
ที่มา
1 25 ต.ค. 2554 - น้ำไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่ท่วมโรงงานผลิตน้ำมันพืช ทำให้กากถั่วเหลืองและวัตถุดิบที่ใช้ผลิตน้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นก๊าซ 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซมีเทน แอมโมเนีย และไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า
- โรงงานผลิตน้ำมันพืชทิพ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 
- มีผู้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษ 5 ราย โดย 3 ราย มีอาการแน่นหน้าอก ระคายเคืองตาเล็กน้อย 1 ราย มีอาการอ่อนเพลีย อีก 1 ราย อาการหนัก ไม่รู้สึกตัว นอนในห้องไอซียู
- นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลชลประทานรังสฤษดิ์ และอพยพประชาชนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง 
4
2 25 ต.ค. 2554 - ชาวบ้านร้องเรียน ว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมลักลอบทิ้งกากเคมี และสารเคมีที่ยังไม่ได้ใช้
- บริเวณบ่อลูกรังร้าง บ้านสีเสียด ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 
- กากของเสียมีสีดำ กลิ้นเหม็นฉุน ส่งกลิ่นรบกวนชาวบ้าน
- ชาวบ้านแจ้งให้นายอำเภอศรีมหาโพธิรับทราบ 
4
3 9 ส.ค. 2554 - น้ำในคลองอู่ตะเภา มีกลิ่นเหม็นเน่าอย่างรุนแรง
- ในพื้นที่ รอยต่อระหว่างต.ทุ่งลาน อ.คลองหายโข่งและ ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 
- น้ำในคลองมีกลิ่นเหม็นเน่า ทั้งยังมีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย ปลา และกุ้งก้ามกราม ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ตายนับหมื่นตัว
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งยื่นมือเข้ามาตรวจสอบ 
4
4 26 ก.ค. 2554
14:00 น.
- ชาวบ้านร้องเรียนกับกรณีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง (บริษัท ซิง ไล ฟา จำกัด) ที่แอบลักลอบนำกากสารเคมีจากภาคอุตสาหกรรมมาฝังกลบ ทิ้ง
- บริเวณใกล้ปากอ่าวแม่น้ำบางปะกง พื้นที่ ม.3 ต.สองคลอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 
- ส่งผลกระทบทำให้ชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ และมีนักเรียนในโรงเรียนแสมขาววิทยาคาร ซึ่งมีรั้วติดกันได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นจากการฟุ้งกระจาย และฝุ่นปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าว
- เจ้าของกิจการจะเร่งดำเนินการ จัดหา และว่าจ้างบริษัทผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้กำจัดสารเคมีอันตราย เข้ามาดำเนินการอย่างเร่งด่วน ตามที่ทางจังหวัดเรียกให้เข้ามารับทราบปัญหา ภายใน 10 วัน และไม่เกิน 1 เดือน โดยที่หน่วยงานภาครัฐ ทั้งอุตสาหกรรมจังหวัด อบต.ท้องที่ รวมทั้งทางจังหวัดเอง จะเร่งอำนวยความสะดวกในการประสานขอใบอนุญาต เพื่อเอื้ออำนวยในการขนย้ายให้เร็วขึ้น 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย