2014-2011 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทกิจกรรม
ที่มา
1 15 ธ.ค. 2554 - ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนงานในการเชื่อมท่อระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ ซึ่งมีคราบน้ำมัน DOP (น้ำมันที่ใช้เป็นส่วนผสมทำให้พีวีซีมีความนิ่มคงตัว) ทำให้เกิดความร้อนสะสมจนเกิดกลุ่มควันขนาดใหญ่แต่ยังไม่ลุกติดไฟ
- บ. อาร์ต อุตสาหกรรม จก. กรุงเทพฯ 
- มูลค่าเสียหาย 2 แสนบาท  4
2 22 พ.ย. 2554 - รถยนต์ติดแก๊ส แอลพีจี สายน้ำมันเกิดรั่ว และห้องเครื่องเกิดประกายไฟ จนเกิดเพลิงลุกไหม้
- บริเวณสี่แยกไฟแดง ร.ส.พ.กลางเมืองหนองคาย 
- รถเสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ  4
3 5 พ.ย. 2554 - เกิดคราบน้ำมัน
- ในซอยทางเข้าพระตำหนักจักรีบงกช จ.ปทุมธานี 
- คราบน้ำมันสีเหลืองแผ่กระจายเป็นระยะทางไกลตั้งแต่ปากซอยทางเข้า 800 เมตรไปจนถึงพระตำหนัก
- เจ้าหน้าที่ คพ. ได้ใช้สารชีวบำบัดภัณฑ์ (Bio Remediation) ฉีดพ่นบริเวณที่มีคราบน้ำมัน 
4
4 28 ต.ค. 2554
14:45 น.
- ประชาชนเขตชุมชนเทพพัฒนา พบว่ามีคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำจากอู่รถเมล์ลอยปะปนมากับน้ำที่ท่วม
- เขตชุมชนเทพพัฒนา ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 
- คราบน้ำมันจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตาได้ และทำให้น้ำเน่าเสียเร็วขึ้น
- สาธารณสุขแนะประชาชนหลีกเลี่ยงเดินลุยน้ำท่วมที่มีคราบน้ำมันลอยปะปน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังขึ้นจากน้ำขอให้รีบล้างฟอกสบู่และเช็ดให้แห้งทันที 
, 4
5 25 ต.ค. 2554
14:30 น.
- หม้อแปลงไฟฟ้าลัดวงจรระเบิด เปลวไฟไปถูกน้ำมันภายในหม้อแปลง เกิดเพลิงไหม้
- โรงไฟฟ้าย่อยบางพลี ริมถนนบางนา - ตราด หลักกิโลเมตรที่ 8 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 
- เพลิงไหม้หม้อแปลงและพื้นหญ้าบริเวณใกล้เคียงเป็นวงกว้าง ระบบไฟฟ้าตามบ้านเรือนประชาชนในเขตบางพลี บางนา ลาดกระบังบางส่วนดับ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
- เจ้าหน้าที่ดับเพลิงใช้น้ำยาเคมีฉีดสกัดเพลิง ภายใน 1 ชั่วโมงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ 
4
6 11 ต.ค. 2554
10:00 น.
- ใช้หัวแก๊สตัดถังน้ำมันขนาด 25,000 ลิตร ทำให้เกิดระเบิดขึ้น
- บริเวณถนนเลียบทางด่วน หมู่ 6 ต.บางเมืองใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 
- มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เสียชีวิต 1 ราย  4
7 12 มิ.ย. 2554 - รถตู้ติดตั้งระบบแก๊สร่วมกับระบบน้ำมมันเบนซีน ใช้หาเสียงทั้งวัน เกิดความร้อนและแก๊สรั่วไหล จนเกิดประกายไฟลุกไหม้
- บริเวณหน้าศูนย์ประสานงาน เลขที่ 137/1 ริมถ.สายนครศรีธรรมราช ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 
- รถตู้เสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ  4
8 10 พ.ค. 2554
08:00 น.
- รถเก๋งชนรถบรรทุกน้ำมันพลิกคว่ำ ที่โคราช
- บริเวณถนนมิตรภาพ บ.ดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา 
- น้ำมันดีเซลลจำนวนมากรั่วไหลทะลักไปตามคลองข้างทาง มีผู้บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เสียชีวิต 1 ราย
- เจ้าหน้าที่นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ประสานให้บริษัทเจ้าของรถบรรทุกน้ำมันนำเครื่องสูบมาถ่ายน้ำมันออกจากรถ 
4
9 22 เม.ย. 2554
15:30 น.
- รถบบรทุกน้ำมันของบริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด พลิกคว่ำ
- บริเวณถนนสายเอเชีย กม. ที่ 42-43 หมู่ 6 ต.หันสังข์ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา 
- มีการรั่วไหลของน้ำมัน ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต  4
10 5 เม.ย. 2554
10:50 น.
- ไฟไหม้เครื่องยนต์เที่ยวบินทีจี 131 ของบริษัทการบินไทย
- ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย 
- เกิดจากน้ำมันเครื่องบินท่วมเครื่องยนต์ ขณะสตาร์ทเครื่องเกิดประกายไฟไปถูกน้ำมันจนเกิดการลุกไหม้ ไม่มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
- รปภ.นำรถดับเพลิงมาฉีดสารเคมีดับไฟ และช่างได้ทำการซ่อมเครื่องเรียบร้อยแล้ว 
4
11 24 มี.ค. 2554
10:30 น.
- รถกระบะบรรทุกน้ำมันเถื่อนล้อหลังยางแตกพลิกคว่ำ
- หน้าโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยตรัง หมู่ 4 ต.บางรัก อ.เมือง จ.ตรัง 
- มีน้ำมันดีเซลรั่วไหล ส่งกลิ่นเหม็น
- เจ้าหน้าที่ประสานงานให้ขนถ่ายน้ำมันออกจากรถ ยกรถเก็บในที่ปลอดภัย พร้อมให้เจ้าหน้าที่สรรพสามิตตรวจสอบและจับกุม 
4
12 14 ม.ค. 2554
07:15 น.
- เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในคลังน้ำมันบางจาก
- บริเวณปล่องไฟ ภายในคลังน้ำมันของ บริษัท บางจากปิดตรเลียม (จำกัด) มหาชน สุขุมวิท 64 เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 
- ทำให้การจราจรบริเวณนั้นติดขัด ไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยระดมรถดับเพลิงและสารเคมีดับเพลิงเข้าระงับเหตุ พร้อมทั้งกันพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะระงับเหตุได้ 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย