2014-2010 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทกิจกรรม
ที่มา
1 26 พ.ย. 2553 - โรงงานน้ำแข็งแห่งหนึ่งใน จ.สุพรรณบุรี ปล่อยสารแอมโมเนียออกมาเป็นจำนวนมาก
- อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 
- ทำให้ชาวบ้านกว่า 500 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน บางคนเกิดอาการอาเจียนคลื่นไส้จนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล  4
2 25 ต.ค. 2553
09:30 น.
- ก๊าซแอมโมเนียโรงงานเชือดไก่ จ.ชลบุรีรั่ว หามคนงานนับ 100 ส่งโรงพยาบาล
- บริษัท จีเอฟเอ็น นิชิเร ประเทศไทย จำกัด บ้านห้วยมะระ ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี 
- ก๊าซแอมโมเนียรั่วออกมาจากห้องเชือดไก่ คนงานสูดดมก๊าซเกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและอาเจียน กว่า 100 ราย
- เจ้าหน้าที่นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล เจ้าที่เข้าตรวจสอบและเก็บหลักฐานไว้แล้ว 
4
3 22 ก.ย. 2553
09:19 น.
- สารเคมีสำหรับย้อมผ และกัดสีผม รั่วไหล มีกลุ่มควันส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณโดยรอบ จากการตรวจสอบสารเคมีเบื้องต้นพบว่า มีส่วนผสมของสาร 4 ชนิด ได้แก่ สารแอมโมเนีย สารโซเดียมเม็ตตาซีรีเคส สารโปรตัสเซียมเปอซันเฟส และสารโซเดียมราซีบีเกรส
- บริษัท บิวตี้ โปรเฟสชันนอล จำกัด เลขที่ 8/293 หมู่บ้านเซนเตอร์เพลส ถ.รามคำแหง ซอย 104 แขวงและเขตสะพานสูง  กทม. 
- ไม่ได้รับรายงานว่ามีประชาชนสูดดมสารเคมีดังกล่าว และได้รับอันตรายหรือไม่ /เจ้าหน้าที่ได้นำเชือกมากั้นพื้นที่โดยรอบของตัวอาคาร ให้เป็นพื้นที่อันตราย และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าว พร้อมให้ความรู้ในวิธีการป้องกันสารพิษเบื้องต้น
 
4
4 16 ก.ย. 2553
21:00 น.
- ก๊าซแอมโมเนียจากโรงงานผลิตน้ำแข็ง ของบริษัท ลีเต็กย้ง จำกัด รั่วไหลและฟุ้งกระจายทั่วบริเวณ
- โรงงานผลิตน้ำแข็ง ของบริษัท ลีเต็กย้ง จำกัด ถ.เลียบคลองเก้าฝั่งตะวันออก ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 
- ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลฟุ้งกระจายเป็นบริเวณกว่า 50 เมตร เจ้าของกิจการสูดดมขณะจะเข้าไปปิดวาล์ว อาการหน้ามืด แต่อาการไม่สาหัส  4
5 11 ก.ย. 2553
20:30 น.
- เกิดสารเคมีรั่วไหลภายในโรงน้ำแข็งเอเชีย จ.หนองคาย
- โรงน้ำแข็งเอเชีย บ้านหนองขาม ต.หนองกอมเกาะ จ.หนองคาย 
- คนงานสะดุดข้อต่อส่งแก๊สแอมโนเมีย ทำให้แก๊สรั่วไหลและกระจายอย่างรวดเร็ว คนงานและชาวบ้านกว่า 50 รายอาการไม่สาหัส
- เจ้าหน้าที่พาผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล 
4
6 17 ส.ค. 2553
01:18 น.
- สารเคมีเกิดรั่วไหล เบื้องต้นชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสารแอมโมเนีย
- โรงพยาบาลรัตนเวช จังหวัดพิษณุโลก 
- ทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงมีอาการเวียนศีรษะ ต้นไม้ที่ปลูกไว้หน้าบ้านยังเหี่ยวเฉาและหงิกงอด้วย
- เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้เก็บกู้สารเคมีที่รั่วไหล ย้ายออกไปจากพื้นที่แล้ว 
4
7 14 ก.ค. 2553 - ขณะเดินเครื่องปกติไม่พบมีการรั่วไหลของแอมโมเนีย แต่เมื่อหยุดเครื่องทำความเย็น มีการรั่วไหลที่รอยเชื่อมของท่อ Evaporative Condenser เนื่องจากอุณหภูมิของระบบหลังจากปิดระบบระบายความร้อนสูงขึ้น ทำให้ความดันของไอแอมโมเนียสูงขึ้นตามไปด้วย
- โรงงานผลิตน้ำแข็งซองและน้ำแข็งก้อนเล็กทในกรุงเทพมหานคร 
- ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เกิดแอมโมเนียรั่ว มูลค่าความเสียหาย 50,000 บาท  5
8 3 มี.ค. 2553 - มีการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนียจากเครื่องทำน้ำแข็งก้อนเล็ก
และน้ำดื่ม สาเหตุจากชุดโซลินอยด์วาล์วสำหรับปิด-เปิดแก๊ส
ร้อนเสียหาย
- โรงงานผลิตน้ำแข็ง จ.ขอนแก่น 
- ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต มูลค่าความเสียหาย 50,000 บาท  5
9 1 ม.ค. 2553
03:30 น.
- เกิดเหตุก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลภายในบริษัทสยามฟรีเสิร์ฟ ฟู้ดส์ ผลิตผลไม้กระป๋อง
- ถังแอมโมเนียภายในโรงงานบริษัท สยามฟรีเสิร์ฟ ฟู้ดส์ ตั้งอยู่ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธราม จังหวัดราชบุรี 
- เด็กหญิง 2 ราย เกิดอาการหายใจติดขัดและได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอาการดีขึ้นและกลับบ้านได้
- เทศบาลตำบลนำรถดับเพลิงเข้าไปฉีดสกัดก๊าซแอมโมเนียให้เจือจางและแจกจ่ายผ้าปิดจมูกให้กับชาวบ้าน 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย