2014-2011 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทกิจกรรม
ที่มา
1 9 ส.ค. 2554 - น้ำในคลองอู่ตะเภา มีกลิ่นเหม็นเน่าอย่างรุนแรง
- ในพื้นที่ รอยต่อระหว่างต.ทุ่งลาน อ.คลองหายโข่งและ ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 
- น้ำในคลองมีกลิ่นเหม็นเน่า ทั้งยังมีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย ปลา และกุ้งก้ามกราม ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ตายนับหมื่นตัว
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งยื่นมือเข้ามาตรวจสอบ 
4
2 14 ก.พ. 2554
13:30 น.
- ห้ามชาวบ้านเข้าใกล้ซาก"เอฟ16" หวั่นได้รับสารเคมีอันตราย
- พื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ 
- ซากเครื่องบินมีไฟไหม้เล็กน้อย
- คณะแพทย์จากกองบิน 1  ไปสำรวจซากเครื่องบิน พร้อมประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกันพื้นที่ห้ามชาวบ้านหรือผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใกล้ซากเครื่องบินเด็ดขาด เกรงว่าชาวบ้านที่เข้าไปดับไฟจะได้รับสารเคมี จึงประกาศให้ผู้ที่เข้าไปในช่วงแรกออกมาตรวจร่างกายกับหน่วยแพทย์ พร้อมเตือนประชาชนหากเกิดอาการระคายเคืองตัวให้รีบอาบน้ำให้สะอาด นำเสื้อผ้าไปซัก หากมีอาการแพ้ ได้กลิ่นแอมโมเนียหรือมีอาการอื่นๆ ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อความปลอดภัยจากเคมีที่ใช้ในเครื่องบิน
 
4
3 17 ม.ค. 2554
10:00 น.
- เกิดเหตุสารแอมโมเนียรั่วไหลจากขั้นตอนการผลิตน้ำแข็งหลอดของโรงงานนำแข็งสุขสวัสดิ์ ลงสู่ลำธารสาธารณะ และเกิดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียกระจายไปในบริเวณใกล้เคียง
- โรงน้ำแข็งสุขสวัสดิ์ ริมถนนเก้ากิโล หมู่ 3 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 
- ชาวบ้านในหมู่บานอุดมสุขและบริเวณใกล้เคียงสูดดมกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย ทำให้แสบระคายเคืองตา แน่นหน้าอก และหายใจไม่ออก
- มีการอพยพชาวบ้านบริเวณดังกล่าวออกจากพื้นที่นั้น จนกว่ากลิ่นจะเจือจางจึงกลับเข้าไปในบ้านได้ เจ้าหน้าที่สั่งปิดโรงงานชั่วคราวจนกว่าจะซ่อมระบบเสร็จ ปิดสถานรับเลี้ยงเด็กที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น 1 วัน 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย