สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อโรค: ออกาโนฟอสเฟตและคาบาเมต, เฉียบพลัน (Organophosphate & carbamates, acute)
กลุ่มโรค: พิษเฉียบพลัน (Acute Poison)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง: เฉียบพลัน - รุนแรง (Acute-Severe)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. ปี 2545 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยโรคพิษสารกำจัดศัตรูพืชจำนวน 2,571 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.11 ต่อประชากรแสนคน จำแนกเป็นเพศชาย  1,506 ราย เพศหญิง 1,065 ราย เสียชีวิต 11 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.02 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.4 ภาคเหนือมีรายงานการป่วยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ภาคใต้มีรายงานการป่วยต่ำที่สุด จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร พิจิตร สุโขทัย อุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และ ลำพูน ภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง และ สุพรรณบุรี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุดรธานี และ เลย  สารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสาเหตุของการป่วยมากที่สุด ได้แก่ สารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต
    แหล่งอ้างอิง:สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออนไลน์บนเว็บไซต์ http://www.hiso.or.th/hiso/analystReport/picture/5_lesson2.doc
  2. พื้นที่ที่มีปัญหาร้องเรียนจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ สวนส้มในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ฝาง อ.ไชยปราการ และอ.แม่อาย พบว่ามีการใช้สารเคมีทางการเกษตรหลายชนิดผสมกันในการฉีดพ่น ได้แก่ ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan) กลุ่มคลอริเน็ตเต็ดไฮโดรคาร์บอน (Chorinated Hydrocarbons) คลอไพริฟอ (chorpyrifos) อะบาเม็คติน(Abamectin) เมธโธมิล (Methomyl) และคาร์เบนมาซิน (Carbenmazim) กลุ่มคาร์บาเมท (Carbamate) ไดเมทไธเอท (Dimethoate) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates)  และสารกลุ่มกำจัดวัชพืช ได้แก่ ไกลโฟเสท (Glyphosate)  แมนโคเซบ (Mancozeb) เมตาแลกซิส (Metalaxyl) และกรัมม๊อกโซน (Grammoxone หรือ Paraquat) นอกจากนี้ยังมีการใช้สารอันตรายต้องห้าม 2 ชนิด ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คือ เมธามิโดฟอส (Methanidophos) และ โมโนโตฟอส (Monotophos ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและปัญหาทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  เดือนธ.ค. 2546 - ก.ค. 2547 พบว่า ประชาชนร้อยละ 25.7 มีอาการเวียนศรีษะ รองลงมาคืออาการหน้ามืด ร้อยละ 9.9 โดยประชากรในกลุ่มอายุ 43-59 ปี จะมีอาการมากที่สุด ยังพบอาการผิดปกติของผิวหนังโดยมีอาการผื่นคัน ร้อยละ 62.2 รองลงมาคือมีผิวหนังเป็นผื่นแดง คิดเป็นร้อยละ 26.9  จากข้อมูลสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกย้อนหลังในช่วงปี 2540-2544 ของประชาชนใน 3 อำเภอดังกล่าว พบว่า สาเหตุของการป่วยอันดับแรก คือ โรคระบบทางเดินหายใจ รองลงมาคือ โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึด โรคระบบย่อยอาหารรวมช่องปาก โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ในปี 2544 พบว่ามีเกษตรกรที่มีปริมาณสารออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมทตกค้างอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย ใน อ.ฝาง และ อ.แม่อาย คิดเป็นร้อยละ 12.11 และ 8.70 ตามลำดับ
    แหล่งอ้างอิง:สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ http://www.hiso.or.th/hiso/analystReport/picture/5_lesson4.doc

สารเคมี/สิ่งที่สัมผัสที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].