สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อโรค: โรคซิลิโคสิส หรือโรคปอดเนื่องจากการสูดผงซิลิก้า แบบเฉียบพลัน (Silicosis, acute)
กลุ่มโรค: โรคปอดผิดปกติเนื่องจากเนื้อเยื่อในปอดอักเสบหรือเป็นแผล (Interstitial Lung Disease)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง: กึ่งเฉียบพลัน (Subacute)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. มีรายงานโรคซิลิโคสิสครั้งแรกในประเทศไทยในผู้ป่วยชาย อายุ 27 ปี เป็นกรรมกรเหมืองแร่วุลแฟรม ต.ปิล๊อก จ.กาญจนบุรี ต่อมาพบผู้ป่วยซิลิโคสิสจำนวนหนึ่งจากคนงานสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และเขื่อนภูมิพล จ. ตาก ต่อมานายแพทย์ธาดา และคณะ ได้รายงานผู้ป่วยซิลิโคสิส 5 ราย จากคนงานเหมืองฟลูออไรด์ ต.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ต่อมาพบผู้ป่วยซิลิโคสิสจำนวนมากเป็นกรรมกรเหมืองแร่วุลแฟรมที่ ต.เขาศูนย์ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ปี 2515 พบผู้ป่วยที่เข้าได้กับโรคซิลิโคสิส และวัณโรคร่วมด้วยจำนวนมากในคนทำครกหิน จ.พะเยา ปี 2538 พบอาการเข้าได้กับโรคซิลิโคสิสในคนทำครกหิน จ.พะเยา จำนวน 61 ราย (ร้อยละ 9.0) และวัณโรคปอดจำนวน 13 ราย(ร้อยละ 1.9)  ปี 2540 ผลการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาพบว่า อัตราความชุกของการเกิดโรคซิลิโคสิสในครู 21.3%(พบ 10 คน จากครูทั้งหมด 47 คน) ปี 2544 ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพมีคนงานที่ได้รับภาพรังสีฟิล์มใหญ่ 4,572 คน พบวัณโรคปอด 17 คน ซิลิโคสิส 84 คน วัณโรคร่วมกับซิลิโคสิส 2 คน
    แหล่งอ้างอิง:สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมhttp://www.hiso.or.th/hiso/analystReport/picture/5_lesson3.doc และโรคปอดฝุ่นหินทราย(โรคซิลิโคสิส)  กองอาชีวอนามัย  กรมอนามัย  กระทรวงสารธารณสุข, สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].