สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อโรค: โรคบิสสิโนสิส หรือโรคปอดฝุ่นฝ้าย (Byssinosis)
กลุ่มโรค: โรคทางเดินหายใจ (Airway Disease)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง: เรื้อรัง (Chronic)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมสิ่งทอจำนวนมากและพนักงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากฝุ่นฝ้ายหรือโรคบิสสิโนสิส  หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานประกอบการยังไม่ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ปี 2544 กองอาชีวอนามัยได้พัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองเบื้องต้นให้มีความเหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานสามารถให้บริการเฝ้าระวังสุขภาพแก่พนักงานในโรงงานสิ่งทอได้จำนวนมากขึ้น   โดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสุขภาพในโรงงานสิ่งทอในจังหวัดสมุทรปราการ  จากนั้นได้รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ผล แล้ว จัดทำเป็นแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังสุขภาพในสถานประกอบการสิ่งทอ  และทดลองใช้ในพื้นที่เขต  1 นนทบุรี, เขต 4 ราชบุรี, เขต 5 นครราชสีมา, เขต 6  ขอนแก่นและ เขต 7 อุบลราชธานี โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกันเบื้องต้นแก่ผู้ปฏิบัติงาน  การใช้อุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจตลอดระยะเวลาการทำงาน  รวมทั้งพัฒนาคู่มือแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
    แหล่งอ้างอิง:สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมhttp://www.hiso.or.th/hiso/analystReport/picture/5_lesson3.doc
  2. 2538 เกิดกรณีลูกจ้างจากโรงงานทอผ้ากรุงเทพจำกัดจำนวน 37 ราย ซึ่งทำงานมา 9-30 ปี ฟ้องร้องให้ดำเนินคดีผู้ประกอบการ เนื่องจากเป็นต้นเหตุทำให้ลูกจ้างล้มป่วยลงด้วยโรคบิสสิโนสิสตั้งแต่ปี 2535 และปี 2537 ลูกจ้างบริษัทประมาณ 200 คนได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ว่าป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย สำหรับอาการของโรคดังกล่าวมีดังนี้ เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก และเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 50 ศาลแรงงานกลางยืนยันความผิดตามคำพิพากษาในชั้นต้นและให้จำเลยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ลูกจ้าง 37 คนภายใน 15 วัน ประมาณคนละ 1,000-110,000 บาท
    แหล่งอ้างอิง:ออนไลน์บนเว็บไซต์ http://www.siamsafety.com เป็นข่าวจาก: มติชนรายวัน ฉบับวันพุธ ที่ 1 ตุลาคม 2546 ข่าวชีวิตคุณภาพ หน้า 18 และเว็บไซต์ http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=11638

งานเสี่ยงอันตรายที่เกี่ยวข้อง

สารเคมี/สิ่งที่สัมผัสที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].