สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อโรค: แคดเมียม, พิษเรื้อรัง (Cadmium, chronic toxic effect)
กลุ่มโรค: อาการพิษ, โลหะหนัก (Poisoning, Heavy Metal)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง: เรื้อรัง (Chronic)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. ปี 2541 ได้มีการตรวจสอบการตกค้างของแคดเมียมในตะกอนดิน ห้วยแม่ตาว จังหวัดตาก พบปริมาณแคดเมียมในตะกอนดิน ตั้งแต่บริเวณต้นน้ำบ้านถ้ำเสือ จนถึงบริเวณท้ายน้ำของบ้านแม่ตาวใหม่ รวมระยะทาง 10 กม. อยู่ในช่วง 0.3-326 มก.โดยการปนเปื้อนของแคดเมียมตอนต้นน้ำจะต่ำมากเฉลี่ยประมาณ 0.5 มก./กก.และจะมีการปนเปื้อนสูงขึ้นมาก ในช่วงที่น้ำไหลผ่านพื้นที่ทำเหมืองแร่สังกะสีของบริษัทผาแดงฯ และบริษัทตากไมนิ่ง อยู่ในช่วง 82-326 มก./กก. พบว่าแปลงนาที่อยู่ใกล้จุดรับน้ำจากระบบชลประทาน จะปนเปื้อนแคดเมียมสูงอยู่ในช่วง 61-207 มก./กก. จากการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวจากยุ้งฉางของชาวบ้านที่บ้านพะเด๊ะและบ้านแม่ตาวใหม่ พบแคดเมียมในช่วงตั้งแต่น้อยมากจนถึง 5 มก./กก.ข้าว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.33 มก./กก. ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานการบริโภค ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 0.2 มก./กก.  สำหรับแหล่งที่มาของการปนเปื้อนแคดเมียมคาดว่าน่าจะมาจากบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด และบริษัทตากไมนิ่ง และเกิดการชะล้างพังทลายของแหล่งแร่โดยธรรมชาติ
    แหล่งอ้างอิง:ข่าวหนังสือพิมพ์ : ข่าวสด (คอลัมน์ : ข่าวประชาสังคม),http://www.dmr.go.th/news/8_04_47_4.html
  2. สถาบันจัดการคุณภาพน้ำนานาชาติ ทำการศึกษาแหล่งกำเนิดและตรวจวัดระดับสารแคดเมียมในดินและข้าวบริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก ระหว่างปี 2541-2546 พบว่ามีการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในดินที่อาจส่งผลให้มีการปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตร และเกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชากร นอกจากนี้จากการตรวจหาสารแคดเมียมในแปลงนาข้าวบริเวณ ต.พะเต๊ะ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณแหล่งแร่สังกะสี อ.แม่สอด จ.ตาก พบว่า มีปริมาณแคดเมียมในดินสูงกว่ามาตรฐานของสหภาพยุโรปถึง 1,800 เท่า และผลการตรวจเมล็ดข้าวพบว่า ร้อยละ 95 ของเมล็ดข้าวมีแคดเมียมปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าข้าวที่ปลูกในบริเวณอื่นถึง 100 เท่า เป็นปริมาณที่ก่อให้เกิดโรคอิไต-อิไตเช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ญึ่ปุ่น สำหรับการตรวจหาความเป็นพิษที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กับกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลแม่สอด ร่วมกันตรวจหาระดับแคดเมียมในเลือดและปัสสาวะในประชาชน ต.แม่ตาว และ ต.พระธาตุผาแดง จ.ตาก ในเดือน ธ.ค. 2546 จำนวน 250 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยแคดเมียมในเลือดเท่ากับ 3.58 ไมโครกรัมต่อลิตร และในปัสสาวะ 3.6 ไมโครกรัมต่อกรัมครีอาตินีน โดยพบประชากรผู้สัมผัสสารแคดเมียมมีความเสี่ยงสูงสุดจำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 6
    แหล่งอ้างอิง:สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข http://epid.moph.go.th

สารเคมี/สิ่งที่สัมผัสที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].