สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ศัพท์น่ารู้
   CAS Number
          CAS-Number หรือ CAS Registry Number เป็นชุดตัวเลขที่กำหนดโดย Chemical Abstracts Service เพื่อใช้เชื่อมสูตรโครงสร้างกับชื่อดัชนีของ Chemical Abstracts Service กับข้อมูลอื่น1
          CAS-Number แต่ละชุดจะหมายถึง สารที่สามารถแสดงสูตรได้ในเชิงอะตอม การจับของอะตอม และโครงสร้าง 3 มิติ
          CAS-Number ประกอบด้วยชุดตัวเลขไม่เกิน 9 หลัก (xxxxxx-xx-x) ส่วนแรกประกอบด้วยตัวเลข 2-6 หลัก ส่วนที่สองประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก ส่วนสุดท้ายเป็นตัวเลข 1 หลัก ซึ่งใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขทั้งชุดด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง CAS-Number แสดงไว้ใน ตาราง
ตาราง ตัวอย่าง CAS-Number
ชื่อสาร
CAS-Number
1. Xylene
               unspecified isomer
1330-20-7
               m-Xylene
108-38-3
               o-Xylene
95-47-6
               p-Xylene
106-42-3
2. Epinephrine
               d-Epinephrine
150-05-0
                l-Epinephrine
51-43-4
               dl-Epinephrine
329-65-7
               l-Epinephrine hydrochloride
55-31-2
               l-Epinephrine bitartrate
51-42-3
3. Ethylenediaminetetraacetic acid
60-00-4
               Monosodium salt
17421-79-3
               Disodium salt
139-33-3
               Trisodium salt
150-38-9
               Tetrasodium salt
64-02-8
               Sodium salt (unspecified ratio)
7379-28-4
4. Ammonia
               Anhydrous
7664-41-7
               Ammonia 15N-Anhydrous
13767-16-3
5. Borax
               Sodium tetraborate decahydrate
1303-96-4
               Borax pentahydrate
11130-12-4
6. Asbestos  
              Crocidolite
12001-28-4
               Amosite
12172-73-5
               Chrysotile
12001-29-5
                All forms
17068-78-9
   EC Number
EC Number เป็นระบบรหัสสารเคมี 7 หลัก ที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มประชาคมยุโรป ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มสารเคมีได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. Existing Substances คือ กลุ่มสารเคมีที่วางตลาดอยู่ในประชาคมยุโรปก่อนวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1981 ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้จะรวบรวมอยู่ในรายการสารเคมีที่มีการซื้อขายกันในประชาคมยุโรป (European Inventory of Existing commercial Chemical Substances, EINECS) ซึ่งมีสารเคมีอยู่ทั้งสิ้น 100,204 รายการ โดย EC Number ของสารเคมีที่อยู่ในบัญชี EINECS จะขึ้นต้นด้วยเลข 2 หรือ 3
  2. New Substances คือ กลุ่มสารเคมีที่วางตลาดอยู่ในประชาคมยุโรปหลังวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1981 หรือหมายถึงสารเคมีที่ไม่ถูกรวบรวมไว้ในบัญชี EINECS นั่นเอง โดยสารเคมีในกลุ่มนี้ต้องดำเนินการจดแจ้ง (Notification) ก่อนการวางจำหน่าย หลังจากนั้นจะนำไปรวบรวมไว้ในรายการสารเคมีที่ผ่านการจดแจ้งในประชาคมยุโรป (European List of Notified Chemical Substances, ELINCS) ซึ่งในปัจจุบัน (ค.ศ.2008) มีสารเคมีอยู่ทั้งสิ้น 4,381 รายการ EC Number ของสารเคมีที่อยู่ในบัญชี ELINCS จะขึ้นต้นด้วยเลข 4
  3. No-Longer Polymers (NLP) คือ กลุ่มสารเคมีที่ไม่จัดเป็นสารพอลิเมอร์อีกต่อไป สารเคมีกลุ่มนี้เกิดขึ้นเนื่องจากในปี ค.ศ. 1993 ประชาคมยุโรปเปลี่ยนแปลงนิยามของสารพอลิเมอร์ตาม Directive 92/32/EEC ซึ่งคือ 7th amendment ของ Directive 67/548/EEC โดยตามนิยามใหม่นี้ทำให้สารพอลิเมอร์จำนวนหนึ่งกลายสภาพเป็นสารเคมี แต่ถึงแม้ว่าสารเคมีกลุ่มนี้จะวางตลาดหลัง18 กันยายน ค.ศ.1981 และไม่ได้อยู่ในบัญชี EINECS แต่สารเคมีกลุ่ม NLP นี้ไม่ต้องดำเนินการจดแจ้ง ดังนั้นจึงไม่ถูกรวมอยู่ในบัญชี ELINCS เช่นกัน กลุ่มประชาคมยุโรปจึงกำหนดรายการสารเคมีกลุ่ม NLP ขึ้น ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 703 รายการ EC Number ของสารเคมีที่อยู่ในกลุ่ม NLP จะขึ้นต้นด้วยเลข 5
   พิกัดอัตราศุลกากร (Custom Tariff)
          กรมศุลกากรใช้พิกัดอัตราศุลกากรตามระบบฮาร์โมไนซ์ในการจัดสินค้า ออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย ระบบนี้แบ่งสินค้าออกเป็น 21 หมวด 97 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน สินค้าเคมีภัณฑ์อันตรายจัดอยู่ในหมวดที่ 5 (ตอนที่ 25-27) และหมวดที่ 6 (ตอนที่ 28-38)
          การระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ จะกำหนดเป็นเลข 11 หลัก โดยที่ 6 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก และ 2 หลักถัดมาแสดงพิกัดฮาร์โมไนซ์อาเซียน ส่วนเลข 3 หลักหลังเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ดังนั้นจึงมีคำสากลที่ใช้กำหนดสินค้าคือพิกัดรหัสสถิติ (Commodity code)
1 คำจำกัดความ
  • ประเภท (Heading No.) หมายถึง ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร มีเลขรหัส 4 ตัว; 2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ "ตอน" และ 2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ "ประเภท" ในตอนนั้น
  • ประเภทย่อย (Subheading No.) หมายถึง ประเภทพิกัดอัตราศุลกากรที่แยกย่อยลงไป ส่วนใหญ่มีเลข 8 ตัว เป็นเลขรหัสสากลที่ทุกประเทศ ซึ่งใช้พิกัดอัตราศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ใช้ตรงกัน การสำแดงประเภทพิกัดในใบขนสินค้าต้องแสดงเลขรหัสตามประเภทย่อย
  • รหัสสถิติ (Statistics code) หมายถึง รหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) รหัสสินค้ามีเลข 11 ตัว โดยรหัส 8 ตัวแรกตรงกับรหัสประเภทย่อย (ในกรณีที่ประเภทย่อยแสดงเลขรหัส 7 ตัว เลขตัวที่ 8 คือ 0)
  • รหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) ส่วนใหญ่จะเป็น KGM (กิโลกรัม) ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ C62 (ชิ้นหรือหน่วย), LTR (ลิตร), MTR (เมตร), MTK (เมตริกตัน)
  • พิกัดรหัสสถิติ (Commodity Code) หมายถึงเลข 11 ตัว ที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ ใช้ในความหมายเดียวกับรหัสสินค้า "พิกัดรหัสสถิติ" เป็นคำที่มีใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของ "พิกัด" ซึ่งประกอบด้วยตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติด้วย (แผนภูมิที่ 1)
แผนภูมิที่ 1 ความหมายของพิกัดรหัสสถิติ
2 การกำหนดความหมายสินค้าเคมีภัณฑ์อันตรายตามระบบฮาร์โมไนซ์
          ความหมายพิกัดสินค้าเคมีภัณฑ์อันตราย ตอนที่ 25-38 แสดงไว้ในตารางที่ 1 และตัวอย่างประเภทและประเภทย่อย แสดงไว้ในตารางที่ 2

ตารางที่ 1 พิกัดศุลกากร ผลิตภัณฑ์สินค้าอันตราย
ตอนที่
ประเภทสินค้า
25
เกลือ กำมะถัน ดิน และหิน วัตถุจำพวกปลาสเตอร์ ปูนขาว และซีเมนต์
26
สินแร่ ตะกรัน และเถ้า
27
เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นสิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขที่ได้จากแร่
28
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์หรือสารประกอบอนินทรีย์ของโลหะมีค่า ของโลหะจำพวกแรร์เอิร์ทของธาตุกัมมันตรังสี หรือของไอโซโทป
29
เคมีภัณฑ์อินทรีย์
30
ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม
31
ปุ๋ย
32
สิ่งสกัดที่ใช้ฟอกหนังหรือย้อมสี แทนนินและอนุพันธ์ของแทนนิน สีย้อม สารสี (พิกเมนต์) และวัตถุแต่งสีอื่นๆ สีทาและวาร์นิช พัตตี้และมาสติกอื่นๆ รวมทั้งหมึก
33
เอสเซนเชียลออยล์และเรซินอยด์ เครื่องหอม เครื่องสำอาง หรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายหรือประเทืองโฉม(ทอยเล็ตเพรพาเรชัน)
34
สบู่ สารอินทรีย์ที่เป็นตัวลดแรงตึงผิว สิ่งปรุงแต่งที่ใช้ซักล้าง สิ่งปรุงแต่งที่ใช้หล่อลื่น ไขเทียม ไขปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งที่ใช้ขัดเงาหรือขัดถู เทียนไขและของที่คล้ายกับ เพสต์สำหรับทำแบบ “ไขที่ใช้ทางทันตกรรม” สิ่งปรุงแต่งทางทันตกรรม ซึ่งมีปลาสเตอร์เป็นหลัก
35
สารแอลบูมินอยด์ โมดิไฟด์สตาร์ช กาว เอนไซม์
36
วัตถุระเบิด ผลิตภัณฑ์จำพวกดอกไม้เพลิง ไม้ขีดไฟ แอลลอยที่ทำให้เกิดประกายไฟ สิ่งปรุงแต่งที่สันดาปได้บางชนิด
37
ของที่ใช้ในการถ่ายรูปหรือถ่ายภาพยนตร์
38
เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด
ที่มา: http://www.customs.go.th/DrafTarrif/Tariff3.html

ตารางที่ 2 ตัวอย่างประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติของสินค้า ตอนที่ 28 และ 29
ตอนที่
ประเภท
ประเภทย่อย
รหัสสถิติ
รายการ
27
    เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่น สิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขที่ได้จากแร่
 
27.09
    น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส
 
2709.00.10
000 / LTR
- น้ำมันปิโตรเลียมดิบ
 
2709.00.20
000 / LTR
- คอนเดนเสท
 
2709.00.90
000 / LTR
- อื่นๆ
28
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์หรือสารประกอบอนินทรีย์ของโลหะมีค่า 
ของโลหะจำพวกแรร์เอิร์ทของธาตุกัมมันตรังสีหรือของไอโซโทป
 
28.04
ไฮโดรเจน แรร์ก๊าซและอโลหะอื่นๆ
 
2804.50.00
000/KGM
- โบรอนและเทลลูเลียม
 
2804.70.00
000/KGM
- ฟอสฟอรัส
 
2804.80.00
000/KGM
- อาร์เซนิก
 
2804.90.00
000/KGM
- ซีลีเนียม
29
      เคมีภัณฑ์อินทรีย์
 
29.07
    ฟีนอลและฟีนอลแอลกอฮอลล์
   
2907.10.00
101/KGM
ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซีน)
     
201/KGM
เกลือของฟีนอล
   
2907.19.00
  - - อื่นๆ
ที่มา: http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
3 ตัวอย่างพิกัดรหัสสถิติสินค้าเคมีภัณฑ์อันตราย
          การกำหนดพิกัดรหัสสถิติของสินค้าในระบบฮาร์โมไนซ์นั้น มีสินค้าจำนวนมากที่พิกัดรหัสสถิติระบุกลุ่มสาร และสินค้าจำนวนหนึ่งถูกกำหนดพิกัดรหัสสถิติเป็น “อื่น ๆ” เช่น สารอินทรีย์ โมโนฟีนอล ถูกแบ่งย่อยเป็น ฟีนอล (ไฮดรอกซีเบนซิน) (พิกัดรหัสสถิติ 2907.11.00 101) และเกลือของฟีนอล (พิกัดรหัสสถิติ 2907.11.00 201) ส่วนโมโนฟีนอลอื่นๆ ถูกจัดอยู่ในพิกัดรหัสสถิติ “อื่นๆ” คือ 2907.19.00 090 เป็นต้น นอกจากนี้สารชื่อเดียวกันอาจถูกกำหนดให้อยู่ได้ในหลายพิกัดรหัสสถิติ ดังตัวอย่างแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ตัวอย่างสารชื่อเดียวกันอยู่ในหลายพิกัดรหัสสถิติ

* ชื่อตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
ที่มา: http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
   คำย่อยเกี่ยวกับค่าเฝ้าระวังในการสัมผัสสาร
คำย่อ
ความหมาย (อังกฤษ)
ความหมาย (ไทย)
BEI Biological Exposure Indices (ACGIH) ดัชนีชี้วัดการสัมผัสสารทางชีวภาพ
Thai BEIs Thai Biological Exposure Indices ดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย เป็นค่าแนะนำทางวิชาการเพื่อใช้เป็นมาตรการความปลอดภัยสำหรับการเฝ้าระวังสุขภาพผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีในสถานประกอบกิจการที่มีสารเคมีในกระบวนการผลิต โดยครอบคลุมการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงการจัดทำแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีและประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคพิษสารเคมี ตามประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง ข้อแนะนำการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมี กรณีดัชนีชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพสำหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีสำหรับประเทศไทย (Thai Biological Exposure Indices: Thai BEIs) ฉบับที่ 1
bioaccumulation Progressive increase of a poison in the body; occurs because the rate of intake exceeds the rate of elimination. "The process by which a material in an organism's environment progressively concentrates within the organism." [NTP] การเพิ่มขึ้นของสารพิษในร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากอัตราการได้รับสารพิษมากกว่าอัตราการกำจัด "กระบวนการที่วัสดุในสิ่งแวดล้อมของจุลชีพเข้าไปอยู่ในจุลชีพอย่างต่อเนื่อง"
Ceiling "The concentration that should not be exceeded during any part of the working exposure." (ACGIH) See "threshold limit value." ระดับความเข้มข้นที่ไม่ควรเกินไม่ว่าช่วงเวลาใดของการทำงาน
IDLH Immediately Dangerous to Life or Health. (NIOSH) อันตรายทันทีทันใดต่อชีวิตหรือสุขภาพ (NIOSH)
Lethal Concentration LC50 is the lethal concentration in 50% of animals tested in an inhalation experiment for a given time (usually 1-4 hours). LCLO is the lowest lethal concentration tested in animal inhalation experiments. Most of the LC data in Haz-Map comes from ChemIDplus. LC50 คือความเข้มข้นที่ทำให้สัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดตายในการทดลองแบบให้รับสารโดยการหายใจในระยะเวลาที่กำหนด (โดยทั่วไป 1 - 4 ชั่วโมง) LCLO คือความเข้มข้นต่ำที่สุดที่ทำให้สัตวืทดลองตายในการทดลองแบบให้รับสารโดยการหายใจ ค่าความเข้มข้นที่ทำให้ตายส่วนใหญ่ที่ใช้ในฐานนี้ได้มาจาก ChemIDplus.
odor threshold The lowest concentration at which a substance can be detected or recognized using the sense of smell. ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถได้กลิ่นหรือจดจำสารนั้น
PEL Permissible exposure limit. (OSHA) ค่าจำกัดการสัมผัสที่ยอมรับได้ (OSHA)
RD50 Concentration producing a 50% decrease in respiratory rate in experimental animals following a 10-minute exposure. ความเข้มข้นที่ทำให้อัตราการหายใจของสัตว์ทดลองลดลงร้อยละ 50 เมื่อได้รับสัมผัส 10 นาที
skin designation "Danger of cutaneous absorption." (ACGIH) อันตรายจากการดูดซึมทางผิวหนัง (ACGIH)
STEL Short-term exposure limits. (ACGIH) ค่าจำกัดการสัมผัสระยะสั้น (ACGIH)
TIH Toxic inhalation hazard. (ERG 2004) อันตรายเมื่อหายใจเอาสารพิษเข้าไป (ERG 2004)
TLV Threshold limit value. (ACGIH) ค่าจำกัดที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพคน หมายถึง ความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศ ซึ่งเมื่อเน้นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เชื่อว่าคนงานเกือบทั้งหมดอาจสัมผัสสารเคมีดังกล่าวได้ซ้ำ ๆ วันแล้ววันเล่า โดยปราศจากผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ แต่เนื่องจากแต่ละคนมีความไวต่อสารแตกต่างกัน จึงอาจมีคนงานบางคนได้รับผลกระทบจากการสัมผัสสารบางชนิดที่ความเข้มข้นต่ำกว่าหรือที่ระดับ TLV
vapor pressure (VP) A measure of a chemical's volatility at room temperature (20-25 degree C or 68-77 degree F). Multiply vapor pressure times 1300 to estimate in ppm the saturated concentration of the chemical after a spill in a confined space. [Sullivan, p. 1086-7] การวัดการระเหยของสารเคมีที่อุณหภูมิห้อง (20 - 25 องศาเซลเซียส) ค่าความดันไอคูณด้วย 1300 จะได้ค่าความเข้มข้นอิ่มตัวเป็นพีพีเอ็มโดยประมาณของสารหลังจากมีการหกรั่วไหลในสถานที่จำกัด [Sullivan, p. 1086-7]
   ชนิดวัตถุอันตราย

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย มาตรา 18
วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้

  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 1   ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 2   ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 3   วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
  • วัตถุอันตรายชนิดที่ 4   ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง
   QSAR
          Quantitative Structure-Activity Relationship (QSAR) เป็นการสร้างโมเดลทางทฤษฎีเพื่อใช้ในการทำนายคุณสมบัติทางกายภาพ ชีวภาพ และคุณสมบัติที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของโมเลกุล บางครั้งเรียกว่า in silico หรือ Computational Toxicity ซึ่งเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ เป็นการคำนวณเพื่อหาความสัมพันธ์ทางโครงสร้างทางเคมีของสารที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพ โดยใช้ข้อมูลจาก QSAR ร่วมกับข้อมูลจากการทดสอบชนิดอื่น เพื่อลดปริมาณการใช้สัตว์ทดลองและค่าใช้จ่าย แต่ไม่ได้หมายความว่า QSAR จะถูกต้องเสมอไป ต้องใช้ข้อมูลจากระเบียบวิธีอื่นๆ หรือจากการทดลอง ถ้ามีมาประกอบกัน
ข้อกำหนดของ QSAR ภายใต้ระเบียบ REACH
  1. ผลของ QSAR จะถูกยอมรับก็ต่อเมื่อ
    • โมเดลได้ถูก validate
    • ได้พิสูจน์โมเดลอย่างเหมาะสมและมีข้อเท็จจริงในการนำไปใช้ที่ยอมรับได้ เรียกว่า “fit for purpose” concept
  2. ข้อมูล QSAR อาจช่วยสนับสนุนการจัดกลุ่มของสารเคมีออกเป็นประเภท และช่วยลดปริมาณสัตว์ที่ใช้ทดลอง
  3. การทดสอบสารเคมีในสัตว์ทดลองก็จะถูกใช้เป็นมาตรการขั้นสุดท้าย
ข้อกำหนดของ QSAR ภายใต้ระเบียบ REACH
   REACH

REACH คืออะไร

ระเบียบสารเคมีของสหภาพยุโรป
REACH : Registration Evaluation and Authorization of Chemicals)
          คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปควบคุมการใช้สารเคมีด้วยระเบียบสารเคมีของสหภาพยุโรป REACH (Registration Evaluation and Authorization of Chemicals) โดยกำหนดให้มี
  1. Registration  การจดทะเบียนสารเคมีโดยยื่นเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารเคมี ความเป็นอันตรายและพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประเมินความเสี่ยงของการใช้สารเคมีนั้นด้วย เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีข้อมูลที่เกี่ยวกับสารเคมีที่ตนผลิตและใช้ผลิตสินค้าและใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการจัด การสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
  2. Evaluation   การตรวจสอบและประเมินรายงานการศึกษา ถึงอันตรายและความเสี่ยงในการผลิตและใช้สารเคมีที่ผู้ยื่นจดทะ เบียนเสนอ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ประกอบการมีข้อมูลและใช้ข้อมูลนั้นจัดการสารเคมีในกระบวนการผลิตหรือใช้ได้อย่างปลอดภัย
  3. Authorization   การขออนุญาตผลิตหรือใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายมาก (Very high concern) อย่างมีเงื่อนไข เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  4. Restriction   การจำกัดการผลิต การใช้หรือจำหน่ายสารที่เป็นอันตรายมาก เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้สารนั้นด้วยเหตุผลทางสังคมและเศรษฐกิจ และผู้ประกอบการไม่สามารถหาสารหรือวิธีอื่นที่เหมาะสมมาใช้แทนได้