สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อยากทราบรายชื่อสารเคมีที่ญี่ปุ่นห้ามใช้ในสบู่ค่ะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันต้องการส่งสบู่สมุนไพรของตัวเองเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น แต่ทราบมาว่าที่นั่นเข้มงวดเรื่องสารเคมีมาก อยากทราบว่าสารเคมีชนิดไหนบ้างที่ญี่ปุ่นห้ามไม่ให้มีอยู่ในส่วนผสมของสบู่ หรือมีได้ในอัตราไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ค่ะ เพื่อที่จะได้ดูว่าจะสามารถผลิตสบู่ได้ตามมารตฐานของเขาหรือไม่  ขอบคุณมากค่ะ

โดย:  สาวิตรี   [7 ก.พ. 2555 16:52]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด EU REACH  /  กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

คาดว่าจะเป็นสบู่เหลวใช่มั้ยครับ ในฐานะเคยต้องทำงานให้ลูกค้า 2-3 รายที่ส่งผลิตภัณฑ์ไปขายที่ประเทศนี้ ขอนินทาหน่อยแล้วกันนะครับว่า ของที่เขาห้ามหลายรายการ ล้วนแต่ผลิตในประเทศเขาทั้งนั้น เช่นพวกสารกันเสียพาราเบนไง แถมอยากได้ถูก ทู้ก ถูก เงื่อนไขมากมาย ปัจจุบัน ผมคว่ำบาตรไปแล้ว ถ้าขายญี่ปุ่น ไม่ต้องมาสั่ง เซ็ง กฎมากมาย ใช่ว่าสั่งมาก จะมีกำไรมาก สั่งมากๆ แต่สั่งตัวถูกๆ ทำเหนื่อยแทบตาย แล้วไหนจะยังต้องขึ้นค่าแรง จะไปเอากำไรตรงไหนกันครับ

เท่าที่พอจำได้ สารชำระล้างที่ห้าม กลุ่มซัลเฟต ยังอนุโลมให้เป็นบางตลาด เข้าใจว่า พวกที่ถูกมากๆ กก.ละ ไม่เกิน 50-60 บาท สารปรับข้นกลุ่ม DEA MEA ยังไม่ได้ห้ามขาด อนุโลมได้เป็นบางตลาด สารกันเสียกลุ่มพาราเบน ห้ามขาดแล้ว ลองเปลี่ยนไปใช้กลุ่ม Kathon CG (Methylisothiazolinone and Methylchloroisothiazolinone) ซึ่งผลิตภัณฑ์จากในญี่ปุ่นเองก็ยังใช้กันอยู่ ราคาถูก ใช้ปริมาณต่ำมาก ไม่ถึง 0.1 เปอร์เซ็นต์ แต่เวลาซื้อต้องยกเป็นดรัมนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะมีใครแบ่งแพ็คขายหรือเปล่า หรืออาจจะมีผู้ผลิตรายอื่น ผลิตสารตัวนี้จำหน่าย ต้องลองหาดู ส่วนกลุ่มสารกันเสียที่ใช้ในอาหารอย่าง โซเดียมเบนโซเอต กับ โปตัสเซียม ซอร์เบท ถ้าจะใช้ต้องปรับค่า พีเอช ให้เหมาะสม ประมาณ 5.5 ไม่เกิน 5.8 หากสูงหรือต่ำกว่านี้ ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี และถ้าจะให้แน่ใจ ส่งทดสอบ Challenge Test 45 วันดีกว่า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีบริการ รอหน่อย ค่าบริการไม่เกิน 5000 บาท แนะนำให้ทำสำหรับแบ็ทช์ที่มีปริมาณการสั่งมากหน่อย จะได้คุ้มค่าทดสอบเชื้ัอ

นอกนั้น ก็ให้ระวังพวก ไตรโคลซาน ไตรโคลคาร์บาน ที่เป็นสารระงับเชื้อ จำกัดปริมาณในแต่ละชนิดตามข้อกำหนด การใช้อะลันโทอิน สารกันแพ้ ไม่ห้าม แต่ขอบอกว่า มีเคสคนแพ้อะลันโทอินให้เห็้นมา 3-4 รายแล้ว งงซะยิ่งกว่างง ดังนั้น อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น จงเชื่อในสิ่งที่ทำแล้วปรากฏ

สารจับน้ำ หรือสารให้ความชุ่มชื้น ใช้กลีเซอรีนง่ายสุด ขอให้เป็นกลีเซอรีนที่รับรองว่าได้จากพืช ไม่ใช่จากการสังเคราะห์ ญี่ปุ่นมีข้อถกเถียงที่ยังไม่จบไม่สิ้นกับ พร็อพพีลีนกลัยคอล แต่อนุโลม บิวทิลีนกลัยคอล แต่บางที่พร็อพพีลีนก็ยังอนุโลม เพื่อลดการโต้แย้งและตีคืน ใช้กลีเซอรีน และถ้าไม่อยากเสียดุลก็อย่าไปเลือกใช้สิ่งที่เขาเอาพืชไทยไปผ่านกระบวนการกลับมาขายเราอย่างพวก โซเดียมพีซีเอ เสียดุลสุดๆ เอาหัวมัน ฝักข้าวโพด ฝักอ้อย เราไปแปรรูปกลับมาขายเราซะอย่างแพง แล้วก็กลับมาโฆษณาว่ามันดียังงั้นดียังงี้ เฮ้อ เหนื่อย

สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ สารกันเสียแอบแฝง ที่มากับสารสกัด เพราะโดนมาแล้วเต็มๆ ส่วนใหญ่สารสกัดสำเร็จรูปจะกันเสียด้วย พาราเบน แม้จะน้อยนิด ถ้าเจอพวกหัวหมอ อยากตีของคืน ก็มาแย้งเราว่า เจอพาราเบน ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ใส่ เหนื่อยมั้ยครับ อ่านแล้วไม่ได้อยากให้ท้อ แต่อยากให้ระวังมากๆ เพราะเราไม่มีโอกาสได้รู้เลย ถ้าไม่เจอกับตัวเอง เจอมาหนักครับ ขอบอก

สารกันเสียอีกกลุ่มที่ต้องระวัง อันนี้เป็นกันทั่วโลก (แต่ตลกที่ยังผลิตขายกันแม้ในประเทศที่ห้ามหนักๆ อย่างแถบยุโรป แต่ประเทศเขาก็ผลิตมาขายเรา) คือสารกลุ่ม ดีเอ็มดีเอ็ม ไฮแดนโทอิน DMDM Hydantoin กลุ่มนี้อันตรายเพราะปล่อยสารฟอร์มัลดีไฮด์ได้ เมื่อทำปฏิกิริยากับอะไรในสูตร พวกนี้มักใช้อยู่ในสารชำระล้างกลุ่มบีเทน ลองตรวจสอบกับผู้ผลิตให้ดีว่า สารกลุ่มบีเทน ใช้อะไรกันเสีย

น่าจะพอเป็นประโยชน์นะครับ

ท้ายที่สุดคือ ข้อกำหนดเหล่านี้ เป็นเหมือนดาบสองคม คมด้านหนึ่งเป็นคุณ คือ เป็นกรอบให้เราทำให้ถูกต้องตามมาตรฐาน แต่ขณะเดียวกัน เราก็ต้องตั้งคำถามกลับไปหาผู้ผลิตวัตถุดิบด้วยว่า เขายังผลิตมาขายเราทำไม อีกคมหนึ่งคือ การกีดกันโดยอ้อม ไม่อยากซื้อ ไม่บอกกันตรงๆ มาบอกว่า เราทำได้ไม่ดี มีสารต้องห้าม นี่นั่นโน่น ท้ายที่สุด ผู้ผลิตอย่างเราๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มแม่บ้านโอท็อปจะไปทราบได้อย่างไร หากไม่มีใครไปบอกกล่าวเรื่องราวแบบนี้ เวลาซื้อของยังไม่มีใครแนบเอกสารด้านเทคนิคของแต่ละวัตถุดิบให้เรา อยากได้ต้องไปขอกัน บางร้าน แทบจะต้องกราบอ้อนวอนกันเลย ของแบบนี้ มันต้องมาจากผู้ผลิต แต่พอกลับไปถาม เขาก็ถามกลับเราอ้อมๆ ว่า ถ้าจ่ายแพงกว่า ก็ได้ของดีกว่า แต่ประเทศเขาบอกว่า จะซื้อต่อเมื่อเราขายถูก อ่านแล้วคิดยังไงครับ

หันกลับมาดูตัวเอง เอาแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาทบทวนแล้วทดลองทำกันดูดีกว่ามั้ย เมื่อเรื่องมากนัก ก็ไม่ต้องมายุ่งกัน ปลูกของเรา กินของเรา มีมากหน่อย ไปแลกกับบ้านอื่น ที่ปลุกอย่างอื่น ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนแข็งแรง ดีกว่ามั้ย ถ้ามันเกิน ก็หาวิธีถนอมอาหารกัน หมัก ดอง แปรรูปเป็นขนม หรืออะไรที่เก็บไว้กินได้นานๆ เราเคยอยู่กันแบบนี้ไม่ใช่หรือ แล้วทำไม การเป็น "โลกาภิวัตน์" ถึงทำให้เรา "เพิ่มดีกรีความอยากมีอยากได้" กันมากนัก

กลับมา "พอเพียงภิวัตน์" กันดีกว่ามั้ยครับ


โดย:  คนชอบทำ  [16 ก.พ. 2555 15:47]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้