สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

อยากทราบว่า CAS No. 3อย่างข้างล่างนี้คือวัตถุอันตรายหรือไม่ค่ะ

1.Name : Polyethyleneterephthalate Film     Cas. No. : 25038-59-9
2.Name : Carbon Black                                  Cas. No. : 1333-86-4
3.Name : Resin                                               Cas. No. : 25135-73-3
ทั้งหมดนี้เป็นวัตถุอันตรายหรือไม่ค่ะ  รบกวนด้วยค่ะ  เพราะตรวจสอบแล้วบางที่ไม่มีคำตอบให้   ตอนนี้มึนไปหมดแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะ
คนมึนๆ

โดย:  คนมึนๆ   [16 ต.ค. 2557 11:14]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด CAS No.  /  กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เรียน คุณคนมึนๆ

ผมขออนุญาตนำเสนอคำตอบของ คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ ซึ่งได้ตอบคำถามเกี่ยวกับวัตถุอันตรายไว้ใน Website นี้ เมื่อ30 พ.ย. 2555  ในหัวข้อชื่อวัตถุอันตราย ซึ่งถามโดย CJ ดังนี้ครับ

"วัตถุอันตราย (Hazardous Substances) ตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หมายถึง วัตถุดังต่อไปนี้
(1) วัตถุระเบิดได้ (2) วัตถุไวไฟ (3) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ (4) วัตถุมีพิษ (5) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค (6) วัตถุกัมมันตรังสี (7) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (8) วัตถุกัดกร่อน (9) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (10) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตราย แก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

คำว่าวัตถุอันตรายจะนำไปใช้เฉพาะในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายในการกำกับดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การนำเข้า การครอบครอง การผลิต และการส่งออกเท่านั้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดรายชื่อสารเคมีที่จำแนกเป็นวัตถุอันตรายไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งมี 6 หน่วยงานหลักกำกับดูแล คือ (1) กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับการนำไปใช้ทางอุตสาหกรรม (2) กรมวิชาการเกษตร สำหรับการนำไปใช้ทางการเกษตร ยกเว้นนำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (3) กรมประมง สำหรับการนำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (4) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำหรับนำไปใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข (5) กรมปศุสัตว์ สำหรับการนำไปใช้เกี่ยวกับปศุสัตว์ (6) กรมธุรกิจพลังงาน สำหรับการนำไปใช้เกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว

หลักเกณฑ์การพิจารณาในการจัดชนิดของวัตถุอันตรายอยู่บนพื้นฐานดังนี้
• พิจารณาจากข้อมูลด้านพิษวิทยา และความเป็นอันตรายของสาร เช่น ความไวไฟ การระเบิด
• พิจารณาการควบคุมสารตามพันธกรณีของพิธีสารและอนุสัญญาต่างๆ เช่น การออกประกาศควบคุมสารCFCs ตามพิธีสารมอนทรีออล
• พิจารณาตามความจำเป็นในการนำไปใช้ทางอุตสาหกรรมเช่น วัตถุอันตรายบางรายการมีความอันตรายหรือมีความเป็นพิษสูง สมควรประกาศให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 แต่เนื่องจากยังจำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมอยู่ จึงปรับปรุงการควบคุมและกำกับดูแลให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3
• พิจารณาตามข้อกฎหมายหรือ พ.ร.บ. อื่นๆ ที่ยังมิได้มีการควบคุมหรือยังควบคุมไม่ทั่วถึง สามารถขอใช้ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ออกประกาศควบคุมเป็นวัตถุอันตรายได้
โดยที่วัตถุอันตรายสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1:การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด และกำหนดให้ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกแจ้งข้อเท็จจริงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนนำหรือส่งวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากร ตาม แบบ วอ./อก.6 และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
วัตถุอันตรายชนิดที่ 2:การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการเมื่อจะเริ่มประกอบการจะต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (มาตรา 36 วรรคสอง) และแจ้งดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (มาตรา 22) ตามแบบ วอ./อก.5 รวมทั้งแจ้งข้อเท็จจริงตามแบบ วอ./อก.6  (เช่นเดียวกับ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1) และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
วัตถุอันตรายชนิดที่ 3: การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาต  ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการเมื่อจะเริ่มประกอบการจะต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (มาตรา 36 วรรคสอง)และต้องได้รับอนุญาตก่อนการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง (มาตรา 18) รวมทั้งแจ้งข้อเท็จจริงตามแบบ วอ./อก.6 (เช่นเดียวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และ 2) และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4: ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองยกเว้นการนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบต้องออกประกาศกำหนดรายละเอียด"

ดังนั้น ท่านต้องค้นเอกสารที่บอกคุณสมบัติเฉพาะของมัน (SDS - Safety Data Sheet ซึ่งก็คือ Material Safety Data Sheet นั่นแหละครับ) เพื่อดูว่าสารนั้นๆเข้าข่ายหนึ่งข่ายใด ของคำจำกัดความว่า "วัตถุอันตราย" หรือไม่ ถ้าเข้าข่ายเมื่อไร มันก็เป็นวัตถุอันตรายครับ

ท่านอาจใช้เลข CAS ที่ได้มา ทำการค้นหาเบื้องต้นก็ได้นะครับ ถ้า Web ไทยไม่มีข้อมูล ท่านก็ต้องหาจาก Website ของต่างประเทศช่วยครับ

หวังว่าคงได้คำตอบนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
Prasit


โดย:  Prasit  [16 ต.ค. 2557 16:11]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

ต้องถามก่อนว่า เป็นวัตถุอันตรายไหมนั้น หมายถึงเป็นวัตถุอันตรายตาม พรบ. วัตถุอันตราย หรือเป็นอันตรายตาม UN code ถ้าตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่เป็น วัตถุอันตรายตามประกาศ

โดย:  อนุชิต  [17 ต.ค. 2557 16:11]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ขอบคุณรายละเอียดที่ให้มาของคุณ Prasit ชัดเจนมากเลยค่ะ
และขอบคุณ คุณอนุชิต ค่ะ (คือคุณอนุชิต เข้าใจถูกค่ะ : ไม่เป็นวัตถุอันตรายตาม พรบ.ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม) สรุป  คือไม่เป็นถูกต้องนะค่ะ ^^

โดย:  คนมึนๆ  [23 ต.ค. 2557 16:35]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้