สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

การขึ้นบัญชี - ถอดบัญชีสมุนไพรเป็นวัตถุอันตราย

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 13 ก.พ. 2552

            ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ตัวอย่างเช่น สะเดา ตะไคร้หอม ฯลฯ เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 ทำให้เกิดการถกเถียงร้องเรียนอยู่ขณะนี้ (13 กุมภาพันธ์ 2552) คนที่ร้องเรียนเพราะคิดว่าจะมีผลกระทบว่าได้ประโยชน์อะไร ไปถึงขั้นที่มีการรายงานข่าวว่ามีเงื่อนงำอะไรหรือเปล่า เราน่าจะถือโอกาสมาทำความรู้จักกับกฎหมายและการกำกับดูแลวัตถุอันตรายของประเทศไทยที่จะเชื่อมโยงกับข่าวเรื่องนี้ได้ (ค้นหาประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมจากเว็บไซต์ www.chemtrack.org ได้ที่เมนูนานาสาระ

            ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมดูแลเรื่องวัตถุอันตรายเรียกว่า พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมีคณะกรรมการวัตถุอันตราย ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้เสนอบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายเป็นประกาศแนบท้าย ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อด้วยเหตุผลต่างๆ ก็ออกเป็นประกาศทีละฉบับออกมา สาระสำคัญของพรบ. วัตถุอันตรายเกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง รวมทั้งมาตรการป้องกันอุบัติภัยเกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตรายและมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัย ข้อกำหนดในพรบ. จะระบุชนิดอันตรายของวัตถุอันตรายเป็น 4 ชนิด ที่มีระเบียบวิธีปฏิบัติเข้มงวดต่างกัน ดังนี้

            วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

            วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดด้วย

            วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับใบอนุญาต

            วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

            หน่วยงานรับผิดชอบในการควบคุมตามกฎหมาย เป็นผู้พิจารณาบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่ใช้ในกิจการที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าเป็นสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมก็ไปขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถ้าใช้ในทางเกษตรก็ไปขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร กรมประมง ถ้าใช้ในกิจการทางอาหารและยา ก็ไปขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประกาศจะมี CAS No. (Chemical Abstract Series Number) กำกับชื่อสาร เพื่อสะดวกแก่การค้นหาและยืนยันว่าเป็นสารชื่อนั้นๆ  ซึ่งอาจใช้ชื่อต่างกันเพราะ CAS No. ก็คือเลขประจำตัวสารเคมีเดียวกันนั้นเอง

            คำว่าวัตถุอันตรายจึงเป็นคำศัพท์ตามพรบ. วัตถุอันตราย ซึ่งอาจจะเป็นสารเดี่ยวหรือเป็นกากของเสียอันตราย  ตัวพืชสมุนไพรไม่ใช่วัตถุอันตรายแต่ในสมุนไพรบางชนิดจะมีสารที่มีฤทธิ์ทางยาหรือฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืช  การนำสารสกัดจากสมุนไพรมาใช้ทางการเกษตรเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริม  เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติย่อมมีอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสารเคมีสังเคราะห์

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
พิษภัยใกล้ตัว - พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์
พิษภัยใกล้ตัว - พ.ร.บ. วัตถุอันตราย
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

Great insight! That's the asnewr we've been looking for.

โดย:  Brysen  [16 ม.ค. 2555 17:24]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น