สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

โซเดียมไฮโปคลอไรต์หรือคลอรีนรั่ว

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา  ชินะจิตร
หน่วยงาน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วันที่: 9 มิ.ย. 2553

            เหตุสารเคมีรั่วเกิดที่โรงงานของ บริษัท อดิตยา เบอล่า ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ต้องมีการอพยพผู้คนในบริเวณใกล้เคียงเป็นร้อย ตามข่าว (ผู้จัดการออนไลน์ 7 มิ.ย. 53) รายงานว่า ถังคลอรีน 5,000 ตัน เอียงเพราะฐานทรุด จึงเกิดการรั่วไหลจากรอยแตก ได้มีการแก้ไขเหตุฉุกเฉินด้วยการ ฉีดน้ำคลุมไว้ เพราะมีกลิ่นคลอรีนกระจายไปทั่ว

            เราจึงมาหาความรู้จากข่าวนี้ได้เกี่ยวกับสารที่เกี่ยวข้อง ก่อนอื่นจากภาพที่ปรากฎ สันนิษฐานว่า ถังดังกล่าวไม่ใช่ถังบรรจุคลอรีนที่เป็นแก๊ส แต่อาจบรรจุสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ สารชื่อนี้ที่เราคุ้นเคยก็คือ สารฟอกขาว ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดแล้วปลดปล่อยคลอรีนออกมา การยับยั้งหรือลดฤทธิ์ของไฮโปคลอไรต์ อาจใช้โฟมบางชนิดได้ หรือถ้าไม่มากนักใช้สารโซเดียมไทโอซัลเฟตเข้าทำปฏิกิริยา ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อคน สารไฮโปคลอไรต์ไวต่อปฏิกิริยากับกรด แม้แต่ความเป็นกรดของน้ำที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่เล็กน้อย ก็สามารถปลดปล่อยคลอรีนออกมาได้ วิธีป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงเมื่อเกิดการรั่วเช่นนี้ คือ การเตรียมความพร้อมด้วยอุปกรณ์ หรือวิธีการเฉพาะต่อสารนั้นๆ เพราะรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ เช่นกรณีนี้ เตรียมโซเดียมไทโอซัลเฟตไว้ อย่างน้อยก็จับไฮโปคลอไรต์ไม่ให้ปลดปล่อยคลอรีนฟุ้งออกมามากมาย ตัวถังบรรจุสารเคมีต้องอยู่ในที่ที่สามารถกักบริเวณการรั่วไหลได้ การปฏิบัติต่ออุบัติเหตุจากสารเคมีไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปได้เสมอไป เพราะมีความเฉพาะตัวอยู่มาก น้ำบางกรณีอาจเพิ่มความรุนแรงของปัญหาได้ โรงงานต่างๆ ควรเตรียมการล่วงหน้าไว้ เพราะรู้ตัวเองว่าเสี่ยงต่ออะไรบ้าง

            กระทรวงอุตสาหกรรมได้มี “ประกาศการกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551” (http://www2.diw.go.th/haz/hazard/pdf/pagad-per-2551.pdf) ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 เมษายน 2554 เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการเก็บวัตถุอันตรายในสถานประกอบการให้ปลอดภัย ซึ่งบุคลากรเฉพาะ ต้องสอบผ่านการทดสอบวัดความรู้ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงน่าจะเป็นข้อดีในทางปฏิบัติที่จะบังคับใช้ได้ ดังนั้นเหตุการณ์ทำนองนี้น่าจะเกิดน้อยลงถ้ามีบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะรับผิดชอบดังกล่าว

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Chlorine
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ก๊าซคลอรีนในโรงงานรั่ว หามคนเจ็บส่งโรงพยาบาลนับ 100 ราย
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เห็นด้วยค่ะ ว่า..ตัวถังบรรจุสารเคมีต้องอยู่ในที่ที่ สามารถกักบริเวณการรั่วไหลได้..และพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนในโรงงาน โดยเฉพาะที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับตัวถังเก็บสารเคมี ทุกระดับ ตั้งแต่หัวหน้าถึงพนักงานทำความสะอาด ควรได้รับการอบรมเรื่องสารเคมี การป้องกันตนเอง และการจัดการกับสารเคมีดังกล่าวหากมีอุบัติเหตุหรือรั่วไหล อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ...กันไว้ดีกว่าแก้จริงๆ ค่ะ

โดย:  Jiraporn  [18 มิ.ย. 2553 11:41]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

Sodium  hypochlorite  solution  will  react  with  acids  to  yield  Hypochlorous  acid  and  ( finally )  Chlorine  Gas .  

2 NaOCl(aq)  +  2 H+(aq)    - - - >    2 HOCl(aq)  +  2 Na+(aq)  

2 HOCl(aq)  +  2 H+(aq)    - - - >    2 H2O  +  Cl2(g)  


When  leaked  and  exposed  to  ambient  air ,  Sodium  hypochlorite  solution  will  react  with  Carbon  dioxide  ( from  air )  to  yield  Hypochlorous  acid  and  Chlorine  Gas .  

2 NaOCl(aq)  +  2 CO2(g)  +  2 H2O    - - - >    2 HOCl(aq)  +  2 Na+(aq)  +  2 HCO3-(aq)

2 HOCl(aq)  +  2 CO2(g)  +  2 H2O    - - - >    H2O  +  2 HCO3-(aq)  +  Cl2(g)  



Emergency  Response  


Alternative  1        Reaction  of  Chlorine  Gas  with  Sodium  thiosulfate  Solution  

Cl2(g)  +  2 Na2S2O3(aq)    - - - >    Na2S4O6(aq)  +  2 NaCl(aq)    

In  case  of  small  to  medium  leakage  /  spillage  where  Chlorine  Gas  is  generated ,    Emergency  Response  by  Spraying  of  Sodium  thiosulfate  Solution  is  obviously  a  better  choice  than  Spraying  of  Water  Mist  ( which  can  not  practically  dissolve  Chlorine  Gas ) .  

Sodium  thiosulfate  Solution    can  be  prepared  within  a  few  minutes    by  Dissolving    1  Part  of  Na2S2O3.5H2O    in    4  -  10  Parts  of  Water    


Alternative  2        Secondary Containment  +  Covering of Solution 's Surface        

In  case  of  medium  to  large  leakage  /  spillage  where  Chlorine  Gas  will  be  generated  by  reaction  with  Carbon  dioxide ,    Emergency  Response  by  Keeping  the  Solution  in  a  Secondary  Containment  ( or  Emergency  Pond  /  Sump )    +   Covering  of  Solution 's  Surface  with  suitable  material  /  method  ( to  prevent  contact  with  Carbon  dioxide  )  is  also  an  acceptable  choice .  


Alternative  3        [ [  Not  Recommended ! ] ]        Addition of Sodium hydroxide Solution    ( To  minimize  generation  of  Chlorine Gas )  

In  case  of  medium  to  large  leakage  /  spillage  where  Chlorine  Gas  will  be  generated  by  reaction  with  Carbon  dioxide ,    Emergency  Response  by  Keeping  the  Solution  in  a  Secondary  Containment  ( or  Emergency  Pond  /  Sump )    +   Addition  of  Sodium  hydroxide  Solution  ( to  keep  the  hypochlorite  solution  at  pH  higher  than  11  -  where  generation  of  Chlorine  Gas  is  minimized ) .    
This  alternative  has  certain  disadvantages  [ e.g.    Sodium  hydroxide   Solution  is  a  hazardous  material    ;    Efficient  mixing  between  Sodium  hydroxide   and  Sodium  hypochlorite  may  not  be  practical ] .

โดย:  Stand - Alone  [24 มิ.ย. 2553 10:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

ถังเก็บโซเดียมไฮโปคลอไรต์  ที่เกิดการแตกและทรุดตัว เมื่อ 7 มิย. 53 ในพื้นที่ของโรงงาน บ.อดิตยาฯ   ขนาด 100 ลบ.ม. ครับ

โดย:  ieat  [2 ก.ค. 2553 09:40]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

ดูปฏิกิริยาเคมีการสลายตัวของ NaOCl เมื่อโดนกรดได้จาก
http://youtube.com/watch?v=yk0f1D7z9yg


โดย:  Dr.แหลม  [28 ก.ย. 2554 14:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:8

Oh yeah, fbualuos stuff there you!

โดย:  Zaheer  [28 ก.ย. 2555 07:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:13

เคยลองแล้วหรือยังสล็อตไม่ผ่านเอเย่นต์กับสล็อตออนไลน์แตกง่าย ต้องที่เว็บนี้ G2G1BET สล็อตเว็บตรงแตกง่ายไม่ผ่านเอเย่นต์ไม่มีขั้นต่ำ
เดิมพันสล็อตมากหมายหลากหลายเกมสล็อต
รวมสล็อตทุกค่าย สามารถฝากถอนโอนไวอย่าบอกใครที่เดียวพบได้ที่ สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์

โดย:  Erlinda  [13 เม.ย. 2565 10:24]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น