สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ก๊าซคลอรีนในโรงงานรั่ว หามคนเจ็บส่งโรงพยาบาลนับ 100 ราย

ผู้เขียน: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่: 7 มิ.ย. 2553

            วันนี้ (7 มิ.ย.53) พ.ต.ท.อาคม บุญแสง สารวัตรเวร สภ.ห้วยโป่ง อ.เมืองระยอง ได้รับแจ้งเกิดอุบัติเหตุสารคลอรีนรั่วในโรงงาน อดิตยา เบอล่า นิคมอุตสาหกรรมเหมราช เลขที่ 3 ซอยเจ 2 ถนนปกรณ์สงเคราะห์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บหามส่งโรงพยาบาลมาบตาพุดจำนวนมาก ในที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ได้ปิดกั้นเส้นทางห้ามเข้าใกล้โรงงานเกิดเหตุ เนื่องจากกลิ่นก๊าซคลอรีนรั่วไหลฟุ้งกระจายจำนวนมาก
       
            เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ได้นำกำลังจำนวนมากนำผู้ได้รับบาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลมาบตาพุดอย่างโกลาหล ชาวบ้านรวมทั้งแค้มป์คนงานที่อยู่ใต้ลมได้รับกลิ่นคลอรีนเป็นลมล้มพับถูกหามส่งรพ.มาบตาพุด จำนวนมากรวมทั้งมีเด็กนักเรียนชั้นประถมจากโรงเรียน วัดมาบชะลูดจำนวน 3 คนถูกหามส่งรพ.เช่นกัน เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลมาบตาพุด ต้องทำงานอย่างหนัก
       
            นพ.สุรทิน มาลีหวล ผอ.รพ.มาบตาพุด ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่อย่างเต็มความสามารถระดมให้น้ำเกลือ รายใดที่มีอาการหนักรีบนำส่งโรงพยาบาลต่างๆหลายแห่ง ในเบื้องต้นทราบว่ามีผู้ป่วยอาการหนักรวมทั้งสิ้น 18 ราย บาดเจ็บเล็กน้อยนับ 100 คน หลังตรวจอาการให้กลับบ้านได้ รายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บถูกส่งรพ.ต่างๆ ดังนี้ 1.นางวิภารัตน์ แก้วมีสา รพ.บ้านฉาง 2.นางขันทอง ซึ่งสะอาด รพ.บ้านฉาง 3.นางตุลา จักษุนิน รพ.บ้านฉาง 4.นายสมศักดิ์ สิงห์ทอง รพ.ระยอง 5.นายประวิทย์ หนาดเสน รพ.ระยอง 6.นางวรรณา อินเสียง รพ.บ้านฉาง 7.นางพรนิภา มูลดวง รพ.บ้านฉาง 8.นายบุนทัน สมบูรณ์ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 9.นางธัญรัตน์ เดชอรัญ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 10.นางโสภา วงศ์หนังสือ รพ.บ้านค่าย นางกาญจนา ประทานสวัสดิ์ รพ.ระยอง 11.นางจารุวรรณ แสนหาญ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 12.นางจิรภา หวายฤทธิ์ รพ.บ้านฉาง 13. นายประเสริฐ ขุนศรี รพ.ระยอง 14.นางบังอร พรมศึก รพ.กรุงเทพระยอง 15.นางสมพร ชูหา รพ.ระยอง 16.นายทวีศักดิ์ ศรีจันทร์ รพ.ระยอง
       
            ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังเกิดเหตุกลิ่นคลอรีนฟุ้งกระจายคนงานบริษัท เอสซีจี ที่อยู่ใต้ลมต้องอพยพคนงานกว่า 100 คนจำนวน 3 คันรถไปที่ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ขณะเดียวกันกลิ่นคลอรีน ที่ฟุ้งกระจายมาทางโรงพยาบาลมาบตาพุด คนเจ็บถูกนำส่ง รพ.มาบตาพุด ทำให้เกิดโกลาหลเนื่องจากคนไข้ได้รับกลิ่นคลอรีนเช่นกัน
       
            ขณะที่ ผอ.รพ.มาบตาพุด ได้เตรียมขนย้ายผู้ป่วย แต่เนื่องจากกลิ่นคลอรีนเบาบางลงจึงยุติการขนย้ายผู้ป่วย ในเบื้องต้นเมื่อเวลา 14.40 น.วันเดียวกัน จำนวนยอดผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 37 ราย หลังจากนั้นยังมีการนำผู้ป่วยส่งรพ.มาบตาพุดอีกจำนวนมาก ล่าสุดที่ได้รับรายงานมีผู้ป่วยหนักรวม 18 ราย
       
            สาเหตุของการเกิดก๊าซคลอรีนรั่ว มาจากได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อถังเก็บคลอรีนในโรงงานดังกล่าวมีความจุขนาด 5,000 ตัน  เกิดเอียง เนื่องจากฐานทรุดใต้ถังแตกโดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทำให้คลอรีนรั่วไหลกลิ่นฟุ้งกระจายอย่างรุนแรง คนงานในโรงงานรวมทั้งคนงานใกล้เคียงวิ่งหนีกันวุ่นวาย หลายคนที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเป็นลมล้มฟุบ
       
            นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้รับรายงานเบื้องต้นว่า มีคลอรีนรั่วไหลในโรงงานดังกล่าวจึงกำชับเจ้าหน้าที่ให้นำกำลังเข้าควบคุมโดยการฉีดสเปรย์น้ำคลุมบริเวณที่เกิดเหตุ ไม่ให้ฟุ้งกระจาย พร้องแจ้งให้ชุมชนรอบโรงงานที่อยู่ใต้ลม พร้อมส่งเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดคลอรีนที่ฟุ้งกระจายเข้าตรวจสอบใต้ทิศทางลม ระดมเจ้าหน้าที่ช่วยนำคนเจ็บส่ง รพ.มาบตาพุด ส่วนสาเหตุยังไม่ได้รับรายงานว่าถังเก็บคลอรีนดังกล่าวมีความจุขนาดไหน

ที่มาของข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2553

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Chlorine
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - สารเคมีรั่วที่ระยองครูและนักเรียนกว่า 500 ชีวิต ต้องอพยพหนี
บอกข่าวเล่าความ - โรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำก๊าซคลอรีนรั่ว
บอกข่าวเล่าความ - ก๊าซแอมโมเนียรั่ว!! พนักงานสาหัส 3 ราย
บอกข่าวเล่าความ - สารเคมีรั่วที่ท่าเรือแหลมฉบังควบคุมได้แล้ว
บอกข่าวเล่าความ - สารเคมีรั่ว!! ที่สุวรรณภูมิ
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ก๊าซรั่วไม่เท่าไหร่.....แต่การไม่มีระบบ "ประกาศเหตุฉุกเฉิน" ภายในเขตนิคมฯ นี่สิที่น่ากลัวมาก เราทำงานห่างจากอทิตยาแค่ 500 เมตร (ได้กลิ่นช่วงจังหวะที่ลมพัดมาประปรายเช่นกัน ถึงไม่ฉุนแรง แต่ก็ปวดหัวและขมในลำคอ) "การนิคมฯ โทรแจ้งมาแต่ก๊าซรั่ว แต่ไม่สั่งให้ออกนอกบริเวณ" มารู้อีกทีจากรถรับจ้างว่าเขาออกนอกพื้นที่กันแล้ว เลยโทรเข้าไปสอบถาม ได้รับคำตอบว่า "ให้นำคนงานทั้งหมดออกนอกพื้นที่เดี๋ยวนี้ครับ"  
ทำไมหนอจึงไม่มีระบบเตือนภัยฉุกเฉินหรือโทรแจ้งเมื่อต้องอพยพจริงๆ หรือรถกระจายเสียง...อะไรก็ได้....เวรกรรมคนทำงานในนิคมฯและอาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียง


โดย:  คนใกล้ไม่เคยรู้ข่าว  [9 มิ.ย. 2553 16:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

Sodium  hypochlorite  solution  will  react  with  acids  to  yield  Hypochlorous  acid  and  ( finally )  Chlorine  Gas .  

2 NaOCl(aq)  +  2 H+(aq)    - - - >    2 HOCl(aq)  +  2 Na+(aq)  

2 HOCl(aq)  +  2 H+(aq)    - - - >    2 H2O  +  Cl2(g)  


When  leaked  and  exposed  to  ambient  air ,  Sodium  hypochlorite  solution  will  react  with  Carbon  dioxide  ( from  air )  to  yield  Hypochlorous  acid  and  Chlorine  Gas .  

2 NaOCl(aq)  +  2 CO2(g)  +  2 H2O    - - - >    2 HOCl(aq)  +  2 Na+(aq)  +  2 HCO3-(aq)

2 HOCl(aq)  +  2 CO2(g)  +  2 H2O    - - - >    H2O  +  2 HCO3-(aq)  +  Cl2(g)  



Emergency  Response  


Alternative  1        Reaction  of  Chlorine  Gas  with  Sodium  thiosulfate  Solution  

Cl2(g)  +  2 Na2S2O3(aq)    - - - >    Na2S4O6(aq)  +  2 NaCl(aq)    

In  case  of  small  to  medium  leakage  /  spillage  where  Chlorine  Gas  is  generated ,    Emergency  Response  by  Spraying  of  Sodium  thiosulfate  Solution  is  obviously  a  better  choice  than  Spraying  of  Water  Mist  ( which  can  not  practically  dissolve  Chlorine  Gas ) .  

Sodium  thiosulfate  Solution    can  be  prepared  within  a  few  minutes    by  Dissolving    1  Part  of  Na2S2O3.5H2O    in    4  -  10  Parts  of  Water    


Alternative  2        Secondary Containment  +  Covering of Solution 's Surface        

In  case  of  medium  to  large  leakage  /  spillage  where  Chlorine  Gas  will  be  generated  by  reaction  with  Carbon  dioxide ,    Emergency  Response  by  Keeping  the  Solution  in  a  Secondary  Containment  ( or  Emergency  Pond  /  Sump )    +   Covering  of  Solution 's  Surface  with  suitable  material  /  method  ( to  prevent  contact  with  Carbon  dioxide  )  is  also  an  acceptable  choice .  


Alternative  3        [ [  Not  Recommended ! ] ]        Addition of Sodium hydroxide Solution    ( To  minimize  generation  of  Chlorine Gas )  

In  case  of  medium  to  large  leakage  /  spillage  where  Chlorine  Gas  will  be  generated  by  reaction  with  Carbon  dioxide ,    Emergency  Response  by  Keeping  the  Solution  in  a  Secondary  Containment  ( or  Emergency  Pond  /  Sump )    +   Addition  of  Sodium  hydroxide  Solution  ( to  keep  the  hypochlorite  solution  at  pH  higher  than  11  -  where  generation  of  Chlorine  Gas  is  minimized ) .    
This  alternative  has  certain  disadvantages  [ e.g.    Sodium  hydroxide   Solution  is  a  hazardous  material    ;    Efficient  mixing  between  Sodium  hydroxide   and  Sodium  hypochlorite  may  not  be  practical ] .

โดย:  Stand - Alone  [24 มิ.ย. 2553 11:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

You are so aeswome for helping me solve this mystery.

โดย:  Sewana  [12 ธ.ค. 2554 15:24]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น