สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย

ระบบข้อมูลสารเคมีเพื่อการเริ่มต้นแก้ไขปัญหามลพิษมาบตาพุด

ผู้เขียน: รศ.ดร. วราพรรณ ด่านอุตรา
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 19 เม.ย. 2553

            ปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดเป็นผลกระทบที่เกิดจากมลพิษรวม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม มลพิษนี้เกิดจากกระบวนการผลิตหรือใช้สารเคมี มิใช่เกิดจากโรงงานประเภทใดประเภทหนึ่งหรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ และมลพิษที่เกิดจากโรงงานขนาดใหญ่อาจน้อยกว่าโรงงานขนาดเล็ก เพราะโรงงานแต่ละโรงทำให้เกิดมลพิษได้มากน้อยและรุนแรงต่างกัน แม้ว่าสารเคมีที่ผลิตและนำเข้าหรือใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษ จะเหมือนกัน แต่กระบวนการผลิตมีลักษณะกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษได้แตกต่างกัน  นอกจากนี้ปัจจัยการผลิตอื่นๆที่แต่ละโรงงานใช้ก็อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน หรือมีความรุนแรงแตกต่างกัน   การแก้ปัญหาผลกระทบจึงต้องค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเชื่อถือได้ว่าผลรวมของมลพิษในมาบตาพุดนั้น เกิดจากกิจกรรมของอุตสาหกรรมใดมากน้อยเพียงใด เพื่อให้สามารถจัดการกับแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหลายได้อย่างเหมาะสม แต่ปัญหาคือจะหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากที่ใด และข้อมูลที่ได้มาเชื่อถือได้หรือไม่ การค้นหาข้อเท็จจริงต้องเริ่มจากการพิจารณาปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละโรง ตั้งแต่การออกแบบโรงงาน วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต การปล่อยและการทิ้งของเสีย การจัดการความปลอดภัย ระบบการป้องกันและติดตามตรวจสอบและประการสำคัญคือความทันสมัยของข้อมูล

ตัวอย่างระบบการควบคุมสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม

            ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อมกว่า 30 ฉบับ มีหน่วยงานทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย มากกว่า 10 กระทรวง หน่วยงานที่รับผิดชอบต่างๆ มีการออกกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดให้ผู้ประกอบการแสดงข้อมูลตลอดจนจัดส่งรายงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของตนหลายรูปแบบ ข้อกำหนดเหล่านี้มีหลายส่วนที่ซ้ำซ้อนกันแต่ขาดความเชื่อมโยงกัน จึงทำให้ขาดประสิทธิภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ดังนั้นการเริ่มต้นแก้ไขปัญหามลพิษมาบตาพุดจึงน่าจะนำรูปแบบและระบบการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่มาวิเคราะห์ว่ามีข้อมูลอยู่จริงมากน้อยเพียงใด มีความถูกต้องทันสมัยหรือไม่และหาความเป็นได้ในการประสานให้เกิดภาพรวม ที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ เพื่อลดและแก้ไขปัญหามลพิษในระยะยาวได้
      
            ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างของระบบการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสารเคมีในโรงงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการในการนำเข้าข้อมูลสารเคมีจากการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ตอนขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานและระหว่างประกอบกิจการ พร้อมระบบรายงานสำหรับผู้บริหารซึ่งสามารถนำมาประมวลใช้ประโยชน์ในการติดตามการควบคุมการเกิดมลพิษให้เกิดประสิทธิภาพได้ ตัวอย่างที่แสดงในตาราง กระทรวงอุตสาหกรรมอ้างอิงกฏหมายหลัก 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติโรงงาน และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม

กฎหมาย

วัตถุประสงค์ของข้อกำหนด

ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีที่ต้อง   นำเข้าระบบ

แบบฟอร์มที่ใช้

หมายเหตุ

พรบ. โรงงาน

พ.ศ. 2535

ขออนุญาตประกอบกิจการ

 

 

 

 

 

- ชื่อ ปริมาณการใช้และ  แหล่งที่มาของวัตถุดิบ

- ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณการผลิต และการจำหน่าย

- วัตถุพลอยได้ (ระบุชื่อและปริมาณวัตถุพลอยได้  ถ้ามี)

 

แบบ รง. 2

(โรงงานจำพวกที่ 2)

แบบ รง. 3

(โรงงานจำพวกที่ 3)

- เป็นข้อมูลที่เก็บครั้งเดียวตอนขออนุญาต

- กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.มีระบบสืบค้นและระบบรายงานสำหรับผู้บริหาร

พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

พ.ศ.

 

ขึ้นทะเบียน ขออนุญาต แจ้งดำเนินการเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง วัตถุอันตรายตามรายการที่กำหนด

( มีข้อปฏิบัติแตกต่างกันตามชนิดวัตถุอันตราย)

- ชนิดและปริมาณวัตถุอันตราย ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ในครอบครอง

 

(แบบ วอ/อก.1 ขอขี้นทะเบียน,วอ.1 ขอผลิต, วอ.3 ขอนำเข้า, วอ.5 ขอส่งออก, วอ.7 ขอครอบครอง, วอ/อก5 ขอแจ้งชนิดที่2)

- กรอ. มีการเก็บข้อมูลการอนุญาต แต่ไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ประกอบการรายงานการผลิตหรือครอบครองจริง

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม,

พรบ.วัตถุอันตราย (1)

 

-   แจ้งข้อเท็จจริงการ นำเข้า และ  ส่งออกวัตถุอันตราย

- ชนิดและปริมาณ วัตถุอันตราย ทุกครั้ง ที่มีการนำเข้าหรือส่งออกจริง (วัตถุอันตรายชนิดที่ 1, 2 และ 3)

 

(แบบ วอ/อก6)

 

 

- กรอ. มีระบบการกรอกข้อมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

-  มีระบบสอบทานระหว่างกรมศุลกากรและ กรอ.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ,

พรบ.วัตถุอันตราย (1)

 

-   แจ้งข้อเท็จจริงการผลิต นำเข้า   ส่งออก มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายตามรายการที่กำหนด ( 53 รายการ )

แจ้ง ชนิดและปริมาณ วัตถุอันตราย ที่ผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ในครอบครอง ทุก 6 เดือน

(แบบวอ /อก 7 )

กรอ. มีระบบการรายงานทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

กิจกรรมเฉพาะกิจอ้างอิง พรบ วัตถุอันตราย

 

จำนวนชนิดและปริมาณสารเคมี ที่ใช้และที่เก็บ สูงสุด

 

-  ชนิดและปริมาณที่ใช้และที่เก็บสูงสุดของโรงงาน

 -  แสดงแผนที่การกระจายสารเคมี

 

- วิศวกรสำรวจและกรอกข้อมูลทางเว็บไซด์ของ กรอ

-   ผู้ประกอบการอาจกรอกข้อมูลได้เอง

-รายงานผ่านเว็บไซด์-  เฉพาะอุตสาหกรรมบางประเภท

-  เป็นข้อมูลที่จัดทำเพียงครั้งเดียวในปีพ.ศ. 2545-2546

-สืบค้นได้ที่ www.chemtrack.org

กฎกระทรวงว่าด้วยการแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการโรงงาน พ.. 2544

-แจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการรายเดือน

( ประเภทหรือชนิดโรงงาน 90 ลำดับ)

ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์รายเดือน

แบบ รง 8

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้ผู้ประกอบการนำเข้าข้อมูลทางเว็บไซด์

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ,พรบ โรงงาน (2),(3)

จัดทำรายงานชนิดและปริมาณสาร   มลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน (17 ประเภทโรงงาน ตามประกาศ)  

รายงานรอบ 6 เดือน                     

- ปริมาณสารมลพิษในน้ำเสียที่ระบายออกนอกโรงงาน 22 รายการ

- ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน18 รายการ

แบบ รว.1(ข้อมูลทั่วไป), รว.2 (ระบบบำบัดน้ำทิ้ง) , รว.2/1( จุดระบายน้ำทิ้ง, รว.3 ( ปล่องระบายอากาศ )

- กรอ มีระบบการรายงานข้อมูลทาง

ระบบอิเล็กทรอนิกส์

 

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม, พรบ โรงงาน (4)

ขออนุญาตนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานไปบำบัด/กำจัด

ชนิดและปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ขออนุญาตนำไปบำบัด/กำจัด ในรอบ 1 ปี

แบบ สก.2

( คำขออนุญาตของผู้ประกอบกิจการ )

กรอ มีระบบการขออนุญาตทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม,  พรบ โรงงาน (4)

ขออนุญาตนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานไปบำบัด/กำจัด

ชนิดและปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ขออนุญาตนำไปบำบัด/กำจัด ในรอบ 1 ปี

แบบ สก.3

( ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียด ฯ )

กรอ มีระบบการขออนุญาตทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม, พรบ โรงงาน (5)

การแจ้งการขนส่งของเสียอันตรายจากโรงงานไปบำบัด/กำจัด

แจ้งการขนส่งของเสียอันตรายที่นำไปบำบัด/กำจัด จริง

แบบ Manifest

กรอ มีระบบการรับแจ้งทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

1) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2547 (ตามแบบ วอ./อก.6 และ วอ./อก.7 )
2) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2550
3) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดหรือประเภทโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงานพ.ศ.2551
4) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
5) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547

            สาระสังเขปที่แสดงในตารางที่ 1 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับข้อมูลวงจรสารเคมีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องให้กับหน่วยงานที่กำกับดูแล ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการแสดงข้อมูลปัจจัยต้นทางเช่น ชื่อ ปริมาณการใช้และ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ซึ่งอาจก่อมลพิษได้ทั้งภายในและภายนอกโรงงาน แต่มลพิษที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัยที่สำคัญคือกระบวนการผลิต ผู้ประกอบการเป็นผู้ที่ทราบดีว่าการประกอบกิจการของตนมีโอกาสก่อมลพิษหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ดังนั้นการลดและขจัดมลพิษที่มีประสิทธิภาพจึงต้องเริ่มจากการออกแบบโรงงาน กระบวนการผลิต ตลอดจนการเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเชิงเศรษฐกิจที่ผู้ประกอบการแต่ละรายถือว่าเป็นความลับทางการค้า แต่ข้อมูลนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ติดตามตรวจสอบสามารถประมวลข้อมูลรายโรงงานที่ถูกต้องเชื่อถือได้ก่อน การเชื่อมโยงให้เกิดข้อมูลผลกระทบเชิงพื้นที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียด ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์ของระบบควบคุมสารเคมีตามตารางที่ 1 เช่น ข้อมูลที่โรงงานแห่งหนึ่งระบุไว้ ตอนขออนุญาตประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม ต้องสอดคล้องกับรายงานระหว่างประกอบกิจการ คือ 

            ก. ชื่อ ปริมาณการใช้และ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ (ในแบบ รง 2/3) ต้องสอดคล้องกับข้อมูลระหว่างดำเนินการในการขอขึ้นทะเบียน การขออนุญาต การแจ้งดำเนินการ และการแจ้งข้อเท็จจริงที่ กำหนดในประกาศต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ตามแบบ วอ หรือ วอ/อก ต่างๆ ) นอกจากนี้ต้องสอดคล้องกับชนิดและปริมาณที่ใช้และที่เก็บสูงสุดของโรงงานที่มีการสำรวจตามกิจกรรมเฉพาะเมื่อปี พ.ศ. 2545 - 2546

            ข. ชื่อผลิตภัณฑ์ ปริมาณการผลิต และการจำหน่าย ต้องสอดคล้องกับข้อมูลในแบบ รง 8 (รายงานประจำเดือน) ที่ส่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

            ค. ปริมาณสารมลพิษในน้ำเสียที่ระบายออกนอกโรงงาน 22 รายการ  และค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ ระบายออกจากโรงงาน18 รายการ ตามแบบ รว ต่างๆ ต้องสอดคล้องกับสภาพจริงเมื่อมีการสำรวจโรงงาน

            ง. ชนิดและปริมาณวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ขออนุญาตนำไปบำบัด/กำจัด ในแบบ สก 2 และ สก 3 ต้องสอดคล้องกับข้อมูลการแจ้งการขนส่งของเสียอันตรายจากโรงงานไปบำบัด/กำจัด ในแบบ manifest

            การตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ออกแบบระบบสารสนเทศ เพื่อเอื้อให้เกิดความสะดวกให้กับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เจ้าหน้าที่สามารถติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ประกอบการ เพื่อยืนยันความสอดคล้องของข้อมูลการรายงานกับสภาพจริงที่พบเมื่อเข้าตรวจโรงงาน นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสรุปสำหรับให้ผู้บริหารติดตามการดำเนินงานได้ด้วย

ข้อสรุปและเสนอแนะ

            ตัวอย่างระบบข้อมูลสารเคมีที่นำมาเสนอข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบควบคุมสารเคมีที่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการอยู่ ยังมีข้อปฏิบัติในการติดตามข้อมูลการปล่อยมลพิษที่หน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินงานอยู่อีกซึ่งไม่ได้นำมาแสดง ณ ที่นี้ สำหรับตัวอย่างระบบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนที่อาจจะเป็นช่องว่างอยู่คือ ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงไม่สามารถติดตามได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสิทธิการเข้าถึงข้อมูล อีกส่วนหนึ่งคือผู้สนใจติดตามปัญหาผลกระทบของมลพิษต้องเข้าใจว่ามลพิษที่ทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ปลายทางมีปัจจัยซับซ้อนโดยธรรมชาติ ผู้ประกอบการที่ผลิตหรือใช้สารเคมีมากโดยมีระบบจัดการที่ดีจึงอาจไม่ใช่ผู้ที่ก่อมลพิษสูง เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการที่ใช้สารเคมีน้อยแต่ไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมมลพิษ การมีข้อมูลการดำเนินงานของผู้ประกอบการที่ถูกต้องทันสมัยเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สำคัญสำหรับการสรุปวิเคราะห์   ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันศึกษาทำความเข้าใจระบบที่แต่ละแห่งมีอยู่เดิม ลดความซ้ำซ้อนของภารกิจและหาทางเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบติดตามที่ใช้ร่วมกันได้ ขณะเดียวกันควรให้ภาคส่วนอื่นโดยเฉพาะภาคประชาชนได้รับทราบและเข้าใจถึงความพยายามดำเนินการ และผลงานของภาครัฐที่จะรวบรวมข้อมูลสารเคมีแบบครบวงจรจากผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถร่วมพัฒนาระบบเฝ้าระวัง การดำเนินการลักษณะดังกล่าวมิได้มีประโยชน์เฉพาะการกำกับดูแลการก่อมลพิษ การขจัดและลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด แต่ยังมีประโยชน์สำหรับการกำกับดูแลความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไปได้ด้วย

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย - การจัดการขั้นต้นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในมาบตาพุด
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น