สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

รู้จักของใช้อันตรายในบ้าน

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 29 ม.ค. 2552

            ที่บ้าน... เรามีของใช้มากมายหลากหลายชนิดเพื่อช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสะดวกสบาย ในของใช้เหล่านี้จะมีจำนวนมากที่มีสารเคมี การมีสารเคมีเจือปนอยู่ด้วยทำให้เราต้องระวัง เพราะจะเกี่ยวข้องกับความเป็นอันตรายที่สารเคมีนั้นพาติดตัวมาด้วย ความเป็นอันตรายที่มักพบได้แก่

            • เป็นพิษ ทั้งที่ปรากฎอาการทันทีและที่อาการปรากฎเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษได้แก่ ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ น้ำยาทำความสะอาดบางชนิด

            • ไวไฟ ลุกติดไฟได้ง่าย ตัวอย่างเช่น สี ทินเนอร์ หรือตัวละลายอื่น ๆ

            • กัดกร่อน สามารถกัดวัสดุต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ น้ำยาทำความสะอาดเตาอบ ผลิตภัณฑ์ขจัดสิ่งอุดตันในท่อ น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ แบบเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น

            • เกิดปฏิกริยาได้ง่าย เช่นสามารถลุกไหม้ได้เอง หรือเกิดไอหรือควันพิษได้เมื่อผสมกับผลิตภัณฑ์อื่น หรือระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนหรือถูกกระแทก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ พลุ ดอกไม้ไฟ

จะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์อันตรายหรือไม่

            • อ่านฉลากที่ติดกับภาชนะบรรจุ และมองหาคำว่า คำเตือน อันตราย เป็นพิษ ซึ่งมักจะข้อความระบุการปฏิบัติหรือวิธีการใช้ที่ถูกต้อง หรือข้อความเตือน นอกจากนี้ ยังสามารถมองหารูปสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นอันตราย ตัวอย่างข้อความและรูปที่แสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายมีดังนี้

 

ข้อความ / รูป

ความเป็นอันตราย

"Harmful or fatal if swallowed"   อันตรายถ้ากลืนกิน

เป็นพิษ

"Use only in a well-ventilated area"   ใช้ในที่อากาศถ่ายเทเพียงพอ

เป็นพิษ

"Do not use near heat or flame"   ห้ามใช้ใกล้แหล่งความร้อนหรือเปลวไฟ

ไวไฟ

"Combustible"   ลุกไหม้ได้

ไวไฟ

"Do not smoke while using this product"   ห้ามสูบบุหรี่ขณะใช้ผลิตภัณฑ์นี้

ไวไฟ

"Causes severe burns on contact"   เกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง

กัดกร่อน

"Can burn eyes, skin, throat"   สามารถไหม้ดวงตา ผิวหนัง คอ

กัดกร่อน

"Wear gloves"   ใส่ถุงมือ

กัดกร่อน

เป็นพิษ

ไวไฟ

กัดกร่อน

            • ดูชนิดผลิตภัณฑ์อันตรายที่ใช้ตามบ้านเรือนจากรายการข้างล่างนี้

ผลิตภัณฑ์

สารอันตรายที่อาจผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์

 อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

 เครื่องปรับอากาศ 

 สารซีเอฟซี (คลอโรฟลูออโรคาร์บอน)

 เตาอบไมโครเวฟ และอื่น ๆ

 

 ตู้เย็น ตู้แช่ 

 สารทำความเย็น

 หลอดฟลูออเรสเซนต์ 

 สารปรอท

 ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับรถยนต์  

 แบตเตอรี่รถยนต์    ตะกั่ว
 น้ำมันเบรค   ไกลคอล, ไกลคอลอีเทอร์
 น้ำยาทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์   ไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีน
 น้ำยากำจัดไขมัน   ไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีน
 เครื่องดับเพลิง   ชนิดผง – โซเดียมไบคาร์บอเนต, แอมโมเนียมฟอสเฟต และโปตัสเซียมไบคาร์บอเนต
 ชนิดฮาลอน - โบรโมไดฟลูออกโรมีเทน
 น้ำมันเชื้อเพลิง  ไฮโดรคาร์บอน
 น้ำมันเครื่อง   ปิโตรเลียม
 แบตเตอรี่ 
 ถ่านนาฬิกา กล้อง เครื่องคิดเลข (ก้อนเล็กแบน สีเงิน)   ลิเทียม
 ถ่านชนิดอัลคาไลน์   โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์, สังกะสี
 ถ่านชาร์จ เช่นชนิด นิกเกิล-แคดเมียม, นิกเกิล โลหะไฮไดรด์, ลิเทียมไอออน   นิกเกิล, แคดเมียม
 ชนิดตะกั่วขนาดเล็ก   ตะกั่ว
 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
 คอมพิวเตอร์  จอภาพ - ตะกั่ว
 โทรทัศน์   จอภาพ - ตะกั่ว, ปรอท 
 กาวและซีเมนต์ 
 ซีเมนต์ยึดเกาะ  คีโตน, แนฟทา
 อีพ๊อกซี  เรซินของอีพ๊อกซี่และเอมีน
 กาวเอนกประสงค์   โทลูอีน, สไตรีน, อะซีโตน
 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 
 น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์   คลอรีน, แอมโมเนีย, ตัวทำละลายอินทรีย์, สารแต่งกลิ่น
 แอมโมเนีย  แอมโมเนีย
 น้ำยาฆ่าเชื้อ  ไฮโปคลอไรต์, ฟีโนลิก, แอลกอฮอล์, ควอเทอร์นารี แอมโมเนียม คลอไรด์
 น้ำายาฟอกขาวที่มีคลอรีน    ไฮโปคลอไรต์
 ผลิตภัณฑ์ขจัดท่ออุดตัน   โซเดียมไฮดรอกไซด์
 น้ำยาทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์   ปิโตรเลียม
 น้ำยาทำความสะอาดโลหะ   ปิโตรเลียม, แอมโมเนีย
 น้ำยาทำความสะอาดเตาอบ   โซเดียมไฮดรอกไซด์
 น้ำยาขจัดสนิม   กรดแก่
 น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์   กรด, สารฆ่าเชื้อ, ไฮโปคลอไรต์
 ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงและสัตว์ 
 ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก / มด  ไดคลอวอส, คลอไพรีฟอส, โพรพ๊อกซัว, ไดอะซีนอน
 ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง   ไดคลอวอส, ไพรีทริน
 ผลิตภัณฑ์กำจัดเหา เห็บ หมัด   ลินเดน
 ลูกเหม็น   พารา-ไดคลอโรเบนซีน, แนฟทาลีน
 ยาเบื่อหนู   วาฟารีน, สตริกนิน
 ผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช 
 น้ำยาฆ่าเชื้อรา   แคปเทน, ไตรฟอรีน
 ผลิตภัณฑ์ฆ่าหญ้า/วัชพืช    2,4-ดี, อะทราซีน, ไดคลอบีนิล
 น้ำยาถนอมเนื้อไม้ 

 ไตรบิวทิลติน, เพนตาคลอโรฟีนอล, ทองแดง, สังกะสี

 สีและตัวทำละลาย 
 สีที่มีตะกั่ว  ตะกั่ว
 สีน้ำมัน   เรซิน, น้ำมันแร่
 สีสเปรย์  ตัวทำละลาย, โพรเพน, ซีเอฟซี
 น้ำยาลอกสี  เมทิลลีนคลอไรด์, โซเดียมไฮดรอกไซด์ ,โทลูอีน, อะซีโตน, เมทานอล
 ทินเนอร์   เทอร์เพนทีน, น้ำมันแร่
 แล็กเกอร์   เทอร์เพนทีน, แอลกอฮอล์
 ผลิตภัณฑ์ส่วนตัว
 สีย้อมผม   แคดเมียมคลอไรด์, โคบอล์ตคลอไรด์, คิวปิกคลอไรด์, เลดอะซีเตต, ซิลเวอร์ไนเตรท
 สเปรย์จัดแต่งทรงผม  อะซีโตน
 ยา 
 ยาทาเล็บ   อะซีโตน
 น้ำยาล้างเล็บ   อะซีโตน, เอทิลอะซีเตต
 อื่น ๆ 
 เทอร์โมมิเตอร์ชนิดใช้ปรอท   สารปรอท

            ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องมีฉลากที่ประกอบด้วยคำแนะนำวิธีการใช้ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการเก็บรักษาที่ถูกต้อง และการกำจัดที่เหมาะสมปลอดภัย หากผู้ใช้ไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าวก็อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ทั้งต่อสุขภาพอนามัยคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากให้เข้าก่อนและปฏิบัติตามคำแนะนำที่กำหนดไว้

เอกสารอ้างอิง : 

Local Hazardous Waste Management Program in King County (http://www.govlink.org/hazwaste/house/index.cfm)

Ohio State University Fact Sheet, Disposal of Household Hazardous Materials (http://ohioonline.osu.edu/cd-fact/0102.html)


รูปประกอบแสดงสัญลักษณ์ ความเป็นพิษ และอันตรายจากการกัดกร่อน

ข้อความแสดงวิธีใช้ ส่วนประกอบที่สำคัญ และคำเตือน
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Acetone
Ammonia
Ammonium chloride
Ammonium dihydrogen phosphate
Chlorine
Dichlorvos
Lead
Lithium
Mercury
Nickel
Sodium hydrogen carbonate
Sodium hydroxide
Toluene
Zinc
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย - ของเสียอันตรายจากบ้านเรือน อันตรายถ้าจัดการไม่ถูกวิธี
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

น่าจะมีการ์ตูนเกี่ยวกับอันตรายกับสารเคมีพวกนี้ด้วยนะค้า



โดย:  brain  [10 มี.ค. 2552 17:56]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอชมเชยว่ารวบรวมได้ดี ครับแต่น่าจะมีคำแนะนำว่าควรใช้อไรทนได้บ้างถ้ามีนะครับจะดีมาก

โดย:  มานพ  [12 มี.ค. 2552 11:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

มีการ์ตูนให้ดูอยู่บ้างนะค่ะ ลองคลิกเข้าไปดูค่ะhttp://www.chemtrack.org/EnvForKids/chemicals.htm

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [13 มี.ค. 2552 11:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:4

คำตอบที่ 136:

( สำหรับ ผู้ที่ไม่เคย เข้าชม เว็บไซต์นี้ )        

ขอแนะนำ    " ขบวนการโลกแสนสวย "    ( จัดทำ ตาม โครงการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน )        

http://www.chemtrack.org/EnvForKids/        หน้าแรก    Home Page        
http://www.chemtrack.org/EnvForKids/menu.htm        หน้า เมนู    Menu Page      
http://www.chemtrack.org/EnvForKids/chemicals.htm        Chemicals Pages        ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี    ( มี ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ - สารเคมี ที่ พบ ใน ชีวิตประจำวัน  27 ชนิด )        

http://www.chemtrack.org/EnvForKids/MainMenu.htm        หน้า เมนูหลัก ของ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

โดย:  นักเคมี  [17 มี.ค. 2552 16:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:5

อยากทราบว่าสารทำความเย็นในตู้เย็นถ้าเกิดรั่วแล้วจะเป็นอันตรายหรือไม่ค่ะ

โดย:  nittiya  [13 พ.ค. 2552 10:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:6

มีเนื้อหาสาระดี

โดย:  คนสวย  [13 พ.ย. 2552 19:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:9

ดีเด็กจะศึกษา

โดย:  นางฟ้า  [7 ก.พ. 2553 11:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:17

ชอบมาก

โดย:  ่ ชอบมากฯค่ะ  [23 พ.ย. 2554 14:07]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:18

อยากทราบว่าในกรณีที่ใช้สารเคมีที่เป็นสารผสม  และเป็นกลุมเวชภัฑ์ในสถานพยาบาล บริษัทไม่มี MSDS ให้จะใช้MSDS สารตั้งต้นตัวไหนดีค่ะพิจารณาจากอะไร  ขอบคุณค่ะ

โดย:  kocci  [24 พ.ค. 2555 08:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:19

You're on top of the game. Thanks for sahring.

โดย:  Maria  [24 ส.ค. 2555 14:46]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น