สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

การปรับแก้ข้อบังคับอียู เรื่องสารทำลายชั้นโอโซน

ผู้เขียน: คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป
วันที่: 3 เม.ย. 2552

            ที่ประชุมสภายุโรปเต็มคณะได้ลงมติรับรองร่างข้อเสนอปรับแก้ข้อบังคับเรื่อง Substances that deplete the ozone layer โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า การส่งออก การวางจำหน่าย การใช้ รวมทั้งกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการ recovery, recycle, reclamation และการทำลายสาร ODS รวมทั้งอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่มีสาร ODS เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการลด / ขจัดการผลิตและการใช้สาร ODS เมื่อมีเทคโนโลยีอื่นที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการลดภาวะโลกร้อนมาทดแทน

สรุปสาระสำคัญของการปรับแก้ข้อบังคับ ดังนี้ :

            1. สารเคมีที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับนี้แบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่ คือ Controlled substances และ New substances

            2. การวางจำหน่ายและการใช้สาร reclaimed HCFCs สำหรับการบำรุงรักษาตู้เย็นเครื่องปรับอากาศและ heat pump equipment สามารถทำได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2014 เมื่อมีการติดฉลากว่าสารนั้นได้ผ่านกระบวนการ reclaimed และระบุสถานที่ที่ดำเนินกระบวนการ (Article 11)

            3. สาร HCFCs ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมา re-packaging เพื่อส่งออกจากประชาคมยุโรปจะได้รับอนุญาตจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2019 โดยผู้ประกอบการที่ดำเนินการในอียูต้องแจ้งรายละเอียดแก่ คกธ.ยุโรป (Article 11)

            4. สาร Methyl bromide (ใช้เพื่อฆ่าแมลง) ในกระบวนการกักกันพืชและสินค้าก่อนส่งออกจะได้รับอนุญาตให้ใช้ต่อไปได้จนถึงวันที่ 18 มี.ค. 2010 โดยการใช้แต่ละรายในช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 18 มี.ค. 2010 ต้องไม่เกิน 45 ODP Tonnes (Article 12)

            5. ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเข้า ห้ามนำเข้าสารที่เป็น Controlled substances อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ (ที่ไม่ใช่ของส่วนตัว) ซึ่งมีสาร Controlled substances เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเกี่ยวข้อง (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2010) โดยมีข้อยกเว้นสำหรับสารที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์บางประการซึ่งจะต้องได้รับ import licence (Article 15)

            ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะจัดทำรายชื่ออุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่มี Controlled substances เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้ง CN Code ของอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้หน่วยงานศุลกากรของประเทศสมาชิกอียูใช้ประโยชน์อย่างช้าภายในวันที่ 1 ม.ค. 2010 (Article 21)

            6. Controlled substances ที่อยู่ในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และ heat pump equipment, ระบบป้องกันไฟ และอุปกรณ์ดับไฟ ที่อยู่ในระหว่างการใช้งานและบำรุงรักษา หรือก่อนการทำลาย จะต้องผ่านกระบวนการ recovered ก่อนทำลาย หรือก่อนที่จะนำกลับไปใช้ใหม่ หรือก่อนที่จะนำกลับเข้าสู่กระบวนการ reclamation เพื่อเป็นการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Article 22)

            การทำลาย Controlled substances จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ผ่านการรับรองตามที่ปรากฏใน Annex VII ทั้งนี้ ข้อบังคับดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการเพื่อตีพิมพ์ลงใน Official Journal ก่อนประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป โดยมีจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2010

ข้อสังเกต :

ผู้ผลิตตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ของไทยควรพิจารณาศึกษาข้อบังคับนี้ที่มีข้อกำหนดห้ามการใช้สาร

ODS (ในหมวด controlled substances) เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดให้ใช้ทางเลือกอื่นที่มีผลกระทบต่อชั้นโอโซนน้อยกว่า

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับแก้ข้อบังคับ และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาร ODS ได้ที่

http://www.europarl.europa.eu/sides/getDoc.do?pubRef=-//EP//NONSGML+TA+20090325+SIT+DOC+WORD+V0//EN&language=EN

http://ec.europa.eu/environment/ozone/review.htm

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ไทยยุโรปดอตเน็ต www.thaieurope.net

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Ozone
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - EU บีบสายการบินต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บอกข่าวเล่าความ - อียูเตรียมคุมเข้มเรื่องการจำกัดสารฆ่าแมลงอย่างยั่งยืน
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

เนื่อหาน้อยจังเลย

โดย:  น้องอีฟ  [23 ม.ค. 2553 13:39]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น