สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

เดินทางไกลไปปลูกป่า ปล่อยคาร์บอนมากกว่าต้นไม้สามารถดูดคืน

ผู้เขียน: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่: 5 ส.ค. 2551

            เลขาธิการสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแจง ตลอดชีวิตต้นไม้ 1 ต้นดูดคาร์บอนแค่ 1 ตัน ถ้าเดินทางไปปลูกป่าที่ไกลๆ จะได้ชื่อว่าแค่สร้างภาพ เพราะการเดินทางไปปลูกป่า ปล่อยคาร์บอนมากกว่าปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้จะดูดกลับคืน แนะปลูกใกล้ๆ และที่ที่มีคนดูแล อย่างโรงเรียนหรือวัดเพื่อจะได้มีคนดูแล
       
            สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยได้จัดกิจกรรม Save our earth... Love our life ระหว่างวันที่ 1 - 3 สิงหาคม 2551 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตรการประชาสัมพันธ์ธุรกิจแผนใหม่ โดยมีนักประชาสัมพันธ์จากกว่า 50 องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงได้ร่วมติดตามการทำกิจกรรมที่ศูนย์รวมตะวัน ของสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ตรงข้ามกับหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยสะด่อง เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
       
            โอกาสนี้ ดร. ศันสนีย์ กีรติวิริยาภรณ์ เลขาธิการสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความรู้แก่ผู้สื่อข่าวภายหลังทำกิจกรรมจัดลำดับพืชที่มีดูดซับคาร์บอนมากที่สุด โดยส่วนใหญ่เป็นไม้ใหญ่ที่อยู่ในป่าเบญจพรรณ อาทิ สัก มะค่าแต้ แดง ตะแบก และประดู่ป่า เป็นต้น และตลอดอายุของต้นไม้เหล่านี้จะดูดซับคาร์บอนได้เพียงเฉลี่ยต้นละ 1 ตันเท่านั้น
       
            ดังนั้นโครงการปลูกป่าที่เลือกสถานที่ไกลๆ จึงไม่ได้ช่วย ที่จะลดปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ เพราะการเดินทางไปปลูกป่า อย่างการโดยสารรถยนต์หรือเครื่องบินนั้นปลดปล่อยคาร์บอนมากกว่าปริมาณที่ไม้ 1 ต้นดูดซับไว้เสียอีก
       
            ปลูกต้นไม้ไกลๆ จะได้ชื่อแค่ว่าสร้างภาพเท่านั้น ถ้าเราอยู่กรุงเทพฯ แต่ต้องบินไปปลูกป่าที่เชียงใหม่ ปล่อยคาร์บอนที 800 กิโลกรัม แต่ทั้งปีต้นไม้ดูดกลับคืนได้แค่ 10 กิโลกรัม ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากการเดินทางนั้นมากกว่าที่ต้นไม้ดูดคาร์บอนเสียอีก ดร. ศันสนีย์กล่าว
       
            พร้อมชี้ข้อสังเกตว่า หลังเอาต้นไม้ลงดินแล้ว มีต้นไม้ไม่กี่ต้นที่รอด ดังนั้นจึงแนะแนวทางการปลูกป่าที่ยั่งยืนว่า ควรปลูกในบริเวณใกล้ๆ กับองค์กร และควรปลูกแบบมีเจ้าภาพ คือปลูกในสถานที่มีคนดูแลได้ เช่น โรงเรียนหรือวัด เป็นต้น พร้อมยกตัวอย่างว่า หากโรงเรียนมีโครงการปลูกต้นไม้ประจำตัวสำหรับนักเรียน ก็จะช่วยปลูกจิตสำนึกให้เขาผูกพันกับต้นไม้ได้

ที่มาของข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2551

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon dioxide
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - ปลูกพืชเชื้อเพลิงชีวภาพ กลับทำให้โลกร้อนขึ้น
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น