สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อโรค: ตะกั่ว, พิษเรื้อรัง (Lead, subacute toxic effect)
กลุ่มโรค: อาการพิษ, โลหะหนัก (Poisoning, Heavy Metal)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง: กึ่งเฉียบพลัน (Subacute)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. มีรายงานว่าพนักงานองค์การแบตเตอรี่ 4 ราย ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2541 มีระดับตะกั่วในเลือด 67.0 - 79.8 ?g/dl ผู้ป่วยทั้ง 4 ราย ทำงานสัมผัสกับไอและฝุ่น ตะกั่วมาตลอดเวลาทำงานวันละ 6-7 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 วัน
    แหล่งอ้างอิง:หนังสือการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  2. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาชาวบ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์  จ.กาญจนบุรี  ได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียที่มีตะกั่วของโรงแต่งแร่คลิตี้  ทำให้มีตะกั่วสะสมในลำห้วยคลิตี้ การตรวจสุขภาพประชาชนเมื่อวันที่ 8-9 ก.พ. 2542 ซึ่งได้เจาะเลือดตรวจ 119 คน พบว่า เป็นโรคโลหิตจาง 6 คน เด็ก 0-6 ปีมีพัฒนาการการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ 9 คน และมีแนวโน้มพบสารตะกั่วในเลือดสูงจำนวน 43 คน เป็นเด็กอายุ 0-6 ปี 32 คน เด็กอายุ 7-15 ปี 8 คน และผู้ที่อายุเกิน 16 ปี 3 คน เดือน มี.ค. 2543 มีการตรวจอีกครั้ง พบว่าผลการตรวจใกล้เคียงกับครั้งแรก ที่สำคัญคือมีเด็ก 48 คน มีภาวะตะกั่วในเลือดสูงจำเป็นต้องรีบแก้ไข
    แหล่งอ้างอิง:สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ http://www.hiso.or.th
  3. ปี 2536-2537 เกิดเหตุการณ์คนงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน ทยอยเสียชีวิตเป็นจำนวน 12 ราย โดยมีอาการเริ่มต้นคือ หายใจไม่ออก และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยยืนยันว่าเป็นโรคจากสารโลหะหนัก เนื่องจากผลการตรวจเลือดคนงานพบว่า มีสารตะกั่วในเลือดสูงมาก
    แหล่งอ้างอิง:รณรงค์เพื่อแรงงาน (Thai Labour Campaign) http://www.thailabour.org ข่าวเด่นประเด็นร้อน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551

สารเคมี/สิ่งที่สัมผัสที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].